MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประชาสัมพันธ์ (Public relation)

การประชาสัมพันธ์ (Public relation) เป็นหนึ่งในส่วนประสมของการสื่อสารทางการตลาดซึ่งมีความสำคัญ
อย่างหนึ่งขององค์การที่นอกเหนือจากการโฆษณา        การขายโดยพนักงานขาย และการส่งเสริมการขาย
ทั้งนี้องค์การอาจอยู่ในรูปของบริษัท ห้างร้าน สมาคมหรือหน่วยงานต่างๆ       อันเป็นส่วนหนึ่งในระบบสังคม
ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน องค์การจะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้หรืออยู่ได้ยากหากปราศจากการยอมรับ
และความเข้าใจจากสาธารณชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคม            ดังนั้นจึงจำเป็นที่องค์การต้องให้ความสนใจ
ต่อการทำความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชนโดยผ่านสื่อต่างๆ         โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้สาธารณชนมีทัศนคติ ความเชื่อหรือมุมมองที่ดีต่อองค์การ อันจะส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างราบรื่น
ในระยะยาวขององค์การ
      การประชาสัมพันธ์จะถูกใช้เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ บุคลากร สถานที่ แนวคิดและกิจกรรมการดำเนินงาน
ต่างๆ ขององค์การ  เช่น  ธุรกิจการค้าใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการฟื้นความสนใจของลูกค้าต่อสินค้าที่
ตกต่ำลง การใช้การประชาสัมพันธ์ของประเทศในการดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือนักลงทุนเพื่อให้เข้ามาท่องเที่ยว
หรือลงทุนในประเทศ หรือการที่บริษัทใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการกับวิกฤติที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด
ในตัวสินค้าของผู้ใช้สินค้า เป็นต้น
 

กลุ่มลูกค้า (Customers)

  • กลุ่มลูกค้า (Customers)  กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มสาธารณชนที่สำคัญมากต่อองค์การ  โดยเฉพาะบริษัทที่
    ดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร เพราะเป้าหมายหลักของธุรกิจคือการทำรายได้หรือกำไรสูงสุดจากลูกค้า
    กลุ่มลูกค้า คือ ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท ดังนั้นลูกค้าจึงมีความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า
    หรือบริการของบริษัท ดังนั้นลูกค้าจึงต้องการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ    ซึ่งลูกค้า
    คาดหวังจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการจากบริษัทอย่างถูกต้องและเพียงพอในการตัดสินใจ
    ซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านั้น   ลูกค้าจะมีความพึงพอใจต่อบริษัทเมื่อเขารู้สึกว่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อนั้น
    มีคุณภาพตามที่ต้องการในราคาเหมาะสม ดังนั้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในกลุ่มลูกค้า คือ การทำให้ลูกค้า
    เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา     และมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการของบริษัทนั่นเอง และเมื่อลูกค้า
    เกิดความเชื่อมั่นแล้ว บริษัทจะสามารถบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ นอกจากนั้นลูกค้าที่มีความพึงพอใจ
    ยังจะเป็นกระบอกเสียงที่ดีเยี่ยมให้กับบริษัท โดยการบอกต่อแบบปากต่อปากและช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า
    หรือบริการของบริษัทให้แก่คนรู้จัก ญาติหรือเพื่อนได้อย่างเต็มใจ  โดยที่บริษัทไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย
    ในการประชาสัมพันธ์เลย

ลักษณะของการประชาสัมพันธ์มีดังต่อไปนี้

  1. การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งไปยัง
    ผู้รับเกี่ยวกับข่าวสารขององค์การที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณชนรับทราบ         และเข้าใจ และยังเป็น
    การสื่อสารย้อนกลับจากผู้รับ คือ สาธารณชน ไปยังองค์การเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับองค์การ
  2. การประชาสัมพันธ์อาจมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม (Multiple target group) เช่น พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น
    ชุมชน รัฐบาล หรือหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุระสงค์ในการประชาสัมพันธ์ว่าต้องการ
    ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
  3. การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ   ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์ต้องตั้งอยู่บนหลักความจริง
    เพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
  4. การประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยคาดหวังผลต่อเนื่องในระยะยาว
    เพื่อให้สาธารณชนมีความศรัทธาและมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อองค์การเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินกิจการ
    อยู่ในระยะยาวได้
  5. การประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ    โดยจะมีการวางแผน ควบคุม และประเมินผล
    ของการประชาสัมพันธ์    เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
    ประสิทธิผล

Advertising

การโฆษณามีหลายรูปแบบ และมีวิธีการใช้ได้หลายวิธีจึงเป็นการยากที่จะรวบรวมและอธิบาย และจะพออธิบายได้ดังนี้
          •  เป็นการนำเสนอต่อสาธารณชน (Public presentation) การโฆษณาจึงเหมาะที่จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและข้อเสนอที่เป็นมาตรฐาน
          •  การแพร่กระจาย (Pervasiveness) การโฆษณาเปิดโอกาสให้ผู้ขายสินค้าส่งข่าวสารซ้ำๆ หลายทั้ง ขณะเดียวกันก็ปิดโอกาสให้ผู้รับข่าวสารเปรียบเทียบข่าวสารกับโฆษณาของคู่แข่งขัน โฆษณาที่ยิ่งใหญ่บอกถึงขนาด อำนาจ  และความสำเร็จของผู้ขายสินค้า
          •  ขยายการแสดงออก (Amplified expressiveness) การโฆษราเปิดโอกาสให้สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัท และสินค้า โดยการใช้ศิลปะทางด้านการพิมพ์ เสียง และสี
          •  ไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัว (lmpersonality) ผู้รับข่าวสารไม่รู้สึกว่าบีบบังคับให้ต้องใส่ใจหรือต้องตอบสนอง การโฆษณา เป็นการพูดข้างเดียวไม่ใช่สนทนาโต้ตอบ
             การโฆษณาสามารถใช้สร้างภาพพจน์ของสินค้าในระยะยาวได้ (เช่นโฆษณาของ Coca – Cola )หรือใช้กระตุ้นยอดขายระยะสั้น (เช่นโฆษณาส่งเสริมการขายสุดสัปดาห์ ของห้างสรรพสินค้า Sears)การโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อในแต่ละพื้นที่ โฆษณาบางรูปแบบ
(เช่นโฆษณาทางโทรทัศน์จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ในขณะที่บางรูปแบบ (เช่นหนังสือพิมพ์)ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูงโฆษณาอาจมีผลต่อยอดขายได้โดยง่ายขณะที่ผู้บริโภคอาจมีความเชื่อว่าสินค้าที่ทุ่มงบโฆษณาสูงต้องนำเสนอ“คุณค่าที่ดี”

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา