MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

Domestic Marketing


Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ
ระยะนี้ถือเป็นระยะเริ่มแรกในการทำธุรกิจ โดยธุรกิจจะเริ่มจากการทำการตลาดภายในประเทศ โดยจะมีการศึกษาตลาด หาข้อมูลทางการตลาด จากข้อมูลภายในประเทศเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ และการวางแผนในการทำธุรกิจ เช่น
- การหาข้อมูลความต้องการจากลูกค้าภายในประเทศ
- แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ
- แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมของตลาดในประเทศ
- การพัฒนาเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศ
ทั้งนี้ การศึกษาคู่แข่งก็ควรศึกษาคู่แข่งจากภายในประเทศ โดยวิเคราะห์คู่แข่งออกมาด้วย เพื่อจะได้รู้ทิศทางการตั้งรับ หรือจู่โจมทางการต่อสู้ ซึ่งคู่แข่งใน Domestic Marketing นี้ คือคู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ซึ่งอาจมาได้จากคู่แข่งในประเทศ หรือคู่แข่งจากตลาดระหว่างประเทศ ที่เข้ามาในท้องถิ่นนั้น ๆ

Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่าตลาดที่ทำอยู่มีความแคบลง หรือคู่แข่งมีมาก หรือพอมองเห็นกำไรจากตลาดอื่น ๆ และอาจจะพบว่าคลังสินค้า มีสินค้าคงเหลืออยู่มากเกินไป เลยต้องหาตลาดใหม่ในการกระจายสินค้าบ้าง
ดังนั้นเลยเป็นที่มาของการส่งออกวิธีนี้ต้องเน้นไปที่การตอบสนองความพอใจของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศให้ได้ การส่งออกนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนน้อย และง่ายที่สุดในการเริ่มต้นทำธุรกิจระหว่างประเทศ

International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศต้องสะดุด เช่น
- ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และอัตราค่าภาษีกรมศุลกากรของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างทางด้านกายภาค และสภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

ปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
- เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
- ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น
วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดระหว่างประเทศ ต้องพยายามปรับกลยุทธ์ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
- เลือกการจ้างผลิต หรือทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศแทนการส่งออก

Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาอีกขั้นจาก International Marketing คือเมื่อรับรู้และเข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค ความคล้ายคลึง หรือความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่งแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถสร้างผลประโยชน์เข้ามาสู่กิจการได้ เช่น
- ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากขนาด Economic of Scale
- ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากการประหยัดทรัพยากรร่วมกัน Economic of scope

Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก
ระยะนี้ เป็นระยะที่มีแนวความคิดที่ได้เปรียบมาก จากเริ่องของทรัพยากร เช่น ต้นทุน และมีการบริการการจัดการแบบรวมอำนาจ คือ มีการตั้งบริษัทแม่ แล้วมีเครือข่ายสาขาขยายออกไปทั่วโลก ระยะนี้ จะให้ความสำคัญกับ
- มองตลาดโลก เป็นตลาดแห่งเดียว
- พยายามลดต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงของแต่ละสาขาทั่วโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
- จะมีการเปลี่ยนแนวความคิด และมีการแลกเปลี่ยน เคลื่อนย้าย ทุน แรงงาน สินค้า เทคโนโลยี ข้ามสาขากันทั่วโลก
- จะมีการพัฒนาโครงสร้างทางการติดต่อสื่อสาร และเครือข่ายทางการตลาดระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก

Gross National Product –GNP- คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
คือ มูลค่าของสินค้า และบริการขั้นสุดท้าย อันเกิดจากการดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือธุรกิจประเทศนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือมูลค่าจากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
GNP สามารถคิดได้อีกแบบหนึ่ง คือ นำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศบวกกับมูลค่าที่ประชาน หรือธุรกิจของประเทศนั้น ๆ สามารถสร้างในต่างประเทศแล้วหักออกด้วยรายได้ของชาวต่างชาติ
Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่น ๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่น ๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และบริการ หรือทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงมาก ๆ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา