MBA HOLIDAY

Custom Search

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารการเงิน

แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารการเงิน มีนักวิชาการได้กล่าวไว้ดังนี้

กมล จันทิมา และอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ (ม.ป.ป.) เสนอแนวคิดในการบริหาร การเงินในรัฐวิสาหกิจว่า เป็นหน้าที่ทางการบริหารอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารระดับสูงของรัฐ วิสาหกิจต้องให้ความสนใจ ทั้งนี้ก็เพราะการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ
เพชรี ขุมทรัพย์ ( 2531, 1) กล่าวว่า การบริหารการเงิน คือ การกำหนดนโยบาย เกี่ยวกับการได้มาซึ่งเงินทุน และการใช้ไปซึ่งเงินทุน
สมคิด จูมทอง (อ้างถึงใน มนตรี ศรีรักษา 2534, 20) ได้ให้ความหมายของการ บริหารการเงินว่า เป็นการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย การวางแผนเกี่ยวกับ การใช้จ่าย และการควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยให้เป็นตาม ระเบียบและกฎเกณฑ์
จากทัศนะเกี่ยวกับความหมายของ แนวคิดการบริหารการเงิน ตามที่บุคคลต่าง ๆ ได้กล่าวไว้ จึงสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพในการบริหารการเงินหมายถึง การวางแผนเกี่ยว กับการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการลงทุน น้อย แต่มีผลกำไรสูง การดำเนินงานมีคุณภาพเป็นที่พอใจของผู้ถือหุ้น ในรัฐวิสาหกิจ
ที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภค และสาธาณูปการก็ต้องมีการให้บริการเป็นที่พอใจแก่ประชาชน จึงจะถือได้ว่าบรรลุวัตลุประสงค์
ในการบริหารการเงินการบัญชีของรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลได้กำหนดมาตรการควบ คุมดูแลไว้ ดังนี้ (อิสระ สุวรรณบล 2532, 288-289)
1. ระเบียบว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2520 แบ่งเป็น 2 หมวด คือ
1.1 หมวดบัญชี
1) ให้รัฐวิสาหกิจมีระบบบัญชีที่เหมาะสม เพื่อใช้บันทึกรายการทางการ เงิน และผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจที่เป็นอยู่ตามจริง และ จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี
2) ให้รัฐวิสาหกิจปิดบัญชีตามปีงบประมาณ เพื่อแสดงผลการดำเนิน งานในงวดบัญชีและทำงบดุล แต่ในกรณีที่มีเหตุผลจำเป็น และด้วยความเห็นชอบของ กระทรวงการคลัง รัฐวิสาหกิจจะปิดบัญชีตามปีปฎิทินหรือตามระยะเวลาอันใดก็ได้
3) คำนวณค่าเสื่อมราคาในงวดการบัญชีให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่
สุดที่จะเป็นได้
4) การตีราคาพัสดุ วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าคงเหลือ โดยปกติใช้ราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่ราคาใดจะตํ่ากว่า
5) การสำรองหนี้สูญ ลูกหนี้ที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจรายใด ถ้าไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเรียกชำระได้หรือค้างชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป นับจากวันที่หนี้ ถึงกำหนดชำระ ให้รัฐวิสาหกิจตั้งสำรองหนี้สูญเท่าจำนวนลูกหนี้นั้น
6) การจัดสรรกำไรสุทธิต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง
7) การจัดทำรายการในงบดุล ให้แยกเป็นทรัพย์สิน และหนี้สิน
8) การจัดทำทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุให้อยู่ในสภาพที่จะตรวจสอบ
ได้ทุกขณะ
9) ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
10) กำหนดการปิดบัญชีให้เสร็จเรียบร้อยตามกฎหมายกำหนด
11) ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนการปฏิบัติงาน งบทำการ และแผนการเงิน ประจำงวดการบัญชีล่วงหน้า 1 ปี
1.2 หมวดการเงิน
1) ให้ฝากเงินกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น เว้นแต่จะไค้รับ อนุญาตจากกระทรวงการคลัง
2) การจ่ายเงินยืมทดลองของรัฐวิสาหกิจให้แก่หน่วยงาน หรือบุคคลอื่น ให้จ่ายไค้เฉพาะกิจการภายในวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจเท่านั้น
3) การชำระหนี้เงินกู้และคอกเบี้ยสำหรับหนี้สินระยะยาวของรัฐ วิสาหกิจ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลง
4) การนำเงินกำไรหรือเงินอื่นใดที่กำหนดส่งเป็นรายไต้แผ่นดิน ให้รัฐ วิสาหกิจนั้นถือโดยเคร่งครัด
2. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ในมาตรา 13 และ มาตรา 15 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปี ของรัฐวิสาหกิจนั้นต่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ภายในเวลาที่กำหนด
งบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐวิสาหกิจ แบ่งเป็น งบทำการ และงบลงทุน สำหรับงบทำการนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ตั้งไว้สำหรับการปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมาจากเงิน รายได้ของรัฐวิสาหกิจเอง โดยมีคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้อนุมัติงบประมาณ ส่วนนี้กรณีรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้ไม่เพียงพอหรือไม่มีรายได้เช่น การกีฬาแห่งประเทศ ไทย ฯลฯ ก็จะเสนอของบส่วนนี้จากสำนักงบประมาณ
3. ระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522 หมายถึง รายการที่ ประมาณว่าจะจ่าย เพื่อให้เกิดทรัพย์สันถาวร รวมทั้งเพื่อการขยายงานหรือการทดแทน ทรัพย์สินเดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นสาระสำคัญ หรือเป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้น เงินลงทุนของ รัฐวิสาหกิจอาจจะได้มาจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่ง คือ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ภายใน ประเทศและต่างประเทศ และจากรายได้ของรัฐวิสาหกิจเอง
4. ระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ. 2519 และพระราชบัญญัติกำหนดอำนาจ กระทรวงการคลังในการคํ้าประกัน พ.ศ. 2510 การที่ต้องใช้ระเบียบและพระราชบัญญัติ ดังกล่าว เนื่องจากรัฐวิสาหกิจได้ใช้เงินกู้จากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศค่อนข้างสูง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา