MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ความสำคัญทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมากนัก จุดนี้เองที่ทำให้ธุรกิจในประเทศไทยของเราสู้ธุรกิจจากกลุ่มประเทศในสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทยของเราต้องมีการพัฒนาทางด้านโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้น ให้สามารถต่อสู้กับตลาดต่างประเทศและสามารถที่จะยืนหยัดในการแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ ดังนั้นกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่ควรรู้ มีดังนี้

1.การให้บริการลูกค้า (Customer Service) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งกิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง
2.การขนส่ง (Transportation Management) การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์หรือสิ่งของต่างๆด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การขนส่ง จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามความต้องการ
3.กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing) กระบวนการในการจัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า
4.การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications) การสื่อสารกับลูกค้าหรือกับผู้ขายเท่านั้นที่องค์กร ได้ให้ความสำคัญ และการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรก็เพื่อให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านโลจิสติกส์
5.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การบริหารสินค้าคงคลังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานอื่น รวมถึงมีผลต่อกำไรขาดทุนขององค์กร
6.การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand forecasting) เป็นการพยากรณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของลูกค้า
7.การเคลื่อนย้ายสินค้า (Material Handling ) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปภายในโรงงานหรือคลังสินค้า
8.การจัดซื้อ (Procurement) การจัดซื้อเป็นกิจกรรมในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ รวมไปถึงการบริหารอุปทานโดยรวมตั้งแต่ การคัดเลือกผู้ขาย การเจรจาต่อรองราคาหรือเงื่อนไข ปริมาณในการสั่งซื้อ และการประเมินคุณ ภาพของผู้ขายสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ
9.บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ในด้านโลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์และหีบห่อนั้นมีไว้เพื่อป้องกันตัวสินค้าจากความเสียหาย และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ
10.การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage) กระบวนการในการวางโครงสร้างคลังสินค้า การออกแบบและจัดวาง การจัดการพื้นที่ภายในคลังสินค้า
11.การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant และ Warehouse Site Selection) กิจกรรรมการเลือกที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงและระยะทางการการขนส่ง
12.การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts และ Services Support) ส่วนหนึ่งของการบริการหลังการขาย โดยมีการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในกรณีที่สินค้าเกิดชำรุด
13.โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) กระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับคืน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่า สินค้าเสียหาย หรือหมดอายุการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา