MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

แบรนด์ Brand

แบรนด์ คือ ชื่อเสียง และ การรับรู้ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้คนมีต่อสินค้าและบริการนั้นๆ ซึ่งรวมถึง การมีชื่อและสัญลักษณ์ที่ช่วยทำให้ลูกค้าสามารถแยกความแตกต่างของสินค้าและบริการของเราออกจากคู่แข่งได้ โดยที่คำว่า Brand Equity คือ มูลค่าของตัวแบรนด์นั้นๆ
กลยุทธด้านแบรนด์ Brand Strategy
  • Line extensions [Existing Brand, Existing Product] ใช้แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเพื่อแนะนำสินค้าที่อยู่ในประเภทเดิม เช่น เพิ่มรส รูปแบบ สี ขนาด
  • Brand extension [Existing Brand, New Product]ใช้แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเพื่อแนะนำสินค้าที่อยู่ในประเภทใหม่
  • Multi Brands [New Brand, Existing Product] ออกแบรนด์ใหม่ในสินค้าประเภทเดิม
  • New Brands [New Brand, New Product] ออกแบรนด์ใหม่ในสินค้าประเภทใหม่
Product Mix
  • Width จำนวนประเภทของ Product Line ที่ต่างกัน (จำนวนประเภทสินค้า)
  • Length จำนวนของยี่ห้อสินค้าทั้งหมดที่มีแบรนด์มีอยู่ โดยรวมทุกๆ ประเภทสินค้า (Product Line)
  • Depth จำนวนของรูปแบบของแต่ละยี่ห้อ เช่น เช่น ถ้ามี 3 ขนาด 2 รส ก็จะมี Depth = 3×2 = 6
  • Consistency ความใกล้เคียงของสินค้าแต่ละชนิด ทั้งในรูปแบบการใช้ การจัดจำหน่าย

Promotion (Integrated Marketing Communication:IMC)

การสื่อสารไปยังลูกค้า อาจมีจุดประสงค์ในการ ให้ข้อมูล ชักจูง หรือย้ำเตือนลูกค้า โดยทำได้หลายแบบดังนี้ โดยแต่ละแบบต้องสื่อสารให้สอดคล้องกัน ไม่ทำให้สับสน
  • Advertising เป็นรูปแบบที่มีการจ่ายเงิน โดยไม่ใช้บุคคล
  • Personal selling การใช้คนในการนำเสนอ
  • Sales promotion การให้สิ่งกระตุ้นจูงใจระยะสั้น เพื่อดึงให้ลูกค้าซื้อสินค้า/บริการ
  • Public relations การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสาธารณะชน เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี
  • Direct Marketing การใช้สื่อที่ไม่ใช่บุคคลเพื่อติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เช่น จดหมาย โทรศัพท์ E-mail
โดยเราจะเลือกส่วนผสมแบบไหน ขึ้นอยู่กับ การเลือกแนวทางการสื่อสาร 2 อย่างคือ
  • Push Promotion Strategy การผลักสินค้าออกไปให้ผู้บริโภค ผ่านทางตัวกลางการตลาด เช่นมีโปรโมชั่นให้ตัวกลางเพื่อให้ตัวกลางนำสินค้าไปขายให้ผู้บริโภค (personal selling / trade promotion))
  • Pull Promotion Strategy ใช้วิธี (advertising/consumer promotion) เพื่อดึงลูกค้าให้มาซื้อสินค้าที่ตัวกลาง

การดำเนินงานด้านการตลาด

1. แนวความคิดที่มุ่งการผลิต (Production Concept) ตือแนวทางในการผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการผลิตครั้งละมาก ๆ จะช่วยให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง สามารถกระจายสินค้าหรือบริการได้ทันทีต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่ถูกลง สังเกตได้จากสินค้าหรือบริการมากมายในตลาดปัจจุบันราคาต่ำลงมากและหาซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งสินค้าที่จำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย 
            2. แนวความคิดมุ่งตัวผลิตภัณฑ์ (Product Concept) จากแนวความคิดที่มุ่งทางการผลิตเน้นการผลิตในปริมาณมาก ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อหาสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยมีารเปรียบเทียบทั้งคุณภาพและราคาที่เหมาะสมกับความต้องการและประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด เมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกมาก คู่แข่งขันทางการผลิตจึงจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการของตนเอง เพื่อสร้างการยอมรับจากลูกค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เป็นที่หน้าพอใจของผู้บริโภค
            3. แนวความคิดมุ่งการขาย (Selling Concept) แนวความคิดด้านการขายเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าไม่แสวงซื้อ แนวความคิดนี้มุ่งเน้นการบริหารงานขาย โดยให้ความสำคัญกับทีมงานขายเพื่อกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดความสนใจและต้องการในสินค้าหรือบริการและมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานขาย
            4. แนวความคิดมุ่งการตลาด (Marketing Concept) เป็นแนวความคิดที่มุ่งไปสู่ผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยกิจการมีการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อผลิตหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งการผลิตหรือปรับปรุงนั้นมีความแตกต่างกันตามส่วนแบ่งของตลาด ซึ่งแตกต่างกันทั้งรสนิยมและแนวทางการดำรงชีวิต 
            5. แนวความคิดมุ่งสู่สังคม (Social Marketing Concept) เป็นแนวความคิดทางการตลาดที่มุ่งสู่ผู้บริโภคเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมุ้งเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก 3'R คือ Recycle Refill Reuse เป็นต้น
    แนวความคิดทางการตลาดทั้ง 5 แนว กิจการต่าง ๆ จะยึดแนวใดเป็นหลักย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานด้านการตลาดในขณะนั้น เช่น 
                - สินค้าหรือบริการที่ออกสู่ตลาดใหม่ ๆ ควรมุ่งเน้นแนวความคิดมุ่งสู่การขาย
                - สินค้าอุปโภคบริโภค การแข่งขันค่อนข้างสูง ควรมุ่งเน้นแนวความคิดมุ่งการตลาด

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา