MBA HOLIDAY

Custom Search

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หัวใจสำคัญที่ต้องทราบMarketing Plan

What – ขายอะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจใดบ้าง•
Demand – ในตลาดมี demand ไหม Demand นั้นจะอยู่อีกนานไหม»Demand นั้นเป็น Need หรือ
ถ้าเป็น WANT ให้ทำให้ WANT กลายเป็น NEED ได้ไหม

Target market – คิดว่าจะขายใคร รู้เพื่อไว้ทำ STP

STP–การแบ่งส่วนตลาด
S => เลือกกลุ่ม พร้อมเหตุผล
T=> การกำหนดตลาดเป้าหมาย บอกให้ชัดเจน
P=> การกำหนดตำแหน่งสินค้า ขายอะไร ขายอย่างไร

พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) -6 W 1 H
–Who ใคร Occupants กลุ่มเป้าหมาย
–What ซื้ออะไร Objects สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ
–When ซื้อเมื่อไร Occasion โอกาสการซื้อ
–Where ซื้อที่ไหน Outlet แหล่งหรือช่องทางที่ทำการซื้อ
–Why ทำไมจึงซื้อ Objective วัตถุประสงค์
–Who participate ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อ Organization บทบาทของกลุ่มต่าง ๆ
–How ซื้ออย่างไร Operation ขั้นตอนการซื้อ

•SWOT Analysis
–Strength ทำไงให้คงอยู่ –Weakness แก้ไขอย่างไร เพื่อหาโอกาส
–Opportunities ใช้จุดแข็งก่อโอกาสได้อย่างไร –Threats ใช้จุดแข็งลดผลกระทบได้อย่างไร
แก้ไขให้หมดไปได้อย่างไร

Marketing Mixs Program (4P’s) เลือกกลยุทธ์พร้อมเหตุผล

4P’S 4C’S

–ผลิตภัณฑ์ จะใช้กลยุทธ์ใด พร้อมเหตุผล
–ราคา Cost
–ช่องทางการจัดจำหน่าย Differentiation Focus
–การส่งเสริมการตลาด IMC
Summary of Marketing Management
จุดเริ่มต้นของการตลาดอยู่ที่การศึกษาความต้องการของลูกค้า แล้วเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าในสายตาของลูกค้า เพื่อสนองความต้องการนั้น โดยการกำหนดราคาสินค้าแล้วนำออกสู่ตลาด เมื่อนำสินค้าเข้าสู่ตลาดแล้ว ถ้าลูกค้ายังไม่ทราบว่าสินค้านั้นอยู่ในร้าน การแลกเปลี่ยนก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงต้องโฆษณาและส่งเสริมการตลาด เพื่อติดต่อสื่อสารให้ลูกค้าได้รู้จักและเกิดความต้องการของตัวผลิตภัณฑ์ เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจ



1) ระบบการตลาด (Marketing Management)
ประกอบด้วยสถาบันที่ทำหน้าที่สนองความต้องการของลูกค้า และดำเนินการเคลื่อนย้ายคุณค่าของสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปยังลูกค้าหรือตลาด
Needs เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ความต้องการในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (ปัจจัย 4)
Wants เป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะได้รับการตอบสนองความพอใจของบุคคล เป็นความต้องการที่ลึกซึ้งกว่า Needs
Demands ความต้องการซื้อ เป็นความต้องการผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง (Needs or Wants) ซึ่งต้องมีความสามารถ (Ability to Purchase) และความเต็มใจที่จะซื้อ (Willingness to Buy)
Products คือ สิ่งที่เสนอแก่บุคคล เพื่อสนองความจำเป็นหรือความต้องการ และสร้างความพอใจ (Satisfy) ให้กับผู้บริโภค
Value หมายถึง คุณค่าของสินค้าหรือบริการ เพื่อจูงใจให้เกิดการแลกเปลี่ยน
Cost ของลูกค้าในที่นี้หมายถึงราคา (Price) หรือหมายถึง มูลค่าของสินค้าในรูปของตัวเงิน
Satisfaction ความพึงพอใจของลูกค้า เกิดจากการได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงกว่าต้นทุนที่เราต้องจ่ายไป
Exchange เป็นกิจกรรมที่ได้รับผลิตภัณฑ์จากบุคคลหนึ่ง โดยการเสนอสิ่งที่มีค่าเป็นการตอบแทน
Transactions (การติดต่อธุรกิจ) เป็นการทำการค้าระหว่างสองฝ่าย มีลักษณะ (1) ต้องมีสองสิ่งที่มีคุณค่า (2) มีการตกลงภายใต้เงื่อนไข (3) มีระยะเวลาของการตกลง (4) มีสถานที่ของการตกลง (มีความเป็นระบบมากกว่า Exchange)
Relationship เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มต่างๆ โดยต้องสามารถสร้างกำไรได้ด้วย
Markets หมายถึง ผู้บริโภคที่มี Demand (Willing to buy – Ability to Buy)

ระดับของความต้องการ และงานทางการตลาด (Demand Stages and Marketing Tasks)
Negative Demand (ไม่พอใจสินค้า) ผู้บริโภคอาจจะไม่ชอบสินค้า หรือมีทัศนะคติที่ไม่ดีต่อสินค้าหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง เช่น อาชีพการขายประกัน นักการตลาดต้องพยายามหาสาเหตุและทางแก้ไข
No Demand (ไม่มี Demand) ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้านั้นไม่มีความจำเป็น หรือไม่มีความแตกต่าง นักการตลาดต้องพยายามเชื่อมต่อประโยชน์ที่จะได้จากสินค้า กับความต้องการและความสนใจของผู้บริโภค
Latent Demand (ความต้องการที่ซ่อนเร้น) ผู้บริโภคไม่สามารถหาสินค้าตอบสนองความต้องการได้ในขณะนี้ นักการตลาดต้องวัดขนาดของตลาดที่มีศักยภาพ และพัฒนาสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดขาดความพึงใจ
Declining Demand (ความต้องการที่ลดลง) ต้องหาสาเหตุที่ความต้องการนั้นลดลง และหาวิธีกระตุ้นให้ความต้องการนั้นกลับคืนมา
Irregular Demand (ความต้องการที่ไม่สม่ำเสมอ) เป็นความต้องการที่ไม่มีความสม่ำเสมอ เช่น ความต้องการตามฤดูกาล ต้องใช้ Synchromarketing เพื่อหาหนทางกระตุ้นให้เกิดความต้องการทีสม่ำเสมอ โดยการใช้ราคา การส่งเสริมการตลาด และการกระตุ้นด้วยวิธีอื่น
Full Demand (ความต้องการซื้อที่มีเต็มที่) นักการตลาดต้องพยายามรักษาระดับความต้องการนี้เอาไว้ ในขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงความชอบของลูกค้า และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาคุณภาพ และวัดระดับความพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
Overfull Demand (ความต้องการที่มากเกินไป) บางครั้งองค์กรจะเผชิญหน้ากับระดับความต้องการที่สูงเกินกว่าจะสามารถตอบสนองได้ นักการตลาดต้องใช้ Demarketing โดยการหาทางลดความต้องการของผู้บริโภคลงชั่วคราว (หรือถาวร) อาจโดยวิธีการเพิ่มราคา ลดการส่งเสริมการขาย (เป็นการลดความต้องการลงชั่วคราวหรือถาวร ไม่ใช่การทำลาย)
Destroy Demand (ความต้องการที่เป็นโทษต่อผู้ซื้อ) เป็นสินค้าที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของสังคม องค์กรต่างๆ พยายามลดระดับการบริโภคสินค้าเหล่านี้ เช่น หนังโป๊ ยาเสพติด

ตลาด (Market)
หมายถึง บุคคลหรือองค์การที่มีความต้องการที่จะได้รับการตอบสนอง (Need or Want) มีเงินที่จะทำการซื้อหรือจ่าย (Money to Spend + Authority to Buy หรือ Ability to buy) และมีความเต็มใจที่จะซื้อ (Willingness to Buy) แบ่งเป็น
ตลาดผู้บริโภค (Consumer Market) หมายถึง ผู้ซื้อ (ผู้บริโภคหรือครัวเรือน) ที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อการใช้สอยส่วนตัว หรือใช้ภายในครอบครัว ซึ่งถือเป็นการบริโภคขั้นสุดท้าย ผู้อยู่ในตลาด คือ ผู้บริโภค
ตลาดองค์กร (Organization Market) หมายถึง บุคคลหรือองค์การซึ่งซื้อสินค้าหรือบริการไปเพื่อการผลิตสินค้าการให้บริการ การดำเนินงานของกิจการ และเพื่อการขายต่อ หรืออาจเรียกว่า ตลาดธุรกิจ (Business market) โดยตลาดองค์การ ประกอบด้วย
1.1 ตลาดอุตสาหกรรม (Industrial Market) หรือ ตลาดผู้ผลิต (Producer Market) หมายถึง1.2 บุคคลหรืออง1.3 ค์การที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อการผลิตสินค้า การบริการหรือการดำเนินง1.4 านของ1.5 กิจการ ตลาดนี้ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ขายบริการ
1.6 ตลาดรัฐบาล (Government Market) หมายถึง1.7 ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อการผลิต การให้บริการ หรือการดำเนินง1.8 านของ1.9 ส่วนราชการ (อาจถือว่าเป็นตลาดอุตสาหกรรมก็ได้)
1.10 ตลาดคนกลาง1.11 หรือตลาดผู้ขายต่อ (Middleman Market หรือ Reseller Market) หมายถึง1.12 บุคคลหรืออง1.13 ค์กรที่ซื้อสินค้าเพื่อการขายต่อ ผู้ขายต่อประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง1.14 ผู้ค้าปลีก ตัวแทน
ตลาดต่างประเทศ (International Market) หมายถึง กลุ่มลูกค้าหรือผู้ซื้อซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้ขายต่อ หรือรัฐบาล

การตลาด (Marketing)
à คือ กระบวนการวางแผนและการบริหารความคิด การตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้า บริการและความคิด เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (From : The American Marketing Association)
à เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ ที่บุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่ต้องการ (Needs and Wants) โดยการสร้างสรรค์ (Creating) การนำเสนอ (Offering) การแลกเปลี่ยน (Exchanging) สิ่งที่มีคุณค่ากับผู้อื่น

แนวความคิดทางการตลาด
The Production Concept ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม) ซึ่งจะเน้นการผลิต (ผลิตเท่าไหร่ ก็ขายได้) โดยจะมีต้นทุนการผลิต และคุณภาพสินค้าต่ำ
The Product Concept จะเน้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพของสินค้าตลอดเวลา
The Selling Concept เน้นที่การขาย เทคนิคการขาย โดยใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการขายต่างๆ


The Marketing Concept เป็นยุคที่คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า โดยต้องพยายามให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เกิดความพึงพอใจ มากกว่าคู่แข่ง


Social Marketing Concept เป็นยุคการตลาดที่มีการคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม เช่น Environment Marketing หรือ Green Marketing โดยจะเป็นการพยายามสร้าง Norms จิตสำนึก (Mind) ที่ถูกต้องแก่สังคม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา