MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การจัดการคลังสินค้าที่จะช่วยลดต้นทุนภายใต้ระดับการให้บริการที่ลูกค้าต้องการ

1.การเคลื่อนย้าย(Movement)ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยดังนี้

– การรับสินค้า(Receiving)

– การย้ายสินค้าออก(Put away)

– การเลือกหยิบสินค้า(Order picking)

– การส่งสินค้าผ่านคลัง(Cross docking)

– การจัดส่ง(Shipping)

2.การจัดเก็บ(Storage)

– การจัดเก็บชั่วคราว(Temporary storage)

– การจัดเก็บกึ่งถาวร(Semi-permanent storage)

3.การกำหนดงบประมาณ

– การจัดสรรเชิงกลยุทธ์(Strategic decision) เป็นการตัดสินใจในงบประมาณระยะยาว 1-2 ปี เช่น การตัดสินใจงบประมาณในการสร้างคลังสินค้าเองหรือเช่า ทางเลือกใดดีกว่ากัน

– การจัดสรรเชิงปฏิบัติการ(Operational decision) เป็นการตัดสินใจในงบประมาณระยะสั้น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เช่น การตัดสินใจเลือกใช้พื้นที่ในคลังให้ได้ประโยชน์สูงสุดหรือตัดสินใจเลือกเส้นทางขนส่งให้ได้ต้นทุนต่ำสุด

4.การกำหนดทำเลที่ตั้ง(Location Planning) : กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง

– กลยุทธ์ทำเลใกล้ตลาด เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีที่สุด ค่าขนส่งถูกรอบเวลาในการส่งถี่ขึ้น

– กลยุทธ์ทำเลใกล้แหล่งผลิต กลยุทธ์นี้ต้องการให้คลังสินค้าใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือโรงงานให้มากที่สุดเพื่อประหยัดเวลาและค่าขนส่ง

– กลยุทธ์อยู่ระหว่างสองกิจกรรม เป็นการตั้งคลังสินค้าไว้กึ่งกลางระหว่างตลาดและแหล่งผลิต

5.การกำหนดตลาดและจำนวนคลังสินค้า(Size & quantity of warehouse)

ขนาดของคลังสินค้าและจำนวนของคลังสินค้ามีความสัมพันธ์กันเพราะถ้าธุรกิจของเรามีการสร้างคลังสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆขนาดของคลังสินค้าที่ต้องการโดยเฉลี่ยลดลง

6.การจัดวางผังคลังสินค้า(Warehouse layout)

เป็นกระบวนการในการออกแบบว่าจะจัดเก็บสินค้าไว้ที่ใดในคลังสินค้า

7.การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้า

การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้าจะพิจารณาจาก ประเภทของธุรกิจ ประเภทสินค้า ข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์เพราะในการเลือกอุปกรณ์มีผลต่อการสร้างกำไรทางธุรกิจ

8.การควบคุมการปฏิบัติงาน

ต้องพิจารณากิจกรรมต่างๆอย่างละเอียด เก็บข้อมูลในทางคุณภาพของงานและข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งจะวัดจากประสิทธิภาพของงานในแต่ละกิจกรรม

9.การโอนข้อมูล(Information Transfer)

การโอนข้อมูลจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บสินค้า โดยทั่วไปข้อมูลที่ต้องการประกอบด้วย ระดับของสินค้าคงคลัง สถานที่เก็บสินค้าประเภทต่างๆ การรับและการส่งสินค้า ลูกค้า บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

คลังสินค้าสาธารณะ

ตามหลักสากลคลังสินค้าสาธารณะสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 6 รูปแบบ ดังนี้

1.คลังสินค้าทั่วไป(General merchandise warehouse)

เป็นคลังสินค้าที่ออกแบบสำหรับเก็บรักษาสินค้าชนิดใดก็ได้ของผู้ผลิต ผู้ขายส่งและผู้ขายปลีก คลังสินค้าแบบนี้จะเป็นคลังสินค้าแบบธรรมดาที่สุดสำหรับเก็บรักษาสินค้า ซึ่งใช้วิธีเก็บรักษาสินค้าแบบธรรมดาไม่ต้องใช้วิธีการเก็บรักษาแบบพิเศษอะไร ลักษณะโครงสร้างของอาคารเป็นแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป จะเป็นอาคารชั้นเดียวหรือหลายชั้น มีหลังคาและฝาผนังทั้งสี่ด้าน แต่โดยทั่วไปอาคารมาตรฐานจะเป็นแบบชั้นเดียวเพราะสะดวกในการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายสินค้า สร้างด้วยคอนกรีต

2.คลังสินค้าห้องเย็น(Refrigerated or cold-storage warehouse)

คลังสินค้าที่มีอุปกรณ์ทำความเย็น สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ คลังสินค้าแบบนี้ใช้สำหรับเก็บรักษาสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และยา โครงสร้างของคลังสินค้าห้องเย็นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับคลังสินค้าทั่วไป คือ มีหลังคาและฝาผนังทั้งสี่ด้าน แต่จะมีขนาดเล็กกว่าและมีการปิดอย่างมิดชิดเพื่อป้งกันอากาศร้อนจากภายนอก ภายในอาคารจะแบ่งออกเป็นตอนๆแต่ละตอนจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาสินค้าชนิดนั้นๆ

3.คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded warehouse)

คลังสินค้าที่ตั้งขึ้นสำหรับเก็บรักษาสินค้าบางชนิดซึ่งต้องรอการดำเนินการตามระเบียบของศุลกากร เช่น รอการยกเว้นภาษี รอการเสียภาษี รอการตรวจ กรณีที่เป็นสินค้าควบคุมหรือสินค้าต้องห้าม

4.คลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน(Houseshold-goods and furniture warehouse)

คลังสินค้าที่่ทำหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนบุคคลมากกว่าเก็บรักษาสินค้าและมักจะเป็นการเก็บรักษาเพียงชั่วคราวเท่านั้น วิธีการเก็บรักษาอาจจะเก็บในพื้นที่โล่ง คือ มีแต่หลังคา ไม่มีฝาผนังหรือเก็บเฉพาะที่มีระบบรักษาความปลอดภัยหรือเก็บรักษาในภาชนะที่บรรจุเรียบร้อยป้องกันการถูกกระแทก

5.คลังสินค้าสำหรับพืชผลเฉพาะอย่าง(Special-commodity warehouse)

คลังสินค้าที่ใช้สำหรับเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรกรรม เช่น ฝ้ายและขนสัตว์ เป็นต้น โดยทั่วไปแต่ละคลังสินค้าจะเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งชนิดเดียวเท่านั้นและให้บริการเฉพาะสินค้าชนิดนั้นเท่านั้น

6.คลังสินค้าสำหรับสินค้าที่มีลักษณะเป็นกองใหญ่(Bulk storage warehouse)

คลังสินค้าที่ทำการเก็บรักษาสินค้าที่มีจำนวนมากเป็นกองใหญ่ ลักษณะของคลังสินค้าแบบนี้อาจมีถังเพื่อบรรจุสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีที่เก็บรักษาทั้งที่เป็นที่โล่งและมีหลังคา สำหรับสินค้าแห้ง เช่น ถ่านหิน ทรายและเคมีภัณฑ์

กลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้ามี 3 ประเภท

การประกอบกิจการคลังสินค้า จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านวัตถุ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ สิ่งอำนวยความสะดวกในการประกิจกิจการคลังสินค้า ได้แก่ อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ในการเก็บรักษาและขนถ่ายสินค้า อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น จำเป็นต้องมีที่ตั้งคือ ผืนที่ดินที่มีเนื้อที่อย่างเพียงพอและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม นั้นก็คือ ทำเลที่ตั้ง

กลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้ามี 3 ประเภท ได้แก่

1.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด(Market-positioned Strategy)

กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้จัดตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับลูกค้าลำดับสุดท้าย(Final customer) ให้มากที่สุดซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ลูกค้ามีหลายประการ เช่น ค่าขนส่ง รอบเวลาในการสั่งสินค้า ความอ่อนไหวของผลิตภัณฑ์ ขนาดในการสั่งซื้อสินค้า ความเพียงพอของพาหนะในพื้นที่และระดับการให้บริการลูกค้าที่ต้องการ

2.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิต(Production-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้กำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหรือโรงงานให้มากที่สุด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าแบบนี้จะทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่าแบบแรก แต่จะสามารถประหยัดค่าขนส่งวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน ซึ่งการประหยัดการขนส่งสามารถเกิดขึ้นได้ โดยรวบรวมการขนส่งจากแหล่งต่างๆโดยรถประทุก(Truck Load : TL) หรือรถตู้คอนเทนเนอร์(Container Load : CL) ปัจจัยสำคัญในการเลือกทะเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิตประกอบไปด้วย เช่น สภาพของวัตถุดิบเน่าเสียง่ายหรือไม่ จำนวนวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์

3.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลาง(Intermediately-positioned Strategy)

กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ตรงกลางระหว่างแหล่งผลิตและตลาด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าประเภทนี้ทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่าแบบแรกแต่จะสูงกว่าแบบที่สอง ทำเลที่ตั้งประเภทนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการลูกค้าอยู่ในระดับสูงและมีโรงงานผลิตหลายแห่ง

ต้นทุนของสินค้าคงคลัง(Inventory cost)

1.ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ(Ordering cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่สั่งเพราะการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมากหรือน้อยนั้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงเดิม ถ้าเกิดมีการสั่งซื้อบ่อยค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็จะสูงขึ้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ได้แก่ ค่าเอกสารใบสั่งซื้อ ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าขนส่งสินค้า ต่าใช้จ่ายในการตรวจรับของและเอกสาร ค่าธรรมเนียมการนำสินค้าออกจากศุลกากร

2.ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา(Carrying cost)

เป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บและการรักษาสภาพสินค้าคงคลังให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าคงคลังและระยะเวลาที่เก็บสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ได้แก่ ต้นทุนสินค้าคงคลังซึ่งอยู่ในรูปดอกเบี้ยจ่าย ถ้ากู้ยืมเงินจะมีค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ ค่าเช่าคลังสินค้า ค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ชำรุดเสียหายหรือหมดอายุเสื่อมสภาพจากการเก็บนานเกินไป ค่าภาษีและค่าประกันภัย ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาดและพนักงานประจำคลังสินค้า

3.ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาด(Stock out cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือการขาย ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ขาดรายได้ที่ควรได้ กิจการเสียชื่อเสียง กระบวนการผลิตหยุดชะงัก เกิดการวางงานของเครื่องจักรและคนงาน ค่าใช้จ่ายนี้จะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับปริมาณสินค้าคงคลังที่มี เพราะถ้ามีสินค้าคงคลังมากจะไม่เกิดการขาดสินค้า แต่ถ้ามีสินค้าคงคลังน้อยโอกาสที่จะเกิดการขาดมีมากและค่าใช้จ่ายเนื่องจากสิค้าขาดขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่ขาดรวามทั้งระยะเวลาที่สินค้าขาด เช่น ค่าปรับเนื่องจากสินค้าให้ลูกต้าล่าช้า ค่าเสียโอกาสในการขาย

4.ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักร(Setup cost)

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนสายการผลิตของเครื่องจักรจากสินค้าที่ต่างชนิดกัน ซึ่งต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน ทำให้คนงานไม่มีงานทำ สินค้าคงคลังจะถูกเก็บไว้รอกระบวนการผลิตจากเครื่องจักรที่ติดตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรนี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้งซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดขอลล็อตการผลิต ถ้าผลิตเป็นล็อตใหญ่มีการตั้งเครื่องไม่บ่อยนัก ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องก็ต่ำ แต่ปริมาณสะสมของสินค้าคงคลังก็สูง ถ้าผลิตเป็นล็อตเล็กมีการตั้งเครื่องใหม่บ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องก็สูง แต่สินค้าคงคลังก็มีระดับต่ำลงและสามารถส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นั้นจะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำและค่าใช้จ่ายจะต่ำลงถ้าระดับสินค้าคงคลังสูง

ความสำคัญทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ความสำคัญทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมากนัก จุดนี้เองที่ทำให้ธุรกิจในประเทศไทยของเราสู้ธุรกิจจากกลุ่มประเทศในสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทยของเราต้องมีการพัฒนาทางด้านโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้น ให้สามารถต่อสู้กับตลาดต่างประเทศและสามารถที่จะยืนหยัดในการแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ ดังนั้นกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่ควรรู้ มีดังนี้

1.การให้บริการลูกค้า (Customer Service) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งกิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง
2.การขนส่ง (Transportation Management) การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์หรือสิ่งของต่างๆด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การขนส่ง จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามความต้องการ
3.กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing) กระบวนการในการจัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า
4.การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications) การสื่อสารกับลูกค้าหรือกับผู้ขายเท่านั้นที่องค์กร ได้ให้ความสำคัญ และการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรก็เพื่อให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านโลจิสติกส์
5.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การบริหารสินค้าคงคลังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานอื่น รวมถึงมีผลต่อกำไรขาดทุนขององค์กร
6.การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand forecasting) เป็นการพยากรณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของลูกค้า
7.การเคลื่อนย้ายสินค้า (Material Handling ) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปภายในโรงงานหรือคลังสินค้า
8.การจัดซื้อ (Procurement) การจัดซื้อเป็นกิจกรรมในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ รวมไปถึงการบริหารอุปทานโดยรวมตั้งแต่ การคัดเลือกผู้ขาย การเจรจาต่อรองราคาหรือเงื่อนไข ปริมาณในการสั่งซื้อ และการประเมินคุณ ภาพของผู้ขายสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ
9.บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ในด้านโลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์และหีบห่อนั้นมีไว้เพื่อป้องกันตัวสินค้าจากความเสียหาย และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ
10.การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage) กระบวนการในการวางโครงสร้างคลังสินค้า การออกแบบและจัดวาง การจัดการพื้นที่ภายในคลังสินค้า
11.การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant และ Warehouse Site Selection) กิจกรรรมการเลือกที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงและระยะทางการการขนส่ง
12.การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts และ Services Support) ส่วนหนึ่งของการบริการหลังการขาย โดยมีการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในกรณีที่สินค้าเกิดชำรุด
13.โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) กระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับคืน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่า สินค้าเสียหาย หรือหมดอายุการ

การให้บริการลูกค้า(customer Services)

การประกอบธุรกิจนอกจากต้องการเป็นผู้นำทางด้านต้นทุนแล้ว อีกประการหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือลูกค้า เพราะการจัดการโลจิสติกส์นั้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้า(customer Services)เช่นกัน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความภักดีในการให้บริการของธุรกิจเรา เหมือนหลายๆธุรกิจที่ได้เปรียบในจุดนี้ เช่น บริษัทโซนี่ ค่ายรถยนต์ต่างๆในประเทศไทยของเรา เพราะฉะนั้นการตอบสนองลูกค้าในปัจจุบันจะต้องดำเนินการฝ่านหลักการแห่งความถูกต้อง 5R’s คือ

1.Right Quality สินค้าส่งในคุณภาที่ถูกต้อง
2.Right Quantity สินค้าส่งในปริมาณที่ถูกต้อง
3.Right Place สินค้าส่งในสถานที่ที่ถูกต้อง
4.Right Time สินค้าส่งในเวลาที่ถูกต้อง
5.Right Price สินค้าส่งในราคาที่เหมาะสม
การให้บริการลูกค้ามีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณา ดัวต่อไปนี้

บริษัท(Company) ต้องพิจารณาว่าธุรกิจที่ทำอยู่นั้นมีสินค้าและบริการอะไร กลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัท ตลาดและลูกค้าที่ต้องการ มีจุดแข็งและความสามารถอะไรที่แตกต่างไปจากบริษัทอื่นๆ

ลูกค้า(Customer) ลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นมีความต้องการการให้บริการที่แตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ดี ร้านค้าปลึกต้องการการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่สูง ธุรกิจยานยนต์ต้องการการจัดส่งแบบทันเวลา

คู่แข่ง(Competitor) การประกอบธุรกิจทุกธุรกิจต้องเผชิญกับคู่แข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ส่ิงสำคัญก็คือเราต้องประเมินกำลังของตู่แข่งขันได้เพราะจะทำให้เกิดความพอดีในการให้บริการแก่ลูกค้าได้โดยไม่ทำให้เกิดความสูญเสียทางธุรกิจ

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา