MBA HOLIDAY

Custom Search

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเขียนแผนธุรกิจ เพราะ

การจัดทำแผนธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นการปูพื้นให้ผู้อ่าน ทราบเป็น พื้นฐานเบื้องต้น เกี่ยวกับที่มาที่ไปหรือพัฒนาการของแผนธุรกิจที่เกิดขึ้น หรือเรื่องของ "การนำเสนอโครงการ" ซึ่งเป็นคำเรียกที่ใช้กัน อยู่ติดปาก ระหว่าง เจ้าหน้าที่สินเชื่อกับผู้ประกอบการเมื่อต้องการขอกู้เงิน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า การเขียนแผนธุรกิจ มีจุดประสงค์หลัก เฉพาะเมื่อ ต้องการ ขอสินเชื่อ กับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์อื่น แม้ว่าในข้อเท็จจริงแล้ว เกือบทั้งหมด ของแผนธุรกิจ ที่จัดทำขึ้นโดยผู้ประกอบการในปัจจุบัน จะถูกใช้เพื่อเป็นเอกสาร ประกอบการ ขอวงเงินสินเชื่อแทบทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบัน ถ้าได้มีการลองสอบถาม ผู้ประกอบการ เกี่ยวกับเหตุผลในเรื่องเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องการ จัดทำแผนธุรกิจ ก็มักจะได้รับคำตอบว่า เพราะธนาคารให้ทำหรือให้เขียน มิฉะนั้นจะกู้เงินไม่ได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ทำให้มี ผู้ประกอบการ บางราย ที่ไม่เข้าใจถึงเหตุผลเกี่ยวกับการเขียนหรือการจัดทำแผนธุรกิจที่ถูกต้อง จะไม่สามารถเขียนแผนธุรกิจที่ดีได้ เพราะไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำแผนธุรกิจ โดยคิดเพียงแต่ว่า เป็นเพียงเอกสาร ที่ต้องมี ประกอบการขอกู้ เช่นเดียวกับ เอกสารอื่นๆเท่านั้น เช่น หนังสือรับรองบริษัท สำเนาบัตรประชาชน สำเนารายการทางการเงิน จากทางธนาคาร ย้อนหลัง (Bank Statement) ซึ่งเมื่อส่งแผนธุรกิจที่เขียนขึ้นจาก ความเข้าใจดังกล่าว ไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็จะกลายเป็น ผลเสียกับตนเองเนื่องจาก ข้อมูลต่างๆ ก็มักจะไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอที่จะนับว่าเป็นแผนธุรกิจได้ รวมถึง เมื่อต้องถูกร้องขอ ให้จัดทำเป็น แผนธุรกิจตามรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ผู้ประกอบการก็มักจะไม่สามารถจัดทำ แผนธุรกิจที่ถูกต้องได้ ซึ่งอาจมาจาก การขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจ ซึ่งประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน ก็คือเรื่องของเหตุผลว่า ทำไมหรือ เพราะเหตุผลใดจึงต้องมีการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อน ที่จะเริ่มต้นเขียน แผนธุรกิจ โดยนอกจากที่เกี่ยวกับเหตุผล อันมาจากข้อกำหนดของทางทางธนาคารหรือสถาบันการเงินแล้ว ผู้เขียนจะได้กล่าวถึง เหตุผลในการเขียนแผนธุรกิจในวัตถุประสงค์อื่นๆไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับเหตุผลในการเขียน หรือการจัดทำ แผนธุรกิจ ที่นอกเหนือจากการไว้สำหรับ เพื่อการกู้เงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน
โดยทั่วไปถ้าจะแบ่งเหตุผลของ การเขียนแผนธุรกิจ ทั้งจากผู้ประกอบการหรือผู้ที่มิได้เป็นผู้ประกอบการ มีเพียง 2 ประเด็นหลักๆ เท่านั้นก็คือ
1. ผู้ประกอบการหรือธุรกิจต้องการเขียนหรือจัดทำแผนธุรกิจขึ้นเอง กับ
2. ผู้ประกอบการหรือธุรกิจมีความจำเป็นต้องเขียนหรือจัดทำแผนธุรกิจขึ้น หรือถ้าจะกล่าวแบบง่ายๆก็คือ ต้องการเขียนขึ้นมาเอง หรือถูกบังคับให้เขียน หรือมีเหตุจำเป็นที่ต้องเขียน 

กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)

ตามรูปศัพท์ แฟรนไชส์ หมายถึง สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้า หรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์เป็นที่นิยมมาก มีกิจการหลายกิจการที่กำเนิดจากธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะการดำเนินงานในธุรกิจประเภทนี้ จะมีบริษัทแม่คอยแนะนำ ให้ความช่วยเหลือเป็นผู้เตรียมใบอนุญาตเทคนิคการผลิต การบริหารงาน ขายให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือผู้ซื้อสัมปทาน เพื่อซื้อสทธิในการเป็นเจ้าของ และดำเนินงานในลักษณะเดียวกับที่บริษัทแม่ได้วางรูปแบบไว้ ซึ่งธุรกิจที่เป็นบริษัทแม่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ มีแนวทางในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น จากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่าย คือ
1. แฟรนไชซอร์ (Franchisors) หรือเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้สัมปทาน
2. แฟรนไชซี (Franchisees) คือ ผู้ขอรับสัมปทาน
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ พิซซ่าฮัท ฯลฯ กิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น ไทเกอร์มาร์ต สตาร์ชอร์ป ฯลฯ และธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิด โดยคนไทยเอง เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่เจมส์ ฯลฯ
ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภท คือ
1. ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทาน หรือแฟรนไชซอร์ให้สิทธิแก่ ผู้รับสัมปทาน หรือตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชซีในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า หรือสินค้าจากผู้ให้สัมปทาน โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคลา สถานีบริการน้ำมันเซลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น
2. ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ มักจะเป็นระบบการดำเนินธุรกิจของผู้ให้สัมปทานที่ประสบความสำเร็จสูง เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่น-อีเลฟเว่น โดยการดำเนินธุรกิจประเภทนี้จะถูกกำหนดลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวคิดเดียวกันระหว่างผู้ให้สัมปทานกับผู้รับสัมปทาน ทั้งด้านกลยุทธ์ แผนการตลาด มาตรฐานการปฏิบัติงานและการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาล มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบธุรกิจ สาเหตุที่รัฐบาลเข้าดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
1. เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม กิจการบางประเภทเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อส่วนรวม ถ้าเอกชนดำเนินการ อาจทำให้ประชาชนไม่ได้รับ การบริการที่ดีและเป็นธรรม
2. เพื่อป้องกันการผูกขาด การให้เอกชนดำเนินการโดยให้มีการแข่งขันเสรี ผู้ผลิตรายย่อยอาจสู้ผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ได้ ทำให้เกิดการผูกขาด ทำให้ประชาชน ถูกเอาเปรียบได้
3. กิจการบางประเภทต้องอาศัยการลงทุนที่สูงมาก เช่น การผลิตไฟฟ้าต้องลงทุนสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำเครื่องมือเครื่องจักร และกำลังคนจำนวนมาก ซึ่งเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้
4. เพื่อหารายได้เข้ารัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เข้ารัฐนอกจากการเก็บภาษีอากรเพื่อนำไปใช้จ่ายในการทำนุบำรุง และพัฒนาประเทศชาติ
5. เพื่อความมั่นคงของประเทศ ในยามสงครามสินค้าบางชนิดมีความจำเป็นต่อส่วนรวม เพื่อเป็นการป้องกันการขาดแคลนในยามฉุกเฉิน รัฐจำเป็นต้อง เข้ามาดำเนินการเอง ได้แก่ กิจการเกี่ยวกับการผลิตเชื้อเพลิง ยารักษาโรค เป็นต้น
6. เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ วัฒนธรรมและเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศชาติ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดตั้ง
การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจทำได้ 4 ลักษณะ คือ
1. จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ โดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ฯลฯ
2. จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา โดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนยาง องค์การสวนสัตว์ ฯลฯ
3. จัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยรัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งสิ้น หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น บริษัทการบินไทย บริษัทไม้อัดไทย บริษัทขนส่ง จำกัด ฯลฯ
4. จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โรงงานยาสูบ สถานธนานุเคราะห์ ฯลฯ

สหกรณ์

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 ได้ให้ความหมายของสหกรณ์ไว้ดังนี้ "สหกรณ์ หมายความว่าคณะบุคคล ซึ่งรวมกันดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งกัน และกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้" จากความหมายของสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ คือธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้งลงทุน ดำเนินการและเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัครใจ ทำหน้าที่ใน ธุรกิจเพื่อช่วยเหลือสมาชิก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่สมาชิก รวมทั้งรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ ของสมาชิกให้ดีขึ้น
ลักษณะของกิจการสหกรณ์
1. เป็นการร่วมทุนของบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวน
2. เป็นการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของบุคคลที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยไม่คำนึงถึงสินทรัพย์
3. ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ เพราะสหกรณ์ดำเนินงานในรูป "โดยสมาชิกเพื่อสมาชิก"
4. สมาชิกทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินงานสหกรณ์ เพราะการดำเนินงานเป็นไปในรูปแบบประชาธิปไตยสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิออกเสียงได้
5. มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมชิก โดยไม่คำนึงถึงผลกำไร
6. การจัดตั้งมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการสหกรณ์ ไม่ได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประเภทของสหกรณ์
กิจการสหกรณ์มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะการก่อตั้งและการดำเนินงานแตกต่างกันโดยในประเทศไทยได้แบ่งประเภทของสหกรณ์ตามประกาศของนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับ เรื่องการจัดประเภทสหกรณ์ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2516 กำหนดประเภทสหกรณ์ที่รับจดทะเบียนรวมมี 6 ประเภท ดังนี้
1. สหกรณ์การเกษตร เป็นสหกรณ์ที่มีสมาชิกประกอบด้วยเกษตรกร มีหน้าที่ในการจัดหาและให้บริการแก่สมาชิกในด้านการผลิตการเกษตร เช่น การจัดหาเงินทุน การจัดหาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาจำหน่ายให้สมาชิกในราคาถูก การรวบรวมผลิตผลออกจำหน่าย และการแปรรูปผลิตผล ออกจำหน่ายให้ได้ราคาดี
2. สหกรณ์การประมง จัดตั้งขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่วนใหญ่อยู้ในจังหวัดชายทะเลทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และประกอบอาชีพ ด้านการประมง รวมถึงการจัดหาเงินทุนแลอุปกรณ์เกี่ยวกับการประมงจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูก และการจัดการด้านการตลาด เพื่อให้สามารถจำหน่าย ผลิตผลให้ได้ราคาดี จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2492 ที่อำเภอพรหมพราม จังหวัดพิษณุโลก มีชื่อว่า "สหกรณ์ประมงพิษณุโลก จำกัด" เป็นสหกรณ์ประมง น้ำจืด เดิมสหกรณ์ประมงได้รวมอยู่กับสหกรณ์การเกษตร ปัจจุบันได้แยกสหกรณ์ประมงออกจากสหกรณ์การเกษตร เพราะว่าเป็นอาชีพที่แตกต่างกัน นับว่า เป็นการให้ความสำคัญแก่อาชีพประมงเป็นอย่างมาก
3. สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพ รวมถึงการจัดหาและอำนวยความสะดวก ในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก เช่น การจัดหาเงินทุนอุปกรณ์การผลิตและเครื่องมือการผลิตมาจำหน่าย ตลอดจนการจัดหาน้ำ และการจัดการด้าน การตลาดให้อีกด้วย
4. สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคายุติธรรม ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใน เขตชุมชน ที่มีประชาชนหนาแน่น ในสถาบันศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ
5. สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการแก่สมาชิกในด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า สหกรณ์แท็กซี่ รถรับจ้าง สหกรณ์การเคหสถาน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมาชิกต้องการ และจะเรียกเก็บค่าบริการที่สหกรณ์จัดนั้น จากสมาชิกตามส่วนที่แต่ละคนใช้ประโยชน์ เมื่อสมาชิกหมดความจำเป็นที่จะใช้บริการอาจเลิกได้ เช่น สหกรณ์การไฟฟ้า เมื่อใดท้องที่นั้มีไฟฟ้าใช้ สมาชิกก็หมดความจำเป็นที่จะใช้บริการของสหกรณ์ สหกรณ์ก็จะเลิกได้
6. สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในหมู่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินในยามจำเป็น ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก โดยมีเงินปันผลคืนตามส่วนให้อีก้วย สหกรณ์ประเภทนี้ได้รับความนิยม และจัดตั้งขึ้นใน หมู่ผู้มีรายได้ประจำเช่น ข้าราชการ ครู ตำรวจ รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ

บริษัทจำกัด

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 บัญญัติว่า "บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ" จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ การประกอบกิจการในรูปแบบ บริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การระดมเงินทุนกิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วย รวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหาร ที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง
ลักษณะของบริษัทจำกัด
ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 มาตรา 1096 ได้บัญญัติว่า บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนส่งใช้ให้ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
1. ความเป็นเจ้าของ เนื่องจากลักษณะของบริษัทมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ผู้ซื้อหุ้นของบริษัทเรียกว่า "ผู้ถือหุ้น" จะมีฐานะเป็นเจ้าของหุ้นไม่ใช่ เจ้าของ กิจการ แต่มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทคือ "เงินปันผล" ผู้เป็นเจ้าของกิจการก็คือนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัดนั่นเอง
2. การก่อตั้ง บริษัทจำกัดมีขั้นตอนในการก่อตั้งตามกฎหมาย ดังนี้
1.1 มีบุคคลอย่างน้อย 7 คน มารวมกันจัดตั้ง บุคคลกลุ่มนี้เรียกว่า "คณะผู้ก่อการ"
1.2 ทำหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทที่จัดตั้งขึ้น ได้แก่ ชื่อบริษัท สถานที่ตั้งวัตถุประสงค์ ชื่อผู้ก่อการ อาชีพผู้ก่อการ ชนิดของหุ้นที่ออกจำหน่าย จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นและนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนที่กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์
1.3 คณะผู้ก่การจะต้องทำหนังสือชี้ชวน เพื่อให้มีผู้สนใจมาซื้อหุ้นของบริษัทและจะต้องดำเนินการ ให้มีผู้มาจองหุ้นของบริษัท จนครบจำนวนหุ้นที่ขอ จดทะเบียน
1.4 เมื่อมีผู้จองหุ้นจนครบทุกหุ้นแล้ว บริษัทเรียกผู้จองหุ้นทุกคนประชุมจัดตั้งบริษัท โดยในที่ประชุมจะต้องเลือกตั้งกรรมการบริหารบริษัทอย่างน้อย 1 คน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการในการกระทำการแทนบริษัท และดำเนินการเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกอย่างน้อย 25% ของมูลค่าหุ้น
1.5 หลังจากเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกแล้ว จึงไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเพื่อให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยนำสำเนาการประชุม หนังสือบริคณห์สนธิระเบียบข้อบังคับไปขอจดทะเบียน
1.6 ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทจำกัด
1.7 ต้องมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในราชอาณาจักร
3. จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ ทุนของบริษัทจำกัดจะได้มาเนื่องจากการนำใบหุ้นออกจำหน่าย กฎหมายระบุว่ามูลค่าหุ้นจะต้องมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน เงินทุนของบริษัท แบ่งได้ดังนี้
3.1 ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) คือ จำนวนทุนทั้งสิ้นที่ได้ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
3.2 ทุนชำระแล้ว (Paid - up Capital) คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นได้ชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัทตามที่บริษัทได้เรียกร้องให้ชำระแล้วหุ้นของบริษัทจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หุ้นที่มีผู้ลงจองหุ้นด้วยเงิน เมื่อเริ่มตั้งแต่มีการให้จองหุ้น ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมทุกเรื่อง มีสิทธิได้เงินปันผล และได้รับคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกดำเนินกิจการ
2. หุ้นบริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ หุ้นที่มีสิทธิพิเศษเหนือหุ้นสามัญโดยมีสิทธิได้เงินปันผลและคืนทุนก่อนหุ้นสามัญ แต่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
4. ความรับผิดชอบและการบริหารงาน ในที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ที่ประชุมใหญ่จะต้องออกเสียงเลือกตั้งคณะกรรมการของบริษัทซึ่งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นผู้มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการได้ โดยแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการตามกฎหมาย มีดังนี้
1. ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท
2. ควบคุมการชำระเงินค่าห้นของผู้จองหุ้น
3. จัดทำบัญชีและจัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด
4. จ่ายเงินปันผลและดอกเบี้ย
5. ปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
6. กรรมการของบริษัทจะทำการค้าแข่งขันกับบริษัทของตนเองไม่ได้
7. มีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท สำหรับผู้ถือหุ้นมีสิทธิเป็นเจ้าของหุ้นตามที่ตกลงซื้อไว้ แต่ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของ บริษัท
5. ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับคือส่วนแบ่งจากกำไร เรียกว่า เงินปันผล หรือผลประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุไว้ใน หนังสือ บริคณห์สนธิ โดยปกติผลกำไรของบริษัทจะไม่นำมาแบ่งเป็นเงินปันผลทั้งหมด ส่วนหนึ่งจะกันสะสมไว้เพื่อบริษัทนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อไว้ขยายโรงงาน เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อผลขาดทุนในภายหน้า กำไรส่วนที่กันสะสมไว้นั้นเรียกว่า เงินสำรอง (Reserves)
6. การควบคุมการบริหารงาน การบริหารงานของบริษัทจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการซึ่งจะมีการบริหารงานที่กระจายงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นระบบและมีขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยกฎหมายกำหนดให้จะต้องมีการตรวจสอบบัญชีของบริษัทปีละครั้ง โดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุน ยื่นต่อนายทะเบียนบริษัท
7. การประเมินผลการดำเนินงาน บริษัทจะทำการประเมินผลการดำเนินงานโดยดูจากงบการเงิน คือ งบกำไรขาดทุน และงบดุลของบริษัท
8. การขยายกิจการ บริษัทสามารถขยายกิจการได้ด้วยการขอจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
9. การเลิกกิจการ บริษัทจำเป็นต้องเลิกกิจการเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ถ้าในการจัดตั้งบริษัทระบุเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อเสร็จสิ้นกิจการนั้นแล้ว บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
2. ถ้าในการจัดตั้งบริษัทกำหนดระยะเวลาของการดำเนินงานไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุ บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
3. ถ้าในข้อบังคับของบริษัทระบุเหตุที่บริษัทต้องเลิกไว้ เมื่อเกิดเหตุนั้นบริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
4. เมื่อมีมติพิเศษจากผู้ถือหุ้นให้เลิกบริษัท
5. เมื่อบริษัทจดทะเบียนตั้งบริษัทมาแล้ว 1 ปีเต็ม โดยบริษัทไม่ได้เริ่มดำเนินกิจการ หรือหยุดดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม
6. เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงจนเหลือไม่ถึง 7 คน
7. เมื่อบริษัทล้มละลาย
ข้อดีของบริษัทจำกัด
1. สามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนมากตามที่ต้องการ โดยการออกหุ้นจำหน่ายเพิ่ม หรือจัดหาโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้รับความเชื่อถือมากกว่า กิจการประเภทอื่น
2. การดำเนินกิจการบริษัทไม่จำกัดระยะเวลาตามอายุของผู้ถือหุ้น ดังนั้นระยะเวลาในการดำเนินกิจการจึงยาวกว่าการดำเนินกิจการประเภทอื่น
3. ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท
4. การบริหารงานสามารถหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์จัดการแทนได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
5. ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถโอนหรือขายหุ้นให้ผู้ใดก็ไได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
ข้อจำกัดของบริษัทจำกัด
1. การจัดตั้งบริษัทมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ยุ่งยาก
2. กิจการบริษัทเนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
3. เนื่องจากในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ บริษัทและพนักงาน ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วน ที่ขาดความตั้งใจใน การทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง
4. การเสียภาษีของกิจการประเภทบริษัทจะเสียภาษีค่อนข้างสูงและซ้ำซ้อนคือบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ ดังนั้น จะต้องเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา