MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

Domestic Marketing


Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ
ระยะนี้ถือเป็นระยะเริ่มแรกในการทำธุรกิจ โดยธุรกิจจะเริ่มจากการทำการตลาดภายในประเทศ โดยจะมีการศึกษาตลาด หาข้อมูลทางการตลาด จากข้อมูลภายในประเทศเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ และการวางแผนในการทำธุรกิจ เช่น
- การหาข้อมูลความต้องการจากลูกค้าภายในประเทศ
- แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ
- แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมของตลาดในประเทศ
- การพัฒนาเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศ
ทั้งนี้ การศึกษาคู่แข่งก็ควรศึกษาคู่แข่งจากภายในประเทศ โดยวิเคราะห์คู่แข่งออกมาด้วย เพื่อจะได้รู้ทิศทางการตั้งรับ หรือจู่โจมทางการต่อสู้ ซึ่งคู่แข่งใน Domestic Marketing นี้ คือคู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ซึ่งอาจมาได้จากคู่แข่งในประเทศ หรือคู่แข่งจากตลาดระหว่างประเทศ ที่เข้ามาในท้องถิ่นนั้น ๆ

Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่าตลาดที่ทำอยู่มีความแคบลง หรือคู่แข่งมีมาก หรือพอมองเห็นกำไรจากตลาดอื่น ๆ และอาจจะพบว่าคลังสินค้า มีสินค้าคงเหลืออยู่มากเกินไป เลยต้องหาตลาดใหม่ในการกระจายสินค้าบ้าง
ดังนั้นเลยเป็นที่มาของการส่งออกวิธีนี้ต้องเน้นไปที่การตอบสนองความพอใจของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศให้ได้ การส่งออกนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนน้อย และง่ายที่สุดในการเริ่มต้นทำธุรกิจระหว่างประเทศ

International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศต้องสะดุด เช่น
- ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และอัตราค่าภาษีกรมศุลกากรของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างทางด้านกายภาค และสภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

ปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
- เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
- ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น
วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดระหว่างประเทศ ต้องพยายามปรับกลยุทธ์ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
- เลือกการจ้างผลิต หรือทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศแทนการส่งออก

Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาอีกขั้นจาก International Marketing คือเมื่อรับรู้และเข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค ความคล้ายคลึง หรือความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่งแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถสร้างผลประโยชน์เข้ามาสู่กิจการได้ เช่น
- ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากขนาด Economic of Scale
- ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากการประหยัดทรัพยากรร่วมกัน Economic of scope

Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก
ระยะนี้ เป็นระยะที่มีแนวความคิดที่ได้เปรียบมาก จากเริ่องของทรัพยากร เช่น ต้นทุน และมีการบริการการจัดการแบบรวมอำนาจ คือ มีการตั้งบริษัทแม่ แล้วมีเครือข่ายสาขาขยายออกไปทั่วโลก ระยะนี้ จะให้ความสำคัญกับ
- มองตลาดโลก เป็นตลาดแห่งเดียว
- พยายามลดต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงของแต่ละสาขาทั่วโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
- จะมีการเปลี่ยนแนวความคิด และมีการแลกเปลี่ยน เคลื่อนย้าย ทุน แรงงาน สินค้า เทคโนโลยี ข้ามสาขากันทั่วโลก
- จะมีการพัฒนาโครงสร้างทางการติดต่อสื่อสาร และเครือข่ายทางการตลาดระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก

Gross National Product –GNP- คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
คือ มูลค่าของสินค้า และบริการขั้นสุดท้าย อันเกิดจากการดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือธุรกิจประเทศนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือมูลค่าจากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
GNP สามารถคิดได้อีกแบบหนึ่ง คือ นำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศบวกกับมูลค่าที่ประชาน หรือธุรกิจของประเทศนั้น ๆ สามารถสร้างในต่างประเทศแล้วหักออกด้วยรายได้ของชาวต่างชาติ
Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่น ๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่น ๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และบริการ หรือทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงมาก ๆ

การกำหนดระดับกำลังการผลิต


การที่องค์การขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนมากย่อมมีทางเลือกที่จะกำหนดกำลังการผลิตได้หลายทางกว่าบริษัทเล็กที่มีทุนรอนจำกัด แต่บางครั้งองค์การขนาดใหญ่บางแห่งก็มีนโยบายที่จำกัดกำลังการผลิตอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะต้องการนำเงินทุนที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางอื่นซึ่งคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนมากกว่าในทางตรงกันข้ามบริษัทเล็ก ๆ ที่มีเงินทุนดำเนินการไม่มากนักอาจยอมเสี่ยงกู้ยืมเงินมาลงทุนขยายกำลังการผลิตให้ใหญ่ขึ้นไว้ เพราะแนวนโยบายในอนาคตต้องการพึ่งพากำลังการผลิตของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ปัจจัยภายนอกขององค์การที่สำคัญซึ่งจะเป็นสิ่งกำหนดระดับกำลังการผลิตโดยตรงคืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลจากการพยากรณ์ในระยะปานกลางและระยะยาว โดยปกติแล้วการกำหนดกำลังการผลิตจะต้องคำนึงถึงอุปสงค์ในระยะยาวประกอบด้วยเสมอ เพราะการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ไม่ง่ายนัก และทำได้ไม่บ่อยจึงต้องคิดเพื่อไว้ในอนาคตสักระยะหนึ่งด้วย การกำหนดระดับของกำลังการผลิตมีอยู่ 3 ระดับ คือ

1. กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุด
เป็นการกำหนดกำลังการผลิตให้มากพอที่จะรองรับอุปสงค์ในช่วง Peak Period สำหรับบางแห่งที่อาจได้รับคำสั่งซื้อพิเศษเป็นบางครั้งบางคราวอาจต้องมีกำลังการผลิตสำรอง (protective capacity) ไว้ด้วย กำลังการผลิตในระดับนี้จะประกอบด้วยโรงงานขนาดใหญ่ มีเครื่องจักรอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก แต่จะทำการผลิตจริงเป็นจำนวนตามอุปสงค์ในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้น โดยผลิตให้ใกล้เคียงกันจำนวนที่จะขายได้ สต๊อกของคงเหลือจะมีน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การผลิตเป็นจำนวนเท่าที่จะขายได้นี้ทำให้เกิดกำลังการผลิตที่ว่างเปล่าในช่วงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Peak Period
ข้อดีของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุดนี้คือ สามารถรองรับคำสั่งซื้อในปริมาณต่าง ๆ ได้เพียงพอโดยไม่เสียโอกาสในการขายเป็นการลงทุนระยะยาวที่ครอบคลุมถึงความต้องการในอนาคตซึ่งจะประหยัดต้นทุนการก่อสร้างได้ดีกว่าการมาขยายกำลังการผลิตหลายครั้งการผลิตเท่าที่จะขายได้ทำให้ไม่มีสินค้าคงคลังเหลือเก็บ ทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำ ไม่เกิดปัญหาของล้าสมัย เสื่อมสภาพ และหมดอายุ
ข้อเสียของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุดนี้ คือ เป็นการลงทุนที่ได้ใช้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยในช่วง Peak Period เท่านั้น แต่จะเกิดการสูญเปล่าเพราะเครื่องจักรถูกทิ้งให้อยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำงาน นับว่าใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ปัญหาอีกอย่างที่จะเกิดขึ้นคือ ต้องมีการเพิ่มและลดจำนวนคนงานตามปริมาณงาน การเพิ่มคนงานในช่วงที่มีงานมากจะมีต้นทุนการอบรมคนงานใหม่ การลดคนงานในช่วงที่มีงานน้อยจะมีต้นทุนการชดเชยเมื่อให้ออกจากงาน ขวัญและกำลังใจของคนงานไม่ดี เพราะงานไม่มั่นคง ส่งผลให้หาแรงงานที่ดีมีความสามารถและตั้งใจทำงานได้ยาก

2.กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ย
เป็นการกำหนดกำลังการผลิตในระดับปานกลางเฉลี่ยอุปสงค์ในช่วงสูงและต่ำ กำลังการผลิตในระดับนี้จะประกอบด้วยโรงงานขนาดกลาง มีเครื่องจักรอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกพอสมควรที่จะทำการผลิตในปริมาณอุปสงค์เฉลี่ยได้ โดยทำการผลิตอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตลอดเวลา ช่วงใดอุปสงค์ต่ำกว่าปริมาณการผลิตก็เก็บของที่เหลือจากการขายเข้าคลังสินค้า ช่วงใดอุปสงค์สูงกว่าปริมาณการผลิตก็จะนำสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ออกมาขายสมทบด้วย คนงานและเครื่องจักรจะทำงานสม่ำเสมอในปริมาณเท่า ๆ กันทุกช่วงเวลา
ข้อดีของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ยคือ เป็นการลงทุนที่ไม่ใช้เงินจำนวนมากเกินไป และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ถูกใช้อย่างคุ้มค่าไม่มีเหลือเฟือเกินความจำเป็น คนงานและเครื่องจักรที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การวางแผนการผลิตตลอดจนการบำรุงรักษาทำได้สะดวกขึ้น ขวัญและกำลังใจของคนงานดีเพราะงานมีความมั่นคงและมีปริมาณสม่ำเสมอ

ข้อเสียของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ยคือ ต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังที่เหลือจากการขายไว้ขายในช่วงขายดี ทำให้ต้องมีต้นทุนสินค้าคงคลัง เกิดการจมของเงินทุนและเสียโอกาสในการนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ต้องมีระบบการจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้าซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง

3. กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด
เป็นการกำหนดกำลังการผลิตในระดับต่ำเท่ากับอุปสงค์ในระดับต่ำสุดประกอบด้วยโรงงานขนาดเล็กมีเครื่องจักรอุปกรณ์ค่อนข้างจำกัดเพียงพอในการรองรับอุปสงค์ในช่วงที่ขายได้น้อย ทำให้เกิดสภาวะของไม่พอขายบ่อยครั้งจนต้องใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในขั้น Design Capacity ซึ่งจะต้องใช้เครื่องจักรเต็มที่โดยไม่หยุดพักบุรงรักษา คนงานต้องทำงานล่วงเวลา เพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เพียงพอกับอุปสงค์ในแต่ละช่วง
ข้อดีของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด คือ ลงทุนไม่มาก มีความเสี่ยงในการขาดทุนต่ำ เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มของอุปสงค์ในอนาคตไม่แน่นอน
ข้อเสียของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด คือ มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่สูงเกินควรอันเนื่องจากการจ่ายค่าแรงล่วงเวลาที่สูงกว่าค่าแรงปกติ การทำงานล่วงเวลาทำให้คนงานอ่อนล้าขาดประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้เครื่องจักรโดยไม่หยุดซ่อมบำรุงอาจเกิดปัญหาเครื่องจักรเสียจนเกิดค่าซ่อมแซมจำนวนสูง อายุการใช้งานของเครื่องจักรก็สั้นลง การมีกำลังการผลิตในระดับนี้ทำให้ต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มในอนาคตซึ่งไม่ประหยัดเท่าการสร้างให้รองรับอุปสงค์ระยะยาวในครั้งเดียว

การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับของอุปสงค์ ทำให้กำลังการผลิตเดิมที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตให้สามารถผลิตได้ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตมี 2 แบบใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

1. การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตในระยะสั้น
เมื่ออุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นชั่วขณะไม่ใช่เป็นการแสดงแนวโน้มที่ชัดเจนในอนาคต เช่น อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพราะเป็นฤดูกาลขาย (เบียร์ขายดีขึ้นในช่วงปลายปี เพราะเข้าสู่เทศกาลเบียร์การ์เด้น และมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ) อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพราะเป็นช่วงส่งเสริมการขาย (ห้องพักโรงแรมระดับห้าดาวเต็มเพราะเป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย) อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพราะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น(มีเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียทำให้ความต้องการเวชภัณฑ์และยุทธ์ปัจจัยเพิ่มขึ้น) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตในระยะสั้นจะเป็นเพียงวิธีการเพิ่มปริมาณการผลิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพิ่มด้านขยายในโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรเพิ่มซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง 5.1 โรงงานผลิตขนมอบซาร่าเจมส์ซึ่งผลิตแยมโรล มีระดับ Effective =90% Utilization=80% โรงงานนี้มีสายการผลิต 3 สาย ซึ่งทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ วันละ 3 กะ กะละ 8 ชั่วโมง แต่ละสายการผลิตผลิตแยมโรลได้ 120 ชิ้นต่อชั่วโมง จงหาอัตราการผลิตที่แท้จริง (rated capacity)

อัตราการผลิตที่แท้จริง = (capacity) (utilization) (effective)

= (120x3x168) (0.8) (0.9)

= 43,546 ชิ้นต่อสัปดาห์

กำลังการผลิตที่สูงสุดที่องค์การมีอยู่นั้นจะถูกใช้ปฏิบัติการผลิตให้ได้ผลผลิตเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับระดับการผลิตที่ตั้งไว้ให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ประหยัดซึ่งคาดหวังเอาไว้ (Utilization) และความมีประสิทธิภาพ (Effective) ของระดับการผลิตที่คาดหวังไว้นั้นบังเกิดผลเพียงใดด้วยการที่องค์การจะกำหนดระดับการผลิตเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อการตัดสินใจหลายประการ ปัจจัยภายในองค์การที่ใช้กำหนดระดับกำลังการผลิตที่สำคัญคือ เงินทุนและแนวนโยบายขององค์การ

การกำหนดระดับกำลังการผลิต

การที่องค์การขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนมากย่อมมีทางเลือกที่จะกำหนดกำลังการผลิตได้หลายทางกว่าบริษัทเล็กที่มีทุนรอนจำกัด แต่บางครั้งองค์การขนาดใหญ่บางแห่งก็มีนโยบายที่จำกัดกำลังการผลิตอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะต้องการนำเงินทุนที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางอื่นซึ่งคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนมากกว่าในทางตรงกันข้ามบริษัทเล็ก ๆ ที่มีเงินทุนดำเนินการไม่มากนักอาจยอมเสี่ยงกู้ยืมเงินมาลงทุนขยายกำลังการผลิตให้ใหญ่ขึ้นไว้ เพราะแนวนโยบายในอนาคตต้องการพึ่งพากำลังการผลิตของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ปัจจัยภายนอกขององค์การที่สำคัญซึ่งจะเป็นสิ่งกำหนดระดับกำลังการผลิตโดยตรงคืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลจากการพยากรณ์ในระยะปานกลางและระยะยาว โดยปกติแล้วการกำหนดกำลังการผลิตจะต้องคำนึงถึงอุปสงค์ในระยะยาวประกอบด้วยเสมอ เพราะการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ไม่ง่ายนัก และทำได้ไม่บ่อยจึงต้องคิดเพื่อไว้ในอนาคตสักระยะหนึ่งด้วย การกำหนดระดับของกำลังการผลิตมีอยู่ 3 ระดับ คือ

1. กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุด
เป็นการกำหนดกำลังการผลิตให้มากพอที่จะรองรับอุปสงค์ในช่วง Peak Period สำหรับบางแห่งที่อาจได้รับคำสั่งซื้อพิเศษเป็นบางครั้งบางคราวอาจต้องมีกำลังการผลิตสำรอง (protective capacity) ไว้ด้วย กำลังการผลิตในระดับนี้จะประกอบด้วยโรงงานขนาดใหญ่ มีเครื่องจักรอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก แต่จะทำการผลิตจริงเป็นจำนวนตามอุปสงค์ในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้น โดยผลิตให้ใกล้เคียงกันจำนวนที่จะขายได้ สต๊อกของคงเหลือจะมีน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การผลิตเป็นจำนวนเท่าที่จะขายได้นี้ทำให้เกิดกำลังการผลิตที่ว่างเปล่าในช่วงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Peak Period
ข้อดีของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุดนี้คือ สามารถรองรับคำสั่งซื้อในปริมาณต่าง ๆ ได้เพียงพอโดยไม่เสียโอกาสในการขายเป็นการลงทุนระยะยาวที่ครอบคลุมถึงความต้องการในอนาคตซึ่งจะประหยัดต้นทุนการก่อสร้างได้ดีกว่าการมาขยายกำลังการผลิตหลายครั้งการผลิตเท่าที่จะขายได้ทำให้ไม่มีสินค้าคงคลังเหลือเก็บ ทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำ ไม่เกิดปัญหาของล้าสมัย เสื่อมสภาพ และหมดอายุ
ข้อเสียของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุดนี้ คือ เป็นการลงทุนที่ได้ใช้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยในช่วง Peak Period เท่านั้น แต่จะเกิดการสูญเปล่าเพราะเครื่องจักรถูกทิ้งให้อยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำงาน นับว่าใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ปัญหาอีกอย่างที่จะเกิดขึ้นคือ ต้องมีการเพิ่มและลดจำนวนคนงานตามปริมาณงาน การเพิ่มคนงานในช่วงที่มีงานมากจะมีต้นทุนการอบรมคนงานใหม่ การลดคนงานในช่วงที่มีงานน้อยจะมีต้นทุนการชดเชยเมื่อให้ออกจากงาน ขวัญและกำลังใจของคนงานไม่ดี เพราะงานไม่มั่นคง ส่งผลให้หาแรงงานที่ดีมีความสามารถและตั้งใจทำงานได้ยาก

2.กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ย
เป็นการกำหนดกำลังการผลิตในระดับปานกลางเฉลี่ยอุปสงค์ในช่วงสูงและต่ำ กำลังการผลิตในระดับนี้จะประกอบด้วยโรงงานขนาดกลาง มีเครื่องจักรอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกพอสมควรที่จะทำการผลิตในปริมาณอุปสงค์เฉลี่ยได้ โดยทำการผลิตอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตลอดเวลา ช่วงใดอุปสงค์ต่ำกว่าปริมาณการผลิตก็เก็บของที่เหลือจากการขายเข้าคลังสินค้า ช่วงใดอุปสงค์สูงกว่าปริมาณการผลิตก็จะนำสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ออกมาขายสมทบด้วย คนงานและเครื่องจักรจะทำงานสม่ำเสมอในปริมาณเท่า ๆ กันทุกช่วงเวลา
ข้อดีของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ยคือ เป็นการลงทุนที่ไม่ใช้เงินจำนวนมากเกินไป และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ถูกใช้อย่างคุ้มค่าไม่มีเหลือเฟือเกินความจำเป็น คนงานและเครื่องจักรที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การวางแผนการผลิตตลอดจนการบำรุงรักษาทำได้สะดวกขึ้น ขวัญและกำลังใจของคนงานดีเพราะงานมีความมั่นคงและมีปริมาณสม่ำเสมอ

ข้อเสียของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ยคือ ต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังที่เหลือจากการขายไว้ขายในช่วงขายดี ทำให้ต้องมีต้นทุนสินค้าคงคลัง เกิดการจมของเงินทุนและเสียโอกาสในการนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ต้องมีระบบการจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้าซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง

3. กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด
เป็นการกำหนดกำลังการผลิตในระดับต่ำเท่ากับอุปสงค์ในระดับต่ำสุดประกอบด้วยโรงงานขนาดเล็กมีเครื่องจักรอุปกรณ์ค่อนข้างจำกัดเพียงพอในการรองรับอุปสงค์ในช่วงที่ขายได้น้อย ทำให้เกิดสภาวะของไม่พอขายบ่อยครั้งจนต้องใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในขั้น Design Capacity ซึ่งจะต้องใช้เครื่องจักรเต็มที่โดยไม่หยุดพักบุรงรักษา คนงานต้องทำงานล่วงเวลา เพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เพียงพอกับอุปสงค์ในแต่ละช่วง
ข้อดีของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด คือ ลงทุนไม่มาก มีความเสี่ยงในการขาดทุนต่ำ เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มของอุปสงค์ในอนาคตไม่แน่นอน
ข้อเสียของการมีกำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด คือ มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่สูงเกินควรอันเนื่องจากการจ่ายค่าแรงล่วงเวลาที่สูงกว่าค่าแรงปกติ การทำงานล่วงเวลาทำให้คนงานอ่อนล้าขาดประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้เครื่องจักรโดยไม่หยุดซ่อมบำรุงอาจเกิดปัญหาเครื่องจักรเสียจนเกิดค่าซ่อมแซมจำนวนสูง อายุการใช้งานของเครื่องจักรก็สั้นลง การมีกำลังการผลิตในระดับนี้ทำให้ต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มในอนาคตซึ่งไม่ประหยัดเท่าการสร้างให้รองรับอุปสงค์ระยะยาวในครั้งเดียว

การตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่

ในการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่และการออกแบบระบบการผลิตนั้นมีขั้นตอนต่างๆตามลำดับดังนี้

1. การค้นหาและริเริ่มความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ความคิดเกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 ทางคือ
1.1 ภายในองค์กร ได้แก่หน่วยงานต่างๆในองค์กร คือฝ่ายดำเนินงาน ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคล และฝ่ายวิศวกร
1.2 ภายนอกองค์กร ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานโฆษณา หรือจากลูกค้า จากกฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลก็ได้

ขั้นตอนการริเริ่มความคิดนี้ จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัย 3 อย่างคือ
(1) ลักษณะการดำเนินงานของกิจการ
(2) ความเป็นผู้นำด้านการแข่งขันที่สำคัญของกิจการนั้น หรือความได้เปรียบจากการแข่งขันของกิจการ
(3) จุดมุ่งหมายของกิจการ

ดังนั้น ในการผลิตหลอดไฟฟ้าของกิจการ แนวความคิดในการผลิตจะเริ่มมาจากฝ่ายวิศวกรหรือฝ่ายบริหารก่อน โดยที่กิจการอาจตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าที่มีความเชื่อถือสูง ประหยัดไฟ ฝ่ายวิจัยและพัฒนารวมทั้งฝ่ายการตลาดหาแนวทางเพื่อจะเสริมความคิดให้ได้หลอดไฟที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

2. ขั้นกลั่นกรองความคิด กิจการจะมีคำถามเกี่ยวกับหลอดไฟเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และเพื่อสกัดความคิดที่ไม่ดีทิ้งไป เก็บแต่ความคิดที่ดีของหลอดไฟเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป แนวความคิดต่างๆ นี้ได้แก่

2.1 ได้ระบุถึงปัญหาของหลอดไฟหรือยัง?
2.2 มีผู้ผลิตไว้แล้วหรือยัง?
2.3 วัตถุดิบที่ใช้เป็นอย่างไร? มีวัตถุดิบอื่นๆใช้ทดแทนได้หรือไม่?
2.4 รูปร่างดีหรือยัง? การทำงานเป็นอย่างไร?

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประเด็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Issue for product development) การพัฒนาระบบที่มีประสิทธิผลและโครงสร้างองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีเทคนิคและรายละเอียดที่สำคัญคือ การออกแบบด้านความแข็งแรง การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า

1. การออกแบบด้านความแข็งแรง การออกแบบด้านความแข็งแรง (robust design) เป็นการออกแบบซึ่งสามารถผลิตสินค้าเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการได้ ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบจะการแปรเปลี่ยนไปเล็กน้อยในการผลิตหรือการประกอบชิ้นส่วนก็ไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ เช่น บริษัท AT&T พัฒนาด้วยการประสมประสานวงจรซึ่งสามารถใช้ในการผลิตจำนวนมากเพื่อสร้างสัญญาณเสียง ถึงแม้ว่าเริ่มแรกของการออกแบบ วงจรจะได้รับการผลิตอย่างดีเลิศ เพื่อป้องกันการแปรเปลี่ยนในสัญญาณ วงจรเช่นนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเนื่องจากสามารถควบคุมคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามหลังจากทดสอบและวิเคราะห์แล้ววิศวกรของ บริษัท AT&T ตระหนักว่าถ้าลดความต้านทานของวงจรลง (เปลี่ยนเล็กน้อย) วงจรจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในการผลิตน้อยมาก แต่ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพได้ 40%

2. การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน (time-based competition) เป็นการแข่งขันพื้นฐานขึ้นอยู่กับเวลาอาจทำด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว และนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด หรือการจัดส่งสินค้าหรือบริการอย่างรวดเร็วด้วยเหตุนี้จะทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จะสั้นลงซึ่งทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่รวดเร็วโดยกระทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้กับผู้พัฒนาอย่างช้า ๆ จะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน บริษัทแรกที่เข้าสู่การผลิต อาจมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับสำหรับการใช้อย่างหลากหลาย เมื่อมีการขายเป็นเวลาหลายปีอาจกลายเป็นมาตรฐาน จึงต้องมีการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างดีหรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเป็นเช่นนั้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดอย่างรวดเร็วอาจเป็นการบริหารที่ดี เพราะว่าการแข่งขันจะอยู่จนกระทั่งเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันหรือปรับปรุงรุ่นใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาจมีราคาสูงพอที่จะมีกำไร

3. การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน ( modular design ) เป็นชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทำให้ง่ายต่อการสับเปลี่ยนหรือแทนที่ (Heizer and Render. 1999 : 204) ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อนำเสนอความยืดหยุ่นสู่ทั้งการผลิตและการตลาด แผนกการผลิตจะพบว่าชิ้นส่วนเล็ก ๆ เหล่านี้ (modular) มีประโยชน์เพราะว่าทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และสับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า ยิ่งกว่านั้นตลาดอาจชอบวิธีการออกแบบเช่นนี้ เพราะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ ลูกค้าอาจผสมและจัดให้เหมาะสมกับรสนิยมของตนเอง ความคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ตั้งแต่อุตสาหกรรมการบินสู่ร้านอาหารแบบจานด่วน (fast-food)

4. การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย [computer-aided design (CAD)] เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยพัฒนา ออกแบบ และจัดสร้างเอกสารสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ (Heizer and Render. 1999 : 205) ในปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาด้วยการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มพูนความเร็ว และสามารถประสมประสานการออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อใช้การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) วิศวกรออกแบบจะเริ่มโดยพัฒนาโครงร่างความคิดแล้วผู้ออกแบบ จะใช้การแสดงด้วยภาพ เพื่อสร้างการออกแบบโครงสร้างทางเรขาคณิต ซึ่งการออกแบบด้วยความชำนาญจากระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) จะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถตัดสินใจข้อมูลวิศวกรรมได้หลากหลายชนิด และจะมีการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์และประหยัด ประโยชน์ของการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) มีดังนี้

4.1 ช่วยลดเวลาในการออกแบบ
4.2 จะมีการเก็บข้อมูลเก่าเอาไว้ออกแบบสินค้าใหม่ก็จะสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
4.3 ช่วยให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น เพราะสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ เช่นสามารถวัดความหนาแน่นของเรือได้แม่นยำทำให้อันตรายทีเกิดจากการที่เรือจมมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
4.4 ลดค่าใช้จ่าย

5. การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์คุณค่า ( value analysis ) เป็นการทบทวนความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดการปรับปรุงซึ่งจะนำไปสู่ทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าและประหยัดกว่า เทคนิคและข้อได้เปรียบสำหรับการวิเคราะห์คุณค่าจะเหมือนกับวิศวกรรมคุณค่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในการปฏิบัติการ ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการวิเคราะห์คุณค่าจะเกิดขณะที่ผลิตภัณฑ์กำลังผลิต

6. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า (product-by-value analysis) เป็นรายการของผลิตภัณฑ์การสืบทอดด้วยการสั่งซื้อในผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะรวมถึงการเพิ่มกระแสเงินสด (เช่น เพิ่มการช่วยเหลือโดยการเพิ่มราคาหรือต้นทุนที่ต่ำลง) เพิ่มตลาด (ปรับปรุงคุณภาพ และ/หรือลดต้นทุนหรือราคา) หรือลดต้นทุน (ปรับปรุงกระบวนการผลิต) การวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทราบว่าผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดี ผลิตภัณฑ์ใดล้มเหลวไม่ควรที่จะลงทุนต่อไป เพื่อให้ผู้บริหารนำไปกำหนดทิศทางกลยุทธ์สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา