MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สถาบันการค้าปลีก (Retailing Institution)

การแบ่งประเภทของสถาบันการค้าปลีกสามารถแบ่งได้ด้วยเกณฑ์ 4 ประการ ดังนี้
1. พิจารณาสายผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย (Product Line Sold)
2. พิจารณาจากการให้ความสำคัญต่อราคาสินค้า (Relative Price Emphasis)
3. พิจารณาจากลักษณะการประกอบธุรกิจ (Nature of Business Premises)
4. พิจารณาจากการควบคุมกิจการ (Control of Outlets)

1. พิจารณาจากสายผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย

1.1 ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) ร้านค้าประเภทนี้มักจะมี สินค้าเพียงสายผลิตภัณฑ์เดียว แต่ละจำนวนสินค้าในสายผลิตภัณฑ์นั้นจะมีอยู่มาก

1.2 ร้านสรรพสินค้า (Department Store) ร้านสรรพสินค้าเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่มีสินค้าจำหน่ายมากมายหลายชนิด โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็นแผนก ๆ

1.3 ร้านสรรพาหาร (Supermarkets) เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งให้ลูกค้า บริการตนเอง สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นประเภทอาหาร และของใช้ประจำวัน

1.4 ร้านสินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Store) ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่อยู่อาศัย ของประชาชน เปิดจำหน่ายสินค้าทุกวัน โดยมีสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค อยู่เฉพาะบางอย่าง

2. พิจารณาจากการให้ความสำคัญต่อราคาสินค้า
2.1 ร้านขายของถูกหรือร้านขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด (Discount Store) ร้านขายของถูกจะขายสินค้าได้มาตรฐานในราคาที่ถูกกว่าร้านทั่วไป
2.2 ร้านคลังสินค้า (Warehouse Store) ให้บริการแก่ลูกค้าเพียงเล็กน้อย จะให้ส่วนลดกับลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าแล้วขนไปเอง
3. พิจารณาจากลักษณะการประกอบธุรกิจ

3.1 การขายปลีกทางโทรศัพท์และทางไปรษณีย์ (Mail and Telephone Order Retailing)
3.2 การขายโดยเครื่อง (Automatic Vending or Automatic Merchandising
or Robot Retailing)
3.3 การขายตามบ้าน (Door to Door retailing หรือ House to House Retailing)

4. พิจารณาจากการควบคุมกิจการ

4.1 ร้านอิสระ (Independent Store) ร้านค้าปลีกทั่ว ๆ ไป ซึ่งเจ้าของดำเนินงานด้วยตนเอง โดยไม่อยู่ในเครือของธุรกิจอื่น ๆ
4.2 ร้านค้าแบบลูกโซ่ (Chain Store) เป็นร้านขายปลีก ซึ่งมีตั้งแต่ 2 ร้าน ขึ้นไปมีเจ้าของและผู้ควบคุมกิจการเป็นคนเดียวกัน
4.3 ร้านค้าลูกโซ่แบบสมัครใจและสหกรณ์ผู้ค้าปลีก (Voluntary Chain and Retailer Cooperative)


4.3.1 ร้านค้าลูกโซ่แบบสมัครใจ (Voluntary Chain) เป็นกลุ่มของร้านค้าอิสระซึ่งได้ รับการสนับสนุนจากผู้ขายส่งในการซื้อสินค้าและวางแผนเกี่ยวกับสินค้า
4.3.2 สหกรณ์ผู้ค้าปลีก (Retailer Cooperative) เป็นข้อตกลงรวมกันระหว่างผู้ค้าปลีกอิสระเพื่อตั้งศูนย์รับซื้อสินค้า


4.4 สหกรณ์ผู้บริโภค (Consumer Cooperative) เป็นร้านค้าปลีกซึ่งเจ้าของ ได้แก่ ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก
4.5 ร้านค้าที่ได้รับสิทธิ์ทางการค้า (Franchise Store) เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง ผู้ให้สิทธิ์ทางการค้า (Franchiser) ซึ่งอาจจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งก็ได้กับผู้ได้รับสิทธิ์
ทางการค้า (Franchisee)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา