"การตลาดเจาะตรง" ตามนิยามเดิมหมายถึงการดำเนินงานการตลาดที่ทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการ เคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยไม่ใช้คนกลาง นิยามของการตลาดเดิมจึงต้องนำมาเปลี่ยนแปลงใหม่ ขอยกตัวอย่างนิยามใหม่ของการเจาะจงตลาด 2 นิยาม เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบดังนี้
1. สมาคมการตลาดเจาะจง ได้ให้คำนิยามการตลาดเจาะตรง ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุด ได้ให้ความหมายไว้ว่า การตลาดเจาะตรง หมายถึง ระบบการตลาดที่สามารถโต้ตอบกันได้โดยการใช้สื่อโฆษณาอย่างหนึ่งหรือมากกว่า
2. คอตเลอรและอาร์มสตรอง ได้ให้คำนิยามไว้ว่า "การตลาดเจาะตรง คือการติดต่อสื่อสารทางตรงกับลูกค้าเป้าหมาย ที่ได้เลือกสรรอย่างดีเป็นรายบุคคล เพื่อให้ได้รับทั้งการตอบรับในทันที และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว"
จากนิยามข้างต้นมีองค์ประกอบหลัก 4 อย่างที่สำคัญ
1. การตลาดเจาะตรง เป็นระบบที่สามารถโต้ตอบกันได้
2. กิจกรรมการดำเนินงานการตลาดเจาะตรง
3. การติดต่อสื่อสาร สามารถเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่
4. สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือกิจกรรมทั้งมวลของการตลาดเจาะตรง
ความเจริญเติบโตของการตลาดเจาะตรง
1. ความเจริญก้าวหนาทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร
2. ลักษณะโครงสร้างการตลาดมีขนาดเล็กลง
3. แบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไป
4. ความสะดวกในการสั่งซื้อและการบริการที่รวดเร็ว
5. การขายโดยบุคคลเสียค่าใช้จ่ายสูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
6. เทคโนโลยีด้านการสื่อสารผ่าน "ทางด่วนของข้อมูล" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ทางด้านการค้า
การดำเนินงานการตลาดออนไลน์
ในการดำเนินการตลาดออนไลน์นั้น นักการตลาดจะเริ่มต้นด้วยการสร้าง "โฮมเพจ" บนอินเตอร์เน็ตขึ้น เปรียบเสมือนการตั้งร้านค้าของตนเองได้บนอินเตอร์เน็ต หรือเป็นการเปิด "หน้าร้านทางอิเล็กทรอนิกส์" ขึ้นเพื่อรอคอยให้ลูกค้าหรือผู้ใช้เครือข่ายแวะมาเยี่ยมชม ในโฮมเพจจะให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้มากมายหลากหลายและกว้างขวาง ทั้งเป็นรูปภาพ ตัวหนังสือ เสียง และโปรแกรมต่างๆ ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ คือ
1. ข้อความบรรยายเกี่ยวกับบริษัท
2. แคตตาล็อกบอกลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ของบริษัท ความพร้อมที่จะจำหน่ายและราคา
3. ข่าวของบริษัท เช่นผลิตภัณฑ์ใหม่
4. ข้อมูลทางด้านเทคนิคต่าง ๆ และโบว์ชัวร์ผลิตภัณฑ์
5. ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงาน หรือการรับสมัครพนักงานใหม่ของบริษัท
6. โอกาสต่าง ๆ ที่จะพูดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัท
7. ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสั่งซื้อ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น