MBA HOLIDAY

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การตลาดทางตรงการวางแผนข้อเสนอ

การวางแผนสำหรับองค์กรมีหลายระดับ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงประเทศและขั้นตอนของการวางแผนอย่างคร่าวๆ เพื่อเกิดความเข้าใจในการเกิดภาพรวม ในขั้นตอนของระดับองค์การจะมีการวางแผนที่รียกว่า แผนกลยุทธ์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทิศทางของส่วนต่าง ๆ ขององค์กรนั้น

กระบวนการในการวางแผนกลยุทธ์

1. การกำหนดภารกิจหลัก
2. ทำการวิเคราะห์สถานการณ์
3. ระบุถึงกลยุทธ์และทางเลือกต่างๆ
4. การเลือกกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้
5. การตรวจสอบและควบคุมแผน

กระบวนการสี่ขั้นตอนในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดทางตรงแบบครบวงจรเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

1. การหารายชื่อลูกค้าให้ได้ผลอย่างทันที
2. การชักจูงหรือกระตุ้นให้ผู้สนใจเกดการซื้อ
3. การทำการวิเคราะห์หลังจากการทำการส่งเสริมการตลาด
4. การจัดการฐานข้อมูลลูกค้า

องค์ประกอบของข้อเสนอสำหรับการตลาดทางตรง

1. องค์ประกอบที่ต้องมี
1.1 ผลิตภัณฑ์ (บริการ) และการกำหนดตำแหน่ง
1.2 ราคา
1.3 ระยะเวลาของข้อเสนอ
1.4 เงื่อนไขการชำระเงิน
1.5 วิธีการลดความเสี่ยงให้ชื้อ

2. องค์ประกอบที่เลือกได้
2.1 สิ่งจูงใจ
2.2 ข้อเสนอรวม
2.3 ข้อผูกมัดของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์การกำหนดข้อเสนอ

ในขั้นตอนของการกำหนดข้อเสนอขั้น นักการตลาดจะต้องเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด สำหรับข้อเสนอแต่ละอย่างก่อน ดังตัวอย่างเช่น

- เพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้าใหม่
- เพื่อรักษาความสำพันธ์กับลูกค้อเดิมที่มีฐานลูกค้าอยู่
- เพื่อให้เกิดการขาย
สำหรับสินค้ามีที่อยู่
สำหรับสินค้าใหม่
- เพื่อขอบริจาคทุนสำหรับองค์กรที่ไม่หวังกำไร

ต้นทุนของการตลาดทางตรง

เมื่อเรากล่าวถึงข้อเสนอ หรือการวางแผนข้อเสนอ ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับต้นทุนของกิจการเสมอ ในที่นี้จะขอกล่าวโดยคร่าวๆ เกี่ยวกับต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรได้ของการตลาดทางตรงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ต้นทุนคงที่ ได้แก่ ต้นทุนที่มีจำนวนคงที่ไม่ผันแปรตามจำนวนยอดการตอบรับลูกค้า เช่น ต้นทุนการผลิตได้แก่ การเขียนโฆษณา การออกแบบกราฟิก ค่าฟิล์ม ค่าบันทึกเสียจง

ต้นทุนแปรผัน จะผันแปรไปตามจำนวนของผู้ตอบรับ เช่น ต้นทุนของสินค้า และรางวัลจูงใจ ต้นทุนการรับประกัน ต้นทุนการเก็บเงิน และต้นทุนการให้บริการลูกค้าอื่นๆ

การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

การกำหนดตำแหน่งผลัตภัณฑ์ มีความสำคัญมากต่อการกำหนดข้อเสนอและเนื้อหาของข้อความโฆษณา จากความหมายที่ KOTLER กล่าวไว้ การกำหนดตำแหน่ง “หมายถึงการกระทำที่กิจการพยายามให้ผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบการตลาดอื่น ๆ เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค”

กระบวนการการกำหนดกลยุทธ์ตำแหน่งผลิตภัณฑ์

กระบวนการการกำหนดกลยุทธ์ตำแหน่งผลิตภัณฑ์จะประกอบไปด้วยขันตอนต่างๆ 7 ขั้นตอนได้แก่

1. ระบุคู่แข่งขัน
2. การตัดสินใจว่าผู้แข่งขันได้รับการรับรู้และประเมินอย่างไร
3. ระบุตำแหน่งของผู้แข่งขัน
4. วิเคราะห์ตลาดเป้าหมายและการแบบ ส่วนตลาด
5. เลือกส่วนของตลาดที่ต้องการ
6. กำหนดทางเลือกในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์
7. กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ต่าง พร้อมทั้งตรวจสอบประสิทธิภาพของตำแหน่ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา