แนวคิดที่ 1 : ความสอดคล้อง (Consistency) ความสอดคล้องเป็นแนวคิดด้านการตลาดอันหนึ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น มักไม่พบในการนำไปใช้เป็นแนวคิดทางการตลาดสำหรับธุรกิจทั่วๆ ไป ผู้เขียนเคยได้ทำงานร่วมกับผู้ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งพบว่ามีความไม่สอดคล้องอย่างมากในทุกพื้นที่ของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ความสอดคล้องจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขายและเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้า
แนวคิดที่ 2 : การวางแผน (Planning)
เมื่อเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับการตลาด การวางแผนเป็นเป็นแนวคิดหลักต่อมาที่จะต้องเริ่มดำเนินการ การวางแผนเป็นส่วนที่จำเป็นมากสำหรับการตลาดธุรกิจขนาดเล็กหรือการทำการตลาดระดับอื่นๆ สำหรับเจ้าของกิจการจำนวนมาก ผู้จัดการทางการตลาด และยามเมื่อมีระดับการวางแผน CMOs ไม่ดี ให้เวลากับการวางแผนกลยุทธ์
แนวคิดที่ 3 : กลยุทธ์ (Strategy)
กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติภายหลังการวางแผนทันทีเพราะว่ากลยุทธ์ของคุณจะเป็นรากฐานของกิจกรรมทางการตลาด ในกระบวนการวางแผนคุณต้องทำการพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำอย่างไรจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ และวิธีการที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้า
แนวคิดที่ 4 : เป้าหมายทางการตลาด (Target Market)
เป้าหมายทางการตลาดถือเป็นอีกแนวคิดที่สำคัญสำหรับตลาดธุรกิจขนาดเล็ก กำหนดให้แน่ชัดว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าของกิจการธุรกิจขนาดเล็กจะมุ่งเน้นว่าเป็นลูกค้าเฉพาะและนับเป็นการลดการสูญเสียทางการตลาด การกำหนดเป้าหมายทางการตลาดจะทำให้การดำเนินการตามแนวคิดการตลาดอื่นๆ ทำได้ง่ายขึ้นในการทำให้บรรลุและประสบความสำเร็จสูงสุด
แนวคิดที่ 5 : งบประมาณ (Budget)
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอันดับที่ 5 แต่การจัดสรรงบประมาณก็มีความสำคัญตลอดกระบวนการทั้งหมด การจัดทำงบประมาณทางการตลาดมักเป็นเรื่องยากที่สุดและเป็นส่วนที่มีความคลาดเคลื่อนมากที่สุดสำหรับการตลาดของธุรกิจขนาดเล็ก เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางการตลาดและมักจบลงด้วยการวางงบประมาณคลาดเคลื่อน สิ่งสำคัญที่สุดในแนวคิดด้านการตลาดคือการจัดทำงบประมาณทางการตลาดตามความเป็นจริง ทั้งนี้คุณควรพิจารณาการกระจายการใช้จ่ายอย่างเป็นประโยชน์ของเงินทุนที่มีอยู่
แนวคิดที่ 6 : ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)
ส่วนประสมทางการตลาดหมายความรวมถึง ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ในกรณีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคุณจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (หรือบริการ) การจัดสรรราคา การจัดหาสถานที่และวิธีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และหาช่องทางชักจูงให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์ของคุณ
แนวคิดที่ 7 : เว็บไซต์ (Website)
ในตลาดปัจจุบันธุรกิจทุกๆ ขนาดจะต้องมีเว็บไซต์ เว็บไซต์ทางธุรกิจไม่ควรมีจำนวนหน้าที่น้อยเกินไปหรือข้อมูลล้าสมัย ลูกค้าจะใช้เวลากว่ากว่า 60% เพื่อค้นหาข้อมูลเว็บไซต์ก่อนตัดสินใจซื้อ แนวคิดการทำตลาดนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความประทับใจให้เพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบ แต่คุณควรจะเริ่ม อย่างน้อยดำเเนินการพัฒนาเว็บไซต์ขนาดเล็กและมีการให้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ
แนวคิดที่ 8 : ตราสินค้า (Branding)
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยมักจะละเลยความคิดนี้ การตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจะต้องมุ่งเน้นแนวความคิดด้านการตลาดเช่นเดียวกับองค์กรขนาดใหญ่ การสร้างตราสินค้าประกอบไปด้วย รูปภาพ โลโก้ แบบรายการ แผนงาน การจัดเตรียม และภาพลักษณ์ของตราสินค้าและองค์กรของคุณ การสร้างตราสินค้าคือการทำอย่างไรให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์และองค์กร ให้แน่ใจว่าได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับชนิดของตราสินค้าที่คุณกำลังสร้างขึ้นผ่านขั้นตอนของการวางแผนและดำเนินการ
แนวคิดที่ 9 : การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณา (Promotion and Advertising)
การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาเป็นแนวคิดทางการตลาดที่ค่อนข้างซับซ้อน และต้องคำนึงถึงในธุรกิจทุกประเภทและทุกผลิตภัณฑ์และบริการ เมื่อคุณดำเนินการตามแนวคิดทางการตลาด 8 ข้อข้างต้น สุดท้ายคุณจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักคุณและผลิตภัณฑ์ของคุณ การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการจดจำตราสินค้า และท้ายที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของยอดขาย
แนวคิดที่ 10 : การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM)
แนวคิดการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ถูกนำมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมจำนวนมากในการทำตลาดทั่วโลก มีซอฟแวร์และบริการหลายประเภทถูกนำเสนอเพื่อช่วยเหลือธุรกิจหลายๆ ขนาดในการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เนื่องจากมีใช้มากและมีประโยชน์มากมายในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะมองแนวคิดนี้ว่าธุรกิจของพวกเขาไม่ได้มีขนาดใหญ่เพียงพอหรือมีเงินทุนในการดำเนินการให้บรรลุผล ไม่จำเป็นต้องทำเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ๆ การรักษาลูกค้าอย่างเหมาะสมด้วยการจัดการลูกค้าสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความภักดีและการเป็นลูกค้าอย่างเหนียวแน่น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น