1. การขาย คือการแลกเปลี่ยนสินค้าที่แต่ละฝ่ายมีอยู่กันเองโดยไม่มีตัวกลาง โดยทั้งสองฝ่ายจะทำการเจรจา ต่อรอง และตกลงกันเอง
2. การตลาด คือการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยมีการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าก่อน เพื่อให้สัดส่วนในการแลกเปลี่ยน เกิดการเปลี่ยนแปลงไป และมีการพัฒนาสินค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และมีความสามารถในการแข่งขันกันได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า การตลาดคือกระบวนการการจัดการ โดยดำเนินการในการค้นหา คาดคะเน และตอบสนองความพอใจของผู้บริโภค เพื่อและกับผลกำไร
3. กลยุทธ์การตลาด ทำให้ผู้บริโภคเกิดการบริโภคซ้ำ มีความภักดีในสินค้า โดยการบริโภคสินค้านั้นไปตลอดชีวิต เป็นการพูดถึงอนาคต (CLV : Customer Life Time Value)
4. กลยุทธ์การขาย ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าและเกิดการบริโภคในปัจจุบัน ไม่สนใจว่าในอนาคตลูกค้าจะบริโภคซ้ำ และภักดีต่อสินค้าหรือไม่ เป็นการพูดถึงปัจจุบันเท่านั้น
กระบวนการทางการตลาด เป็นกระบวนการในการประยุกต์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และสามารถจะดำรงอยู่ได้ในตลาด การตลาด เล่นอยู่บนความพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่พร้อมจะจ่ายเงินสำหรับสินค้า โดยไม่สนใจคุณประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน
ปัญหาของการตลาด เกิดขึ้นจากการที่มีการแข่งขัน ผู้ชนะคือผู้ที่สามารถตอบสนองตลาดได้เร็วกว่า (Speed) และมีความยืดหยุ่น (Flexibility)
เป้าหมายของธุรกิจ
1. ต้องอยู่ให้รอด (Survival) โดยการประยุกต์การตลาดเพื่อให้สินค้าอยู่รอดและได้รับความนิยมแต่ไม่มีการเติบโต เพียงแต่รักษาตัวให้อยู่รอดเท่านั้น ถ้าอยู่ไม่ได้ แสดงว่าสินค้าไม่ได้รับความนิยมแล้ว
2. ต้องเติบโต เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ยังไม่ถึงกับเป็นผู้นำ (Winner)
3. ต้องเป็นผู้นำทางการตลาด โดยต้องมีองค์ประกอบคือ
1. เป็นผู้ประกอบการที่มีต้นทุนต่ำ
2. เป็นผู้ประกอบการที่มี Innovation
3. เป็นผู้ประกอบการที่มีความใกล้ชิดกับตลาดและเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นผู้นำทางการตลาดจะมีองค์ประกอบเพียงแค่ 2 ใน 3 เท่านั้น จะมีไม่ครบทั้ง 3 ข้อ
Vender Inventory Management (VIM)
คือการขายสินค้าโดยรู้แนวโน้ม (Trend) ของสินค้า โดยต้องเน้น (Focus) ไปที่สินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง (Special) ซึ่งจะทำให้มีความชำนาญ รู้ความต้องการของลูกค้าและสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้ จะ Win-Win ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
การจัดการตลาด (Marketing Management) แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วนคือ
1. Concept ทางการตลาด, เครื่องมือในการวิจัยทางการตลาด, การวางแผนงานทางการตลาด
2. การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Segmentation), STP (Segmentation, Target, Position)
3. ส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) ในส่วนของการบริหารผลิตภัณฑ์ (Product) และราคา (Price)
4. ส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) ในส่วนของการบริหารช่องทางการจำหน่าย (Place) และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ (Promotion)
วัตถุประสงค์ของบทนี้
1. ระบบเศรษฐกิจใหม่ คืออะไร
2. บทบาทของการตลาดในระบบใหม่
3. แนวความคิดหลักและเครื่องมือทางการตลาดในระบบ
4. บริษัทที่อยู่ใจตลาด จะมีทิศทางดำเนินการในตลาดอย่างไร
5. นักการตลาดและบริษัท จะตอบสนองความท้าทายใหม่นี้ในรูปแบบใด
The New Economy (โลกระบบดิจิตอล) เป็นการเพิ่มอำนาจซื้ออย่างมากให้แก่ผู้บริโภค เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ความหลากหลายของสินค้าและบริการที่สามารถสั่งซื้อได้ง่าย ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสินค้าและบริการได้ การติดต่อสั่งซื้อและการรับของเป็นแบบไร้พรมแดน
การตลาดแบบเก่า คือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ขายไปยังผู้บริโภค (ผลิตสินค้าก่อนแล้วจึงทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อสินค้าภายหลัง)
การตลาดแบบใหม่ คือการค้นหาความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย, คาดคะเนความต้องการในการบริโภค, พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาตอบสนองให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ, เกิดการบริโภคซ้ำ, ภักดีในสินค้าไปจนตลอดชีวิต (ค้นหาความต้องการของผู้บริโภคก่อน แล้วจึงผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค)
ตัวแปรทางการตลาด ประกอบด้วย
1. Demand
2. คู่แข่งขัน
โดยมีองค์ประกอบร่วมคือ กระบวนการ และกลยุทธ์ทางการตลาด
Demand แบ่งออกเป็น
1. ความต้องการที่เป็นลบ (Negative Demand) เช่นการไปพบทันตแพทย์ การกินผักของเด็ก การออกกำลังกายต้องใช้กลยุทธ์คือการสร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญ และเปลี่ยนเป็นความต้องการที่เป็นบวก หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคยอมรับ
2. ความต้องการที่ไม่จำเป็น (No Demand) เช่นเครื่องเตือนไฟไหม้ ต้องใช้กลยุทธ์คือแนะนำให้เห็นประโยชน์
3. ความต้องการที่ไม่มีในตลาด (Latent Demand) เช่น บุหรี่ที่ไม่มีสารก่อมะเร็ง ต้องใช้กลยุทธ์การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
4. ความต้องการที่ตกต่ำ (Declining Demand) เช่น ศีลธรรม มารยาทในการขับรถ ต้องใช้กลยุทธ์การสื่อสารให้เกิดความเข้าใจใหม่ ถึงความจำเป็นที่ต้องมี
5. ความต้องการที่ไม่สม่ำเสมอ (Irregular Demand) เช่น ฤดูกาล โรงพยาบาล ต้องใช้กลยุทธ์ในด้านราคา
6. ความต้องการที่เต็ม (Full Demand) เช่น โทรศัพท์มือถือ ต้องใช้กลยุทธ์การรักษาลูกค้า (Maintain) โดยการแบ่งกลุ่มลูกค้า
7. ความต้องการที่ล้น (Overfull Demand) เช่น น้ำมัน ต้องใช้กลยุทธ์ในการลดการบริโภคลง อาจโดยการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น หรือใช้กลยุทธ์ด้านราคา
8. ความต้องการที่ไม่ต้องการ (Unwholesome Demand) เช่น การเมาไม่ขับ ต้องใช้กลยุทธ์โดยการหยุดการกระทำดังกล่าวให้ได้ อาจโดยการจับ ปรับ หรือออกกฏเกณฑ์เพื่อใช้ในการบังคับ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น