MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับของอุปสงค์ ทำให้กำลังการผลิตเดิมที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตให้สามารถผลิตได้ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตมี 2 แบบใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

1. การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตในระยะสั้น
เมื่ออุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นชั่วขณะไม่ใช่เป็นการแสดงแนวโน้มที่ชัดเจนในอนาคต เช่น อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพราะเป็นฤดูกาลขาย (เบียร์ขายดีขึ้นในช่วงปลายปี เพราะเข้าสู่เทศกาลเบียร์การ์เด้น และมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ) อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพราะเป็นช่วงส่งเสริมการขาย (ห้องพักโรงแรมระดับห้าดาวเต็มเพราะเป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย) อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพราะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น(มีเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียทำให้ความต้องการเวชภัณฑ์และยุทธ์ปัจจัยเพิ่มขึ้น) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตในระยะสั้นจะเป็นเพียงวิธีการเพิ่มปริมาณการผลิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพิ่มด้านขยายในโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรเพิ่มซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง 5.1 โรงงานผลิตขนมอบซาร่าเจมส์ซึ่งผลิตแยมโรล มีระดับ Effective =90% Utilization=80% โรงงานนี้มีสายการผลิต 3 สาย ซึ่งทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ วันละ 3 กะ กะละ 8 ชั่วโมง แต่ละสายการผลิตผลิตแยมโรลได้ 120 ชิ้นต่อชั่วโมง จงหาอัตราการผลิตที่แท้จริง (rated capacity)

อัตราการผลิตที่แท้จริง = (capacity) (utilization) (effective)

= (120x3x168) (0.8) (0.9)

= 43,546 ชิ้นต่อสัปดาห์

กำลังการผลิตที่สูงสุดที่องค์การมีอยู่นั้นจะถูกใช้ปฏิบัติการผลิตให้ได้ผลผลิตเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับระดับการผลิตที่ตั้งไว้ให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ประหยัดซึ่งคาดหวังเอาไว้ (Utilization) และความมีประสิทธิภาพ (Effective) ของระดับการผลิตที่คาดหวังไว้นั้นบังเกิดผลเพียงใดด้วยการที่องค์การจะกำหนดระดับการผลิตเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อการตัดสินใจหลายประการ ปัจจัยภายในองค์การที่ใช้กำหนดระดับกำลังการผลิตที่สำคัญคือ เงินทุนและแนวนโยบายขององค์การ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา