MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประเด็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Issue for product development) การพัฒนาระบบที่มีประสิทธิผลและโครงสร้างองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีเทคนิคและรายละเอียดที่สำคัญคือ การออกแบบด้านความแข็งแรง การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า

1. การออกแบบด้านความแข็งแรง การออกแบบด้านความแข็งแรง (robust design) เป็นการออกแบบซึ่งสามารถผลิตสินค้าเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการได้ ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบจะการแปรเปลี่ยนไปเล็กน้อยในการผลิตหรือการประกอบชิ้นส่วนก็ไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ เช่น บริษัท AT&T พัฒนาด้วยการประสมประสานวงจรซึ่งสามารถใช้ในการผลิตจำนวนมากเพื่อสร้างสัญญาณเสียง ถึงแม้ว่าเริ่มแรกของการออกแบบ วงจรจะได้รับการผลิตอย่างดีเลิศ เพื่อป้องกันการแปรเปลี่ยนในสัญญาณ วงจรเช่นนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเนื่องจากสามารถควบคุมคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามหลังจากทดสอบและวิเคราะห์แล้ววิศวกรของ บริษัท AT&T ตระหนักว่าถ้าลดความต้านทานของวงจรลง (เปลี่ยนเล็กน้อย) วงจรจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในการผลิตน้อยมาก แต่ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพได้ 40%

2. การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน (time-based competition) เป็นการแข่งขันพื้นฐานขึ้นอยู่กับเวลาอาจทำด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว และนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด หรือการจัดส่งสินค้าหรือบริการอย่างรวดเร็วด้วยเหตุนี้จะทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จะสั้นลงซึ่งทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่รวดเร็วโดยกระทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้กับผู้พัฒนาอย่างช้า ๆ จะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน บริษัทแรกที่เข้าสู่การผลิต อาจมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับสำหรับการใช้อย่างหลากหลาย เมื่อมีการขายเป็นเวลาหลายปีอาจกลายเป็นมาตรฐาน จึงต้องมีการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างดีหรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเป็นเช่นนั้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดอย่างรวดเร็วอาจเป็นการบริหารที่ดี เพราะว่าการแข่งขันจะอยู่จนกระทั่งเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันหรือปรับปรุงรุ่นใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาจมีราคาสูงพอที่จะมีกำไร

3. การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน ( modular design ) เป็นชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทำให้ง่ายต่อการสับเปลี่ยนหรือแทนที่ (Heizer and Render. 1999 : 204) ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อนำเสนอความยืดหยุ่นสู่ทั้งการผลิตและการตลาด แผนกการผลิตจะพบว่าชิ้นส่วนเล็ก ๆ เหล่านี้ (modular) มีประโยชน์เพราะว่าทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และสับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า ยิ่งกว่านั้นตลาดอาจชอบวิธีการออกแบบเช่นนี้ เพราะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ ลูกค้าอาจผสมและจัดให้เหมาะสมกับรสนิยมของตนเอง ความคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ตั้งแต่อุตสาหกรรมการบินสู่ร้านอาหารแบบจานด่วน (fast-food)

4. การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [computer-aided design (CAD)] เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยพัฒนา ออกแบบ และจัดสร้างเอกสารสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ (Heizer and Render. 1999 : 205) ในปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาด้วยการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มพูนความเร็ว และสามารถประสมประสานการออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อใช้การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) วิศวกรออกแบบจะเริ่มโดยพัฒนาโครงร่างความคิดแล้วผู้ออกแบบ จะใช้การแสดงด้วยภาพ เพื่อสร้างการออกแบบโครงสร้างทางเรขาคณิต ซึ่งการออกแบบด้วยความชำนาญจากระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) จะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถตัดสินใจข้อมูลวิศวกรรมได้หลากหลายชนิด และจะมีการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์และประหยัด ประโยชน์ของการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) มีดังนี้

4.1 ช่วยลดเวลาในการออกแบบ
4.2 จะมีการเก็บข้อมูลเก่าเอาไว้ออกแบบสินค้าใหม่ก็จะสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
4.3 ช่วยให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น เพราะสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ เช่นสามารถวัดความหนาแน่นของเรือได้แม่นยำทำให้อันตรายทีเกิดจากการที่เรือจมมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
4.4 ลดค่าใช้จ่าย

5. การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์คุณค่า ( value analysis ) เป็นการทบทวนความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดการปรับปรุงซึ่งจะนำไปสู่ทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าและประหยัดกว่า เทคนิคและข้อได้เปรียบสำหรับการวิเคราะห์คุณค่าจะเหมือนกับวิศวกรรมคุณค่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในการปฏิบัติการ ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการวิเคราะห์คุณค่าจะเกิดขณะที่ผลิตภัณฑ์กำลังผลิต

6. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า (product-by-value analysis) เป็นรายการของผลิตภัณฑ์การสืบทอดด้วยการสั่งซื้อในผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะรวมถึงการเพิ่มกระแสเงินสด (เช่น เพิ่มการช่วยเหลือโดยการเพิ่มราคาหรือต้นทุนที่ต่ำลง) เพิ่มตลาด (ปรับปรุงคุณภาพ และ/หรือลดต้นทุนหรือราคา) หรือลดต้นทุน (ปรับปรุงกระบวนการผลิต) การวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทราบว่าผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดี ผลิตภัณฑ์ใดล้มเหลวไม่ควรที่จะลงทุนต่อไป เพื่อให้ผู้บริหารนำไปกำหนดทิศทางกลยุทธ์สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา