MBA HOLIDAY

Custom Search

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

CSR-DIW

CSR-DIW คือ “ความรับผิดชอบขององค์กรต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมขององค์กรด้วยความโปร่งใส และมีจริยธรรม โดยสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงสุขภาพ และสวัสดิการของสังคม สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง”

หลักการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DIW)

ประกอบด้วย

หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
หลักการความโปร่งใส
หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
หลักการยอมรับถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม
หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล
หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน

หัวข้อหลักที่กลุ่มบริษัทฯ ต้องดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW
มี 7 หัวข้อ ดังนี้

1. การกำกับดูแลองค์กร
คือ “ การตัดสินใจ และการดำเนินการตามผลการตัดสินใจขององค์กรบนพื้นฐานของหลักความรับผิดชอบต่อสังคม โดยขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทขององค์กร ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสังคม ที่องค์กรดำเนินงานอยู่ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น และการเพิ่มชื่อเสียงขององค์กร”


2. สิทธิมนุษยชน
คือ “เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งต้องการมีอิสระ มีความสุข และมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยมุ่งเน้นใน 2 ลักษณะคือ (1) สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการดำรงชีวิตและอิสรภาพ ฯลฯ และ (2) สิทธิที่เกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เช่น สิทธิในการทำงาน สิทธิในการศึกษาและความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม ฯลฯ”


3. การปฏิบัติด้านแรงงาน
คือ “การปฏิบัติด้านแรงงานขององค์กรที่ครอบคลุมถึงนโยบายและข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับพนักงานในองค์กร และผู้ที่ทำงานในนามขององค์กร ตั้งแต่การคัดเลือก การเลื่อนตำแหน่ง ขั้นตอนในการลงโทษและการเรียกร้องความเป็นธรรม การไล่ออก การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะ สุขภาพ ความปลอดภัย และเงื่อนไขอื่นๆ ที่กระทบต่อเงื่อนไขในการทำงาน ทำให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคง การพัฒนาคน และการพัฒนามาตรฐานการดำรงชีวิต”


4. สิ่งแวดล้อม
คือ“การดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดของเสียด้วยวิธีการลดของเสียตามลำดับขั้น มีการดำเนินการในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการป้องกัน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและระบบนิเวศ”


5. การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม
คือ“การคำนึงถึงวิธีการที่องค์กรมีความสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรอื่นโดยการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นธรรม องค์กรสามารถป้องกันการคอร์รัปชั่นและรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยเคารพต่อกฎหมาย ตรวจสอบได้และโปร่งใส ซึ่งองค์กรต้องดำเนินงานอย่างซื่อสัตย์และยุติธรรมในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สิน


6. ประเด็นผู้บริโภค
คือ “การให้รายละเอียดเพื่อให้ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลการตัดสินใจในการซื้อ องค์กรต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการและต้องสอดคล้องกับกฎหมาย สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีกลไกการรับรองและการรับประกัน กำหนดมาตรการในการเก็บรักษาข้อมูลของผู้บริโภค สนับสนุนให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น และให้ข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือก”


7. การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน
คือ “การมีส่วนร่วมทั้งกับบุคคล กลุ่มคนเพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ส่งเสริมด้านการศึกษา และการรักษาวัฒนธรรม การจ้างงานและพัฒนาทักษะ ซึ่งเป็นการช่วยให้คนมีงานที่มั่นคงและดีขึ้น การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเข้าถึงเทคโนโลยีให้แก่ชุมชน การกระจายรายได้ โดยผ่านการให้ค่าจ้าง และการชำระภาษีเงินได้ สนับสนุนให้เกิดการมีสุขภาพที่ดีซึ่งจะช่วยลดภาระต้นทุนด้านสุขภาพของชุมชน และการลงทุนทางด้านทรัพยากรในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาการดำเนินชีวิตของชุมชนในสังคม”

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มบริษัทฯ เป็นไปตามหลักการ CSR-DIW และหัวข้อหลักที่ต้องดำเนินการ จึงได้มีการกำหนด จรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) ขึ้นมารองรับ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่4 พฤษภาคม2552 โดยประกอบด้วย 8 หัวข้อหลักด้วยกันดังนี้

ข้อ 1 การกำกับดูแลองค์กร
ข้อ 2 สิทธิมนุษยชน
ข้อ 3 การปฏิบัติด้านแรงงาน
ข้อ 4 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ 5 สิ่งแวดล้อม
ข้อ 6 การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม
ข้อ 7 ประเด็นผู้บริโภค
ข้อ 8 การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน

และนอกจากการกำหนด จรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) ขึ้นมาดำเนินการแล้ว บริษัทฯ ยังมีการจัดทำ นโยบายการคัดเลือกคู่สัญญาทางธุรกิจ (Business Policy) สำหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติในการคัดเลือกคู่สัญญาในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมภายใต้การแข่งขันที่เสรีบนโลกใบนี้อีกด้วย


ประโยชน์ของการทำ CSR-DIW

เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบันและอนาคต โดยจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม สร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้ รวมทั้งช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนนอกจากนี้แล้ว ยังช่วยให้บริษัทฯ สามารถค้าขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เพิ่มความมั่นคงในอาชีพให้แก่พนักงานทุกคนนั่นเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา