การประกอบกิจการคลังสินค้า จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านวัตถุ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ สิ่งอำนวยความสะดวกในการประกิจกิจการคลังสินค้า ได้แก่ อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ในการเก็บรักษาและขนถ่ายสินค้า อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น จำเป็นต้องมีที่ตั้งคือ ผืนที่ดินที่มีเนื้อที่อย่างเพียงพอและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม นั้นก็คือ ทำเลที่ตั้ง
กลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้ามี 3 ประเภท ได้แก่
1.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด(Market-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้จัดตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับลูกค้าลำดับสุดท้าย(Final customer) ให้มากที่สุดซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ลูกค้ามีหลายประการ เช่น ค่าขนส่ง รอบเวลาในการสั่งสินค้า ความอ่อนไหวของผลิตภัณฑ์ ขนาดในการสั่งซื้อสินค้า ความเพียงพอของพาหนะในพื้นที่และระดับการให้บริการลูกค้าที่ต้องการ
2.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิต(Production-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้กำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหรือโรงงานให้มากที่สุด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าแบบนี้จะทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่าแบบแรก แต่จะสามารถประหยัดค่าขนส่งวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน ซึ่งการประหยัดการขนส่งสามารถเกิดขึ้นได้ โดยรวบรวมการขนส่งจากแหล่งต่างๆโดยรถประทุก(Truck Load : TL) หรือรถตู้คอนเทนเนอร์(Container Load : CL) ปัจจัยสำคัญในการเลือกทะเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิตประกอบไปด้วย เช่น สภาพของวัตถุดิบเน่าเสียง่ายหรือไม่ จำนวนวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
3.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลาง(Intermediately-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ตรงกลางระหว่างแหล่งผลิตและตลาด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าประเภทนี้ทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่าแบบแรกแต่จะสูงกว่าแบบที่สอง ทำเลที่ตั้งประเภทนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการลูกค้าอยู่ในระดับสูงและมีโรงงานผลิตหลายแห่ง
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น