1.การรับสินค้า(Receiving)
สินค้าที่ส่งมาจากโรงงานของบริษัทหรือจากซัพพลายเออร์ เมื่อสินค้ามาถึงปฏิบัติการ ดังนี้
- ขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะ
- ตรวจนับจำนวน
- การตรวจสภาพสินค้า
2.การจัดเก็บ (Storage)
สินค้าขาเข้าเมื่อผ่านกระบวนการรับก็จะทราบว่าสินค้าใดเป็นสินค้าขนส่งผ่านคลังสินค้าและสินค้าใดที่จะต้องเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้า คลังสินค้าจะใช้ระบบการจัดเก็บแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ระบบการจัดเก็บ มีดังนี้
– แบบกำหนดพื้นที่ตายตัว
การจัดเก็บตามแบบนี้คลังสินค้าจะกำหนดพื้นที่จัดเก็บสินค้าแต่ละกลุ่มไว้ตายตัว นั่นคือ สินค้าจะเก็บตามที่กำหนดไว้
ข้อดีคือ ง่ายต่อการหยิบสินค้า
ข้อเสียคือ อาจจะมีพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อันเนื่องจากปริมาณสินค้าเข้า – ออกน้อยหรืออาจจะเกิดภาวะพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับสินค้าที่มีปริมาณมาก
- แบบไม่กำหนดพื้นที่
การเก็บสินค้าแบบนี้ใช้วิธีมีที่ว่างที่ใดก็วางสินค้า วิธีนี้สะดวกในการเก็บ แต่ยุ่งยากในการหยิบสินค้าซึ่งจะใช้เวลานานและเส้นทางเดินสินค้าไกล
ข้อดี คือ ใช้ประโยชน์พื้นที่คลังสินค้าได้เต็มที่ ดังนั้นหากจะให้มีประสิทธิภาพจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเพื่อง่ายต่อการค้นหาและหยิบสินค้าที่ต้องการ
– แบบกำหนดโซน
ระบบนี้จะแบ่งพื้นที่คลังสินค้าเป็น Zone จะขึ้นอยู่กับการจัดกลุ่มสินค้า ถ้าจัดกลุ่มสินค้าน้อยกลุ่มโซนก็จะน้อย
ข้อดี คือ สินค้าหลายชนิดจะอยู่ในโซนเดียวกันทำให้ใช้ประโยชน์พื้นที่คลังสินค้าได้มากขึ้น แต่จะมีความล่าช้าในการหยิบเช่นเดียวกับแบบไม่กำหนดพื้นที่
3.การหยิบสินค้า(Order Picking)
งานหยิบสินค้าเป็นงานที่สำคัญของปฏิบัติการคลังสินค้า การหยิบสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะลดวงจรเวลาสั่งซื้อและตอบสนองความตองการของลูกค้าได้รวดเร็ว
การหยิบสินค้ามีวิธีการหยิบ ดังนี้
– ระบบไม่กำหนดพื้นที่
เป็นระบบที่พนักงานแต่ละคนรับผิดชอบแต่ละใบสั่งจ่ายสินค้า จะหยิบสินค้าตามรายการใบสั่งจ่ายแล้วนำสินค้าไปวางที่ลานสินค้าขาออก
ข้อดี คือ สินค้าแต่ละใบสั่งจ่ายจะรวมอยู่ที่เดียวกัน
ข้อเสีย คือ ระยะทางเดินยาว
– ระบบแบ่งเขตพื้นที่
วิธีนี้จะแบ่งพื้นที่คลังสินค้าเป็นโซน พนักงานหยิบจะรับผิดชอบเป็นโซนไป ใบสั่งจ่ายสินค้าจะแจกจ่ายไปแต่ละโซน เมื่อพนักงานหยิบสินค้าแล้วก็นำไปวางที่ลานรวบรวมสินค้า
ข้อดี ลดระยะเวลาทางการเดินหยิบสินค้า
ข้อเสีย เพิ่มงานการรวบรวมสินค้าตามใบสั่ง
– ระบบแบ่งเขตพื้นที่
วิธีนี้จะแบ่งพื้นที่คลังสินค้าเป็นโซน พนักงานหยิบจะรับผิดชอบเป็นโซนไป ใบสั่งจ่ายสินค้าจะแจกจ่ายไปแต่ละโซน เมื่อพนักงานหยิบสินค้าแล้วก็นำไปวางที่ลานรวบรวมสินค้า
ข้อดี ลดระยะเวลาทางการเดินหยิบสินค้า
ข้อเสีย เพิ่มงานการรวบรวมสินค้าตามใบสั่ง
– ระบบแบ่งเขตพื้นที่
วิธีนี้จะแบ่งพื้นที่คลังสินค้าเป็นโซน พนักงานหยิบจะรับผิดชอบเป็นโซนไป ใบสั่งจ่ายสินค้าจะแจกจ่ายไปแต่ละโซน เมื่อพนักงานหยิบสินค้าแล้วก็นำไปวางที่ลานรวบรวมสินค้า
ข้อดี ลดระยะเวลาทางการเดินหยิบสินค้า
ข้อเสีย เพิ่มงานการรวบรวมสินค้าตามใบสั่ง
– ระบบลำดับบริเวณ
วิธีนี้จะจัดลำดับบริเวณคลังสินค้า การหยิบสินค้าจะหยิบตามลำดับบริเวณ เมื่อพนักงานหยิบสินค้าบริเวณแรกแล้วเสร็จก็จะส่งใบสั่งจ่ายสินค้าต่อไปเรื่อยๆจนหยิบสินค้าได้ครบ
ข้อดี ลดระยะทางเดินหยิบสินค้า
ข้อเสีย ต้องใช้อุปกรณ์ยกขนมากกว่าระบบแบ่งพื้นที่
– ระบบรวบรวมใบสั่งจ่าย
จะรวบรวมใบสั่งจ่ายสินค้าแล้วทำการจำแนกกลุ่มสินค้า พนักงานจะได้รับมอบหมายให้หยิบสินค้าตามกลุ่มสินค้า เมื่อหยิบสินค้าได้แล้วก็นำไปวางเพื่อคัดแยกตามแต่ละใบสั่ง
ข้อดี คือ หยิบสินค้าครั้งละจำนวนมากทำให้ประหยัด
ข้อเสีย คือ ต้องมาทำการคัดแยกสินค้าตามแต่ละใบสั่งจ่ายสินค้าอีก
4.การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่ง(Transportation Packaging)
การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องความเสียหายของสินค้าจากการขนส่งและการใช้ประโยชน์พื้นที่ระวางยานพาหนะสูงสุด หีบห่อจะติดฉลากบอกประเภทและปริมาณของสินค้าและคำแนะนำการยกขนและเก็บรักษา การบรรจุหีบห่อควรมีขนาดที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์ระวางบรรทุกอุปกรณ์เคลื่อนย้ายและเครื่องมือยกขนสูงสุด
5.การขนสินค้าขึ้นยานพาหนะ(Shipping)
สินค้าจะถูกนำมาวางรวมกันที่ลานสินค้าขาออก พนักงานทำการตรวจสอบและนับสินค้าที่ขนขึ้นยานพาหนะแต่ละคัน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีความผิดพลาดด้านจำนวนและชนิดสินค้า ความผิดพลาดเป็นความสูญเสีย บริษัทจะต้องนำสินค้ากลับซึ่งเสียค่าขนส่ง ขณะที่ลูกค้าจะไม่มีสินค้าใช้หรือขาย
6.การตรวจนับสินค้า(Inventory Checking)
การตรวจนับสินค้าในคลังสินค้าเป็นการตรวจสอบสต๊อกสินค้าและปริมาณและเปรียบเทียบกับสถิติสินค้าที่ได้จ่ายออกไปว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบสภาพและตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้าอีกด้วย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น