MBA HOLIDAY

Custom Search

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Management Philosophies

1.แนวความคิดมุ่งการผลิต Production concept 
         เป็นแนวความคิดที่ใช้ในยุคแรกๆ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง เพื่อขายสินค้าให้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง รวมทั้ง ทำให้การจำหน่ายจ่ายแจกมีประสิทธิผลดีที่สุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า ผู้บริโภคทั้งหลายต่างจะมีความชอบพอหรือนิยมในผลิตภัณฑ์ที่มีขายแพร่หลาย และจัดหาได้สะดวก ซึ่งแนวความคิดนี้จะใช้ได้ดี ก็ต่อเมื่อ
                            - 
 Demand > Supply  กล่าวคือ ปริมาณความต้องการในผลิตภัณฑ์มีมากกว่าที่เสนอขาย มีอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ลูกค้าจึงพร้อมจะซื้อทุกอย่างโดยไม่เลือก
              - ต้นทุนของผลิตภัณฑ์มีราคาสูงมากและต้องมีการพยายามลดราคาให้ต่ำลง ด้วยวิธีการผลิตที่ดีกว่าเดิม



      2. แนวความคิดมุ่งผลิตภัณฑ์ Product concept
          
แนวความคิดนี้ ผู้บริโภคเลือกที่จะมุ่งเน้นในตัวผลิตภัณฑ์ ให้ความสำคัญต่อคุณภาพ สมรรถนะ นวัตกรรม มากกว่าเรื่องของราคา ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดี โดนส่วนมากผู้ผลิตสินค้ามีความคิดในแนวดังกล่าว โดยคิดว่าสินค้าของตนมีคุณภาพดีที่สุด แต่ทั้งนี้ ผู้บริโภคยังมีเงื่อนไขอื่นๆประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อ อาทิ การบริการหลังการขาย ความสะดวกในการซื้อขายสินค้า ศูนย์ที่ให้บริการ และอำนาจทางการเงินในการซื้อ  ซึ่งผู้ผลิตต้องระมัดระวังในเรื่องของ การมุ่งพัฒนาแต่ผลิตภัณฑ์ จนลืมคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค (Marketing Myopia)


3. แนวความคิดมุ่งการขาย The selling concept          แนวความคิดนี้ จะนำเอาเครื่องมือขายเข้ามาใช้ในการกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดความสนใจและต้องการในผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งธุรกิจที่นิยมใช้แนวความคิดนี้ ส่วนมากเป็นสินค้าที่ขายยาก สินค้าที่สินค้าที่ไม่อยู่ในความคิดที่จะซื้อ (Unsought Goods) สินค้าใหม่ที่พึ่งออกสู่ตลาด หรือแม้แต่สินค้าเก่าแต่ผู้ซื้อไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อ โดยองค์กรจะให้ความสำคัญกับทีมขายของกิจการมาก แนวความคิดนี้ควรระมัดระวังเรื่องของความพอใจหลังการซื้อ (Post-purchase Satisfaction)

      4. แนวความคิดมุ่งการตลาด The marketing concept
          เป็นแนวความคิดที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยยึดหลักกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์การธุรกิจบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายทางการตลาดได้ จะประกอบด้วยเงื่อนไขที่สำคัญคือ องค์การจะต้องพิจารณากำหนดความต้องการที่แท้จริงของตลาดที่เป็นเป้าหมายได้ และต้องปรับตัวเองให้สามารถสร้างหรือสนองความพอใจ ตามที่ต้องการเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโดยมีประสิทธิผลสูงกว่าคู่แข่งขัน โดยยึดหลัก 3 ประการคือ 1. มุ่งเน้นลูกค้า  2.การตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing)  3.แสวงหากำไรจากความพึงพอใจของลูกค้า
      5. แนวความคิดการตลาดเพื่อสังคม The societal marketing concept
          แนวความคิดนี้มีพื้นฐานเดีัยวกันกับแนวควาามคิดมุ่งการตลาด ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดใหม่ที่สุดในปัจจุบัน ประเด็นสำคัญของแนวความคิดนี้คือ หน่วยงานธุรกิจไม่ควรจะมุ่งแต่การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเดียว แต่จะต้องมุ่งถึงการรักษาและเพิ่มคุณค่า สวัสดิภาพในความเป็นอยู่ทั้งผู้บริโภคและสังคมด้วย เป็นแนวความคิดที่มุ่งเน้นความรับผิดชอบที่นักธุรกิจควรจะมีต่อสังคม

แนวคิดผลิตภัณฑ์ (The Product Concept)

คือ แนวคิดการตลาดที่ยึดว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงที่สุด และสามารถนำมาใช้งาน ได้อย่างดียิ่ง เน้นลักษณะผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ผู้บริหารที่บริหารการตลาดด้วยแนวคิดนี้จึงมุ่ง การเสนอสินค้าที่มีคุณภาพดียิ่งและพัฒนาปรับปรุงสินค้าตลอดเวลา บ่อยครั้งที่ผู้บริหารจะหลงไหลและ รักสินค้าของตน โดยมิได้พิจารณาถึงความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ผู้บริหารจะให้ความเชื่อถือต่อ วิศวกรหรือนักประดิษฐ์ขององค์กรมากกว่า เช่น บริษัทรถยนต์ GM ในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีความคิดว่าลูกค้า ไม่สามารถอธิบายรถยนต์ที่ต้องการหรือชอบได้จนกว่าจะได้เห็นรถยนต์จริง ๆ จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทที่ต้อง เสนอและชี้นำลูกค้าด้วยการเสนอรถยนต์ที่มีสมรรถนะดี และรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย
แนวคิดการขาย (The Selling Concept) คือ แนวคิดที่ยึดว่าโดยปกติแล้ว ผู้บริโภคหรือหน่วยงานต่าง ๆ จะซื้อสินค้าในปริมาณที่น้อย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องมีการใช้วิธีการขายเชิงรุกในการส่งเสริมการขายมากขึ้น แนวคิดนี้มีการใช้มาก ในสินค้าประเภทที่ลูกค้าไม่ได้เสาะแสวงหาในการซื้อ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต เครื่องลายครามหรือสินค้า/ บริการขององค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร เช่น การบริจาคเงินหรืออุดหนุนให้กับสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล มูลนิธิหรือสถาบันศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น พนักงานขายจึงนับว่ามีบทบาทและอิทธิพลต่อการซื้อของลูกค้า การใช้แนวคิดการขายที่รุกมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจได้ง่าย และเกิดการบอกต่อที่ไม่ดีต่อสินค้า และบริษัทในที่สุด

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา