MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แผนปฏิบัติการ (Action Programs)

แผนปฏิบัติการ (Action Programs) หรือ โปรแกรมทางการตลาด (Marketing Program) เป็นแผนที่รวบรวมนโยบายกลยุทธ์ วิธีการปฏิบัติมาตรฐาน งบประมาณ และส่วนประกอบอื่นๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดขององค์การ à จะทำอะไร เมื่อใด ใครรับผิดชอบ และเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ (What-Who-When-How much) =(ให้นึกถึงตอนทำ BP ค่ะเป็น Implementation Plan)

7.ประมาณการงบกำไรขาดทุน (Projected Profit and Loss Statement) ประมาณการผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนการตลาด

8.การควบคุม (Controls) เป็นการระบุถึงวิธีการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการตลาด เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงกลยุทธ์และยุทธวิธีทั้งหมดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9.แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) เป็นการเตรียมการเพื่อรองรับ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
อาจารย์สุมนรัตน์เน้นว่าทุกครั้งที่ทำแผนการตลาด...อย่าลืมเขียนฉุกเฉินจากเหตุการณ์ เช่น กำหนดกลุ่มเป้าหมายผิด แก้ไขโดย Repositioning เพื่อวางตำแหน่งสินค้าใหม่ เป็นต้น






ตัวอย่างแผนการตลาด
ผลิตภัณฑ์ : ขนมไหว้พระจันทร์
บริษัท : เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
ความเป็นมา
เอส แอนด์ พี ได้ถือกำเนิดจากร้านไอศครีมและเบเกอรี่เล็ก ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2516และได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในนามบริษัทเอส แอนด์พี ซินดิเคท จำกัด(มหาชน)ในปัจจุบัน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท
เอส แอนด์ พี ได้เริ่มผลิตและวางตลาดขนมไหว้พระจันทร์เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2529 มียอดขายในปีแรก 30,000 ชิ้น มูลค่า 1 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 10% Market Share แต่ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และดำเนินกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมและต่อเนื่องทำให้เอส แอนด์ พี เป็นผู้นำในตลาดขนมไว้พระจันทร์มาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน
การวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขัน
ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมไหว้พระจันทร์ทุกตรายี่ห้อในตลาด มักเป็นภัตตาคารจีนเก่าแก่และจะใช้ชื่อร้านเป็นตรายี่ห้อ โดยแต่ละยี่ห้อมีจุดเด่นคล้ายกันคือ ความเป็นร้านอาหารจีนที่มีชื่อเสียงมาเป็นเวลานาน แต่ละตรายี่ห้อจะมีไส้มาตรฐานเหมือนกันคือ ทุเรียน โหงวยิ้ง และเม็ดบัว รวมทั้งมีบรรจุภัณฑ์คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ทุกตรายี่ห้อต่างก็มุ่งเจาะตลาดลูกค้าจีนซึ่งซื้อขนมไปเพื่อไหว้ตามประเพณี
การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคทางการตลาด
โอกาส
1. ขนมไว้พระจันทร์ เป็นสินค้าที่ได้มีการผลิตในรูปแบบเดิมมาเป็นเวลานานจึงยังมีโอกาสในการพัฒนาอีกมาก ทั้งทางด้านตัวผลิตภัณฑ์เอง และบรรจุภัณฑ์
2. คู่แข่งในตลาดไม่มีกิจกรรมทางการตลาดอย่างจริงจังละต่อเนื่อง
3. ยังไม่มีผู้นำในตลาดที่เด่นชัด
4. ผู้บริโภคยังมีอัตราการบริโภคต่ำมาก
5. ยังมีช่องว่างในตลาด คือ ลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่
สามารถสร้างให้เป็น “ตลาดขนมระหว่างปี” ซึ่งเป็นตลาดที่ยังว่างอยู่
อุปสรรค
1. เป็นขมมที่มีอายุสั้นประมาณ 3 วันเท่านั้น หากไม่สารดูดซับออกซิเจน
2. ช่วงระยะเวลาการขายสั้น ประมาณ 2 เดือน ในช่วงเทศกาล
3. ตลาดแคบ เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง
จุดแข็ง
1. ความแข็งแกร่งของตรายี่ห้อ “เอส แอนด์ พี” สำหรับร้านอาหารและเบเกอรี
2. มีโรงงาน และเทคนิคการผลิตที่ทันสมัย
3. มีจุดขายจำนวนมากครอบคลุมตลาดตามร้านอาหารและเบเกอรี่
4. มีกลุ่มลูกค้าประจำของร้านอาหารที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
จุดอ่อน
ขนมไหว้พระจันทร์ เอส แอนด์ พี ยังไม่เป็นที่รู้จัก
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายหลัก : ผู้บริโภคระดับ B ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 26 - 45 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าของร้านอาหาร เอส แอนด์ พี รวมทั้งตลาดต่าง ประเทศ
กลยุทธ์การตลาด
Product
ตัวขนมไหว้พระจันทร์
1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายโดยมีถึง 7 ไส้ ในขณะที่คู่แข่งมีเพียง 3 ไส้
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แปลกใหม่โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ทุก ๆ ปี จากการพัฒนาไส้ใหม่ ๆ ซึ่งจะมาจากการคัดเลือกผลไม้ระดับสูง รสอร่อย เหมาะแก่การใช้ไหว้พระจันทร์ และการให้เป็นของขวัญผู้ใหญ่ เช่น ไส้เกาลัด
3. การพัฒนาลวดลายบนตัวขนม โดยใช้ลายของจีน และญี่ปุ่น ซึ่งต่างจากคู่แข่งที่ใช้ตัวหนังสือจีน แต่ยังคงอิงความโบราณที่สวยงามเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
บรรจุภัณฑ์
เอส แอนด์ พี เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ขึ้นเป็นรายแรก เพื่อให้มีความเหมาะสมที่จะเป็นของกำนัล (Gift Giving) และดึงดูดใจลูกค้าดังนี้
1. ใช้บรรจุภัณฑ์แยกชิ้น (Individual Pack)
2. ใช้สารดูดออกซิเจน (Oxygen Absorber) ใส่ในบรรจุภัณฑ์แยกชิ้น ซึ่งช่วยให้ขนมมีอายุนานถึง 3 เดือน
3. พัฒนากล่องบรรจุ (Secondary Pack) โดยออกแบบลวดลายสวยงาม
4. ระบุวันหมดอายุที่ขนมทุกชิ้น
Price
ในระยะแรก เอส แอนด์ พี ได้ตั้งราคาเฉลี่ยในระดับเดียวกับคู่แข่ง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ต่อมามีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ด้วยการใช้สารดูดซับออกซิเจน และการใช้บรรจุภัณฑ์แยกชิ้น จึงตั้งราคาให้สูงกว่าคู่แข่งเล็กน้อย และเป็นผู้นำด้านราคาในตลาดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
Place
เอส แอนด์ พี มีความได้เปรียบในช่องทางของการกระจายสินค้าเดิมที่มีอยู่ แต่ก็ยังได้พยายามขยายช่องทางการจัดจำหน่ายออกไปอีกหลายช่องทาง ได้แก่
1. ร้านอาหาร และเบเกอรี่ ของเอส แอนด์ พี จำนวน 91 แห่ง
2. ซุปเปอร์มาเก็ตตามห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ 129 แห่ง
3. ร้านค้าย่อยในกรุงเทพฯ (ยกเว้นย่านเยาวราช) จำนวน 100 แห่ง
4. ร้านค้าย่านเยาวราช 20 แห่ง
5. ซุปเปอร์มาเก็ตและร้านค้าในต่างจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 110
6. ตลาดสถาบัน (Office Channel ) จำนวน 60 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัท ห้าง ร้านที่ต้องการขนมไหว้พระจันทร์
รวมทั้งขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศโดยผ่านผู้ส่งออก 4 ราย
Promotion
การโฆษณา
เน้นการโฆษณา ที่ตัวขนม โดยเน้นความร่อย ไส้แปลกใหม่พิเศษ บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และการโฆษณาให้ผู้บริโภคทราบถึงรายการส่งเสริมการขายในปีนั้น ๆ โดยใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ แบนเนอร์ ป้ายผ้า แผ่นกระดาษรองจาน และโปสเตอร์


การส่งเสริมการขาย
1. การส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย (Point of Sales)
1.1 PC ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นห้างสรรพสินค้า
1.2 เพิ่มกิจกรรมในร้านอาหาร โดยเชื่อมโยงขนมไหว้พระจันทร์ กับการรับประทานอาหาร เพื่อเพิ่มยอดขายสำหรับลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหาร
2. การแถมของ โดยของแถมจะสอดคล้องกับตัวขนมเอง เช่น ชาซอง เป็นต้น
3. การชิงโชค เอส แอนด์ พี ได้จัดรายการชิงโชคเป็นประจำทุกปี
4. การแลกซื้อ โดยเลือกสินค้าทาเหมาะสมกับเทศกาล จากการสะสมคูปอง เช่น กระเป๋าผ้าสีแดง
ความสำเร็จของขนมไหว้พระจันทร์ เอส แอนด์ พี
นับตั้งแต่ เอส แอนด์ พี ได้มองเห็นโอกาสทางการตลาดของขนมไหว้พระจันทร์ในปี พ.ศ. 2528 และได้ใช้ความแข็งแกร่งของตนเองในด้านความเชี่ยวชาญทั้งการผลิตและการตลาดเมื่อเริ่มพัฒนาขนมไหว้พระจันทร์ ทั้งในด้านคุณภาพที่เด่นเหนือคู่แข่ง การสร้างความแปลกแปลกใหม่ในวงการขนมไหว้พระจันทร์ ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ประกอบกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะ มีความสวยงามแปลกตา ซึ่งบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนอกจากจะช่วยยืดอายุของสินค้าแล้วยังช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้สินค่าด้วย และด้วยความได้เปรียบในการมีจุดขายจำนวนมากอยู่แล้ว ผสมผสานกับกลยุทธ์การกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางต่าง ๆ ทั้งตลาดดังเดิมและตลาดใหม่ทั่วประเทศ ตลอดจนการผลักดันยอดขายด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมการขายอันสอดคล้องกับตัวสินค้าและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสื่อสารกระตุ้นเตือนผู้บริโภคด้วยโฆษณาที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ได้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทำให้ขนมไหว้พระจันทร์ของเอส แอนด์ พี ประสบความสำเร็จทั้งในด้านยอดขายที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากยอดขายเพียง 1 ล้านบาท หรือ 10% Market Share ในปีแรกที่วางตลาด เป็น 94 ล้านบาท หรือ 60% Market Share ใน 11 ปีต่อมา และทำให้เกิดตลาด Gift Giving สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ ส่งผลให้ตลาดขนมไหว้พระจันทร์โดยรวมขยายตัวกว่า 150% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ที่สำคัญการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างครบรูปแบบของ เอส แอนด์ พี ได้ส่งผลให้คู่แข่งขันทุกรายต่างหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้มาตรฐานและจัดกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ เช่นเดียวกับ เอส แอนด์ พี เป็นการยกระดับมาตรฐานการตลาดของขนมไหว้พระจันทร์ขึ้น
จากความสำคัญดังกล่าว ยังได้ส่งผลต่อเนื่องถึงศักยภาพทางการตลาดของขนมไหว้พระจันทร์ เอส แอนด์ พี โดยในปี 2539 นี้ ขนใไว้พระจันทร์ของเอส แอนดื พี จะเป็นตรายี่ห้อเดียวที่จะได้วางตลาดในร้าน Seven-Eleven กว่า 500 สาขา ทั่วประเทศ




ผลิตภัณฑ์ :“พีทีที ซูเปอร์ 97” (PTT SUPER 97)
บริษัท : การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย
องค์กรและความเป็นมา (Company and Background)
การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2521 นับเป็นเวลาร่วม 18 ปีแล้วที่ ปตท. ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกสนองนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานแก่ประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นด้วยวิถีการดำเนินธุรกิจปิโตเลียมครบวงจร อย่างมีจิตสำนึกที่ดีมาตลอด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย
ปตท. มีบทบาทในการพัฒนาผลิภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นนำมันเบนซินที่มีสารตะกั่วต่ำ ( ปี 2531) น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่นำมาจำหน่ายเป็นบริษัทแรก ( ปี 2534 ) และการสนับสนุนรัฐบาลในการรณรงค์การใช้น้ำมันไร้สารฯ (2534-2538)
ความเป็นมา
สารตะกั่วถูนำมาผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มค่าออกเทนมาเป็นเวลากว่า 70 ปี แล้ว แต่ต่อมาพบว่าสารตะกั่วมีโทษมหันต์ต่อมนุษย์ โดยเฉพาะต่อระบบเลือดและระบบประสานสมอง จนมีการค้นคิดนำมันเบนซินที่ไม่มีสารตะกั่ว หรือที่เรียกว่า “น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว”
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้สนับสนุนกสนจำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สายตะกั่วมาตั้งแต่พฤษภาคม 2534 แต่ทว่า รถยนต์บางรุ่นที่มีอายุกว่า 10 ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้นำมันเบนซินไร้สารตะกั่วได้ เนื่องจากไม่มีสารตะกั่วเคลือบบ่าวาล์ว ซึ่งทำจากโลหะอ่อนเพื่อป้องกันการสึกหรอ
เมื่อต้นปี 2538 จากการสำรวจของกรมการขนส่งทางบกพบว่า จำนวนรถยนต์ที่มีบ่าวาล์วทำจากโลหะอ่อนมีเพียง 20% จากจำนวนรถยนต์ทั้งหมด ในขณะที่อัตราส่วนการใช้น้ำมันเบนซินพิเศษที่มีสารตะกั่วมีถึง 50% ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติจึงมีเป้าหมายในการยกเลิกการจำหน่ายเฉพาะน้ำมันเบนซินไร้สารฯ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2539 โดยขอความร่วมมือจากบริษัทน้ำมันทุกบริษัท
การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)
สถานการณ์ตลาดโดยทั่วไป(Market Analysis)
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วมีจำหน่ายในประเทศไทยมาตั้งแต่พฤษภาคม 2534 โดยมีราคาจำหน่ายถูกกว่าเบนซินพิเศษที่มีสารตะกั่วเป็นการจูงใจให้ผู้ใช้หันมาใช้มากขึ้น ในตลาดจึงมีน้ำ มันเบนซินพิเศษจำหน่ายสำหรับรถยนต์ 2 ประเภท ได้แก่
1. เบนซินพิเศษที่มีสารตะกั่ว หรือ “เบนซินซูเปอร์” -ใช้กับรถยนต์ทั่วไป หรือรถเก่าที่มีบ่าวาล์วทำจากโลหะอ่อน
2. เบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว หรือ “เบนซินไร้สารฯ” –ใช้กับรถยนต์ที่มีบ่าวาล์วทำจากโลหะแข็ง และรถยนต์ใหม่ที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน 2536 เป็นต้นมา ซึ่งมีการติดตั้งเครื่องกรองไอเสีย (Catalytic Converter)
สัดส่วนในการจำหน่ายเป็น 50 : 50 โดยนำมันเบนซินซูเปอร์ มีขนาดของตลาด(Market Size) ในปี 2537 เฉลี่ยเดือนละ ประมาณ 163.4 ล้านลิตร ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 2.9 %
แนวโน้มตลาด (Market Trend)
แนวโน้มในอนาคตของตลาดน้ำมันเบนซินซูเปอร์จะเข้าสู่ Declinling Stage เนื่องจากรถยนต์ใหม่ (ตั้งแต่เดือนกันยายน 2536 เป็นต้นมา) ถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะน้ำมันเบนซินไร้สารฯเท่านั้น
การแข่งขันและคู่แข่ง (Competitve Analysis)
คู่แข่งส่วนใหญ่เน้นการส่งเสริมน้ำมันเบนซินไร้สารฯ และมีน้ำมันเบนซินซูเปอร์จำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้รถยนต์ โดยยังคงติดตามสถานการณ์ตลาดและผลของ “พีทีที ซูเปอร์ 97” ก่อน
การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target Consumer Analysis)
กลุ่มหลัก
1. กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ – ปัจจุบันรถยนต์ที่เติมน้ำมันเบนซินซูเปอร์มีอยู่ประมาณ 400,000 –500,000 คันหรือประมาณ 50% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดในตลาด
จากการวิจัยในกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซินซูเปอร์ โดยส่วนวิจัยตลาด ปตท. (เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2538) พบว่า
ทัศนคติ
1. ส่วนใหญ่ไม่มีความสนใจและไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์และน้ำมันเบนซิน
2. รู้จักและเชื่อถือในมาตรฐานคุณภาพของยี่ห้อหลัก ๆ ได้แก่ เชลล์ เอสโซ่ ปตท. และ คาลเท็กซ์
พฤติกรรมการซื้อ
1. รู้ว่าน้ำมันเบนซินไร้สารฯ ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอในการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเบนซินไร้สารฯ
2. เติมเฉพาะน้ำมันเบนซินซูเปอร์เพราะความคุ้นเคย และคิดว่าน้ำมันเบนซินไร้สารฯที่ไม่มีสารตะกั่ว อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย หรือไม่สามารถให้ประสิทธิภาพดีเท่าน้ำมันเบนซินซูเปอร์ที่ใช้อยู่เดิม
กลุ่มรอง
2. Influencers :
2.1 เจ้าของหรือผู้บริหารสถานีบริการ ปตท. (ปัจจุบันมีจำนวนถึง 1,300 แห่งทั่วประเทศ)
กลุ่มเจ้าของและผู้บริหารสถานีบริการ ปตท. จำต้องมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความมั่นใจในการวางตลาด ของ “พีทีที ซูเปอร์ 97” และเตรียมสถานีบริการ-พนักงานหน้าลานให้พร้อม เพื่อถ่ายทอดไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ณ จุดจำหน่าย
2.2 กลุ่มสื่อมวลชน ทั้งสาขาเศรษฐกิจการตลาด และสาขารถยนต์
ปตท. จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ และความมั่นใจคุณภาพของ “พีทีที ซูเปอร์ 97”แก่สื่อมวลชน ก่อนการวางจำหน่ายในตลาด เพื่อให้การสนับสนุนและเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องแก่สาธารณชน
2.3 กลุ่มผู้นำความคิด ได้แก่ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย มีบาบาทในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ลูกค้าผู้ซื้อรถยนต์ของตน องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มูลนิธิป้องกันควันพิษฯ ที่มีบทบาทสร้างกระแสตื่นตัวด้านมลพิษให้แก่สาธารณชนทั่วไป
การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง และโอกาส อุปสรรค(SWOT Analysis)
จุดแข็ง (Strength)
1. ภาพพจน์
ปตท. มีภาพพจน์ของสถาบันที่เป็ฯผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เบนซินไร้สารตะกั่วและด้านสิ่งแวดล้อม
- เป็นบริษัทแรกที่จำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว (1 พฤษภาคม 2534)
- น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว สูตรที่จำหน่ายอยู่ มีค่าออกเทนสูงสุด (พีทีทีเพอร์ฟอร์มา 98)
2. การวิจัยและพัฒนา(Research and Development)
3. ปตท. มีศูนย์วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล
- นักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมศาสตร์ – เครื่องกล ในการวางแผน – ทดสอบ และประเมินผลการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และสาขาวิทยาศาสตร์ – เคมี ในการทดสอบคุณสมบัติและวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของผลิตภัณฑ์
- มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันหรือศูนย์ทดสอบระดับสากล เช่น South West Research Instituteสหรัฐอเมริกา และสถาบันในประเทศ เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และบริษัทผู้จำหน่ายสารเพิ่มคุณภาพ (Additive) ระดับชั้นนำของโลกเช่น LUBIZOL สหรัฐอเมริกา CHEVRON สหรัฐอเมริกา ADIBIS อังกฤษ เป็นต้น ทำให้ปตท. มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูงในการเลือกพัฒนาสูตรน้ำมันของตนเอง ตลอดจนการทดสอบ เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของน้ำมันที่เหมาะสมกับสภาพการใช้ของรถยนต์ และสภาวะต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยเฉพาะ
จุดอ่อน(Weakness)
การกระจายตัวของสถานีบริการ
สถานีบริการของ ปตท. ส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามต่างจังหวัด ตามเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัด มีน้อยที่อยู่ในตัวเมืองจัดเป็ฯพ้นที่ที่กลุ่มลูกค้าไม่ค่อยมีความตื่นตัวด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังเป็นเขตที่มีการใช้น้ำมันเบนซินพิเศษไม่มากเมื่อเทียบกับในพื้นที่เขตตัวเมืองหรือเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีความตื่อนตัวด้านปัญหามลพิาและการยอมรับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วสูงกว่า
โอกาสทางการตลาด(Opportunity)
การเป็นผู้นำตลาด/การแข่งขัน
ปตท.ได้เล็งเห็นว่าการเปิดตลาดก่อนบริษัทผู้ค้ารายอื่น ๆ โดยอาศัยภาพพจน์ความเป็นบริษัทน้ำมันชั้นนำของประเทศ จะสามารถสร้างโอกาสทางการตลาดได้สูง
การสนับสนุนจากรัฐบาล
ในฐานะบริษัทน้ำมันขอรัฐ ปตท. จึงได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยของของรัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กองปิโตเลียม) กองควบคุมพิเศษ
การตั้งราคา
ราคาผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ ถูกกว่าเบนซิน พิเศษ ซูเปอร์ ชนิดเดิมถึงลิตรละ 20 สตางค์ ถือเป็นทางเลือกที่ดีและคุ้มค่าของผู้บริโภค
ปัญหาและอุปสรรค (Threat)
ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว
การยอมรับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วมีเพียง 50% ในขณะที่อัตราส่วนของรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว มีถึง 80 – 90 % แม้ว่าน้ำในไร้สารตะกั่วจะมีจำหน่ายมา 4 ปี แล้ว
ทัศนคติของกลุ่มลูกค้า
ผู้ใช้รถยนต์ที่ยังคงใช้น้ำมันเบนซินซูเปอร์มีความเชื่อว่าน้ำมันไร้สารฯ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย หรือไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าน้ำมันเบนซินซูเปอร์ที่ตนใช้อยู่เดิม
คู่แข่งขัน
ปตท. จะเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินซูเปอร์พร้อมกันทั่วประเทศ ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศเป็นข้อกำหนดในเดือนมกราคม 2539 ผู้ใช้รถยนต์จึงมีทางเลือกใช้น้ำมันเบนซินซูเปอร์ที่มีสารตะกั่วจากสถานีบริการยี่ห้ออื่น ๆ
กลุ่มตัวแทนจำหน่าย(สถานีบริการ) ของปตท.
อาจเกิดความเป็นห่วงในความเสี่ยงที่จะเกิดกับยอดขายและกำไรของตน

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อือ มันก้อดีน๊

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ก็ดี จะได้ มีรายได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ได้ข้อคิดแล้วก๊ขอมูลดีๆๆอิกด้วยค่ะ

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา