MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

ต้นทุนของสินค้าคงคลัง(Inventory cost)

1.ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ(Ordering cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่สั่งเพราะการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมากหรือน้อยนั้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงเดิม ถ้าเกิดมีการสั่งซื้อบ่อยค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็จะสูงขึ้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ได้แก่ ค่าเอกสารใบสั่งซื้อ ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าขนส่งสินค้า ต่าใช้จ่ายในการตรวจรับของและเอกสาร ค่าธรรมเนียมการนำสินค้าออกจากศุลกากร

2.ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา(Carrying cost)

เป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บและการรักษาสภาพสินค้าคงคลังให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าคงคลังและระยะเวลาที่เก็บสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ได้แก่ ต้นทุนสินค้าคงคลังซึ่งอยู่ในรูปดอกเบี้ยจ่าย ถ้ากู้ยืมเงินจะมีค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ ค่าเช่าคลังสินค้า ค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ชำรุดเสียหายหรือหมดอายุเสื่อมสภาพจากการเก็บนานเกินไป ค่าภาษีและค่าประกันภัย ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาดและพนักงานประจำคลังสินค้า

3.ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาด(Stock out cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือการขาย ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ขาดรายได้ที่ควรได้ กิจการเสียชื่อเสียง กระบวนการผลิตหยุดชะงัก เกิดการวางงานของเครื่องจักรและคนงาน ค่าใช้จ่ายนี้จะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับปริมาณสินค้าคงคลังที่มี เพราะถ้ามีสินค้าคงคลังมากจะไม่เกิดการขาดสินค้า แต่ถ้ามีสินค้าคงคลังน้อยโอกาสที่จะเกิดการขาดมีมากและค่าใช้จ่ายเนื่องจากสิค้าขาดขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่ขาดรวามทั้งระยะเวลาที่สินค้าขาด เช่น ค่าปรับเนื่องจากสินค้าให้ลูกต้าล่าช้า ค่าเสียโอกาสในการขาย

4.ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักร(Setup cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนสายการผลิตของเครื่องจักรจากสินค้าที่ต่างชนิดกัน ซึ่งต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน ทำให้คนงานไม่มีงานทำ สินค้าคงคลังจะถูกเก็บไว้รอกระบวนการผลิตจากเครื่องจักรที่ติดตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรนี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้งซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดขอลล็อตการผลิต ถ้าผลิตเป็นล็อตใหญ่มีการตั้งเครื่องไม่บ่อยนัก ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องก็ต่ำ แต่ปริมาณสะสมของสินค้าคงคลังก็สูง ถ้าผลิตเป็นล็อตเล็กมีการตั้งเครื่องใหม่บ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องก็สูง แต่สินค้าคงคลังก็มีระดับต่ำลงและสามารถส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นั้นจะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำและค่าใช้จ่ายจะต่ำลงถ้าระดับสินค้าคงคลังสูง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา