MBA HOLIDAY

Custom Search

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น

การส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น  มาจากความร่วมมือของทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  และประชาสังคม

บทบาทของรัฐที่สำคัญนั้น คือ รัฐเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน  และรักษากฎระเบียบต่าง ๆ  การสร้างธรรมาภิบาลของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ  มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย  และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการ  เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย

ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐนั้น  จะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล  และหน้าที่  มีระบบความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้  และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน  ยกระดับความชำนาญของภาครัฐให้มีความทันสมัย เป็นต้น

ส่วนบทบาทขององค์การภาคเอกชนและบทบาทของประชาสังคม  ที่มีต่อการสร้างธรรมาภิบาล คือ การรวมตัวกันของสาธารณชนในการต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบ  โดยรัฐควรมีการหามาตรการที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการทำผิดจรรยาบรรณ เป็นต้น

หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ ประกอบ คือ

1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย  กฎ  ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม   เป็นที่ยอมรับของสังคม  ไม่เลือกปฏิบัติ  และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย  มิใช่ตามอำเภอใจ หรือตามอำนาจของตัวบุคคล

2. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน  โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง  ทันการณ์  ตรงไปตรงมา  มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม  มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้  และร่วมคิด  ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งความเห็น  การไต่สวนสาธารณะ   การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติ  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ  และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น

4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ  ตระหนักในหน้าที่  ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม  การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง  และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา   ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง  และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน

5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด  ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  สำนึกในหน้าที่ของตนเอง  มีความซื่อสัตย์สุจริต  จริงใจ  ขยัน  อดทน  มีระเบียบวินัย  และเคารพในสิทธิของผู้อื่น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา