หลังจากที่ได้อ่านวิทยานิพนธ์เรื่อง สถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของวิสาหกิจข้ามชาติที่มีทุนต่างด้าวเข้มข้น : ศึกษากรณีบริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ของคุณจุฬาวุฒิ คณารักษ์ ซึ่งในตอนต้นนั้นก็เป็นการกล่าวถึงประเด็นสถานะบุคคลของแอลจีไทย ทั้งในมิติสถานะทางกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน อันสะท้อนถึงประเด็นสิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลแอลจีตามมาในกรณีต่างๆ แต่โดยส่วนตัวแล้วกระผมมองว่า จุดเด่นของงานเขียนเล่มนี้นั้น คือการเปิดมุมมองใหม่ในทางกฎหมาย กล่าวคือ ในส่วนของบทที่ 3 ผู้เขียนได้กล่าวถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยได้พิจารณาใน 4 ประเด็น กล่าวคือ
- ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิทธิมนุษยชน
- ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
- ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม
- ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ทั้งนี้การศึกษาใน 4 ประเด็นข้างต้น ผู้เขียนยังได้ศึกษาแตกย่อยออกไปโดยมองในมิติเชิงนิติสัมพันธ์ของนิติบุคคล กล่าวคือ ได้แบ่งศึกษาในส่วนของนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน(รัฐกับแอลจี) และนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน(เอกชนกับแอลจีไทย) ซึ่งย่อมสามารถทำให้นักกฎหมายทั่วไปเข้าใจในความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ง่ายขึ้น
การแบ่งประเด็นศึกษาดังกล่าวนี้ ก็มีความแตกต่างกันในบางประเด็น กับการแบ่งประเด็นตามแนวทางแห่ง The United Nations Global Compact ซึ่งได้แบ่งเป็น 10 หลักการย่อย แต่ในส่วนแนวทางหลักก็ยังมี 4 ประเด็น[1] ในส่วนที่เกี่ยวข้องกันกับ
- สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
- มาตรฐานแรงงาน (Labour Standards)
- สิ่งแวดล้อม (Environment)
- การต่อต้านการคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption)
ซึ่ง “คาดว่า”การที่พี่จุฬาวุฒิ นำประเด็นมาตรฐานแรงงานไปรวมไว้กับประเด็นสิทธิมนุษยชนเนื่องจากเป็นประเด็นที่ใกล้เคียงกันทั้งยังเป็นเรื่องที่เกื้อหนุนกันอย่างแยกขาดมิได้ ส่วนประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค อันเกิดขึ้นใหม่นอกเหนือจาก The United Nations Global Compact จึงนับเป็นการเสนอแนวทางขึ้นเพิ่มเติม เพื่อเสนอแนะให้ภาคธุรกิจเล็งเห็นถึงความสำคัญและเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป เพื่อให้เกิดการยอมรับในฐานะความรับผิดชอบต่อ “สังคม” มิใช่เป็นเพียงแค่ประเด็นสิทธิหน้าที่แห่งสัญญา ซึ่งผู้ซื้อผู้ขายมีต่อกันในฐานะคู่สัญญาแห่งนิติสัมพันธ์
ดังนั้นแล้วในบันทึกนี้ กระผมจึงขอนำเสนอในรายละเอียดเพิ่มเติมบางประการ กล่าวคือ คำว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมนี้ ในภาษาอังกฤษก็มีการใช้กันในหลากหลายถ้อยคำ เช่นCorporate Social Responsibility หรือ Corporate Responsibility หรือ Corporate Citizenshipหรือ Responsible Business[2] ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว กระผมเห็นควรให้นำคำนี้เข้าไปด้วยนั่นก็คือ “Social Contribution” (ตรงจุดนี้เห็นควรอย่างไรรบกวนอาจารย์พันธุ์ทิพย์ ท่านผู้รู้ หรือพี่ๆ เพื่อนๆ ช่วยแนะนำอีกครั้งครับผม)
ในส่วนของความหมายนั้นก็มีหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคำว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ : CSR” เช่น[3]
“ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจนั้น หมายถึงการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูเเลรักษาสังคมและสิ่งเเวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน”
“CSR คือการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการดำเนินธุรกิจโดยใช้พื้นฐานของจริยธรรมเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปพร้อมๆ กับกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณภาพชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสภาพสังคมโดยรวม”
“CSR คือ แนวคิดที่บริษัทผสานความห่วงใยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียภายใต้พื้นฐานการกระทำความสมัครใจ”
“CSR คือการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ทั้งในระดับใกล้ (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์กร เช่น ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัว พนักงาน ชุมชนท้องถิ่นที่องค์กรตั้งอยู่) และระดับไกล (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทางอ้อม เช่น คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนโดยทั่วไป) ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข”
โดยที่ความหมายต่างๆข้างต้นนั้น หากพิเคราะห์ในรายละเอียดจะพบว่าล้วนมุ่งเน้นในเรื่องจริยธรรม คุณธรรมของนิติบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำให้บุคคลในทางกฎหมาย ปฏิบัติต่อสังคมอย่างใจจริง มิใช่เพียงการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อสร้างแบรนด์ในธุรกิจตน
ด้วยความซึ่งยังคงเป็นเรื่องในทางจิตสำนึกอยู่นั้น จึงได้มีบางท่าน(Robert Reich)เสนอให้ ภาครัฐ(Government) สร้างระเบียบปฏิบัติสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม ในแนวทางของกฎหมาย[4] ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคมปัจจุบัน เนื่องจากก็ยังคงมีวิสาหกิจข้ามชาติจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ โดยนำเม็ดเงินและผลกำไรส่วนใหญ่กลับสู่รัฐซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนิติบุคคลต่างด้าวเหล่านั้น ไม่ว่าฐานะเจ้าของสัญชาติผู้ถือหุ้น หรือผู้มีนาจควบคุมและบริหารนิติบุคคลเหล่านั้นก็ตาม แต่สิ่งที่รัฐผู้รับการลงทุนได้รับกลับเป็นเพียงผลตอบแทนอันน้อยนิดเมื่อเทียบกับความเสียหายต่อสังคม ซึ่งวิสาหกิจข้ามชาติเหล่านั้นเข้ามาลงทุน เช่นในประเด็นของสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นสิทธิมนุษยชน จริงอยู่แม้กฎหมายไทยจะได้มีการบัญญัติในเชิงมาตรการควบคุมต่างๆไว้แล้วจำนวนมาก อาทิ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั้งหมด พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กฎหมายอาญา รวมไปถึงพระราชบัญญิตส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นต้น ซึ่งย่อมส่งผลให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้หลักกฎหมายได้ หากว่านิติบุคคลต่างด้าวเหล่านั้นมีความรับผิดเกิดขึ้น แต่ก็หาใช่กฎหมายที่ก่อให้เกิดความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม แต่เนื่องจากประเด็นต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องในทางจริยธรรม และคุณธรรม การออกกฎหมายเพื่อบังคับแก่จิตใจของบุคคลในทางกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ลำบากและละเอียดอ่อน ทั้งกฎหมายต่างๆเหล่านั้นรัฐไทยก็ได้มีการบัญญัติไว้ในเบื้องต้นจำนวนหนึ่งแล้ว ดังนั้นการออกมาตรการในเชิงแนะนำข้อมูลทางกฎหมาย อาทิ รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อสังคม เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ อันเป็นแรงกดดันหลักดันให้องค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจในประเด็นนี้อย่างจริงใจ หรืออาจจะเป็นมาตรการซึ่งออกมาในรูปของมติคณะรัฐมนตรี ประกาศกระทรวงหรืออื่นใดก็ตาม เพื่อเสนอและวางแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและชัดเจน
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากนะคะ
แสดงความคิดเห็น