- ผู้ตัดสินใจต้องระมัดระวังและดำเนินการอย่างรอบคอบทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
** ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด
อุปสรรคต่อประสิทธิผลของการตัดสินใจ
1. อคติทางจิตติวิทยา
2. ข้อจำกัดด้านเวลา
3. ความเป็นจริงทางสังคม
1. ความมีอคติ (Psychological biases)
- การมีอคติมีผลต่อเป้าหมาย
- ความหลงผิด (illusion of control) โดยเชื่อว่าตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ ปัญหาหรือ
- ความเข้าใจผิด (framing effect)
- เกิดจากความคิดของตนเองทำให้มองข้ามเหตุผลที่แท้จริง
- ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (discount the future) มองผลที่จะได้รับในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว การ
หลีกเลี่ยงผลเสียใน ระยะสั้นหรือหวังผลระยะสั้นอาจทำให้เกิดผลเสียในระยะยาว
2. ความกดดันในเรื่องของเวลา (Time pressures)
ปัจจุบันเวลาเป็นสิ่งสำคัญ และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้การตัดสินใจทันเวลาและมีคุณภาพ ต้
ดำเนินการดังนี้
- ได้ข้อมูลทันเวลา
- บุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง
- มีผู้เชี่ยวชาญที่ไว้วางใจได้
- มีความเข้าใจในเรื่องของความขัดแย้งความจริงในสังคม (Social realities)
- ผลการตัดสินใจส่วนใหญ่เกิดจากการเจรจาต่อรองและการเมือง
- การตัดสินใจที่ทันเวลาและมีคุณภาพ ประกอบด้วย 1.ได้ข้อมูลทันเวลา 2. บุคลากรมีประสิทธิภาพสูง 3.มีผู้เชี่ยวชาญที่ไว้วางใจได้ 4. เข้าใจเรื่องความขัดแย้ง
3. ความเป็นจริงทางสังคม : อุปสรรคทางด้านสังคม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การกำหนดผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ มีวิธีการพิจารณาดังนี้
1, การตัดสินใจโดยผู้บริหาร (Individual Decisions) - มีอำนาจ/เชี่ยวชาญ มีความเชื่อว่าเป็นอำนาจของผู้บริหาร เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญการหาข้อมูลเพิ่มเติมและปรึกษาผู้อื่นทำให้สิ้นเปลืองเวลา
2. การตัดสินใจโดยขอคำปรึกษา (Consultative Decisions) - ระดมความคิดเห็นโดยการประชุม เป็นการตัดสินใจโดยผู้บริหาร ซึ่งใช้วิธีระดมความคิดโดยการประชุม หรือเชิญผู้เกี่ยวข้องไปไห้ข้อมูลและคำปรึกษา
3. การตัดสินใจโดยกลุ่ม เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารหาข้อมูลเพิ่มเติมจากลุ่มหรือให้กลุ่มมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างบุคลากร การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลนี้เหมาะสำหรับการตัดสินใจในเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเรื่องที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลข่าวสารเพียงพอหรือยังขาดประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่มีความชำนาญทางด้านนั้นอย่างเพียงพอจึงจำเป็นต้องฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ แล้วประมวลความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นสิ่งกำหนดการตัดสินใจ
การตัดสินใจในกลุ่ม (Decision Making in Group) ทำได้หลายรูปแบบ คือ
1. การตัดสินใจโดยการแสวงหาความร่วมมือ (Coalition) เป็นการหาพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการ
2. การตัดสินใจโดยคณะทำงาน (Task Groups) เป็นคณะบุคคลที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
3. การตัดสินใจโดยสร้างปฎิสัมพันธ์ของกลุ่ม (Interacting Groups) นำเทคนิค การระดมสมอง (brain storming) มาประยุกต์ใช้เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจ
4. การตัดสินใจโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เป็นวิธีที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดนิยามปัญหาเพื่อการตัดสินใจ คณะทำงานจะส่งความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านไปให้ ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นได้อ่านและวิเคราะห์ เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่กำหนดเพื่อสร้างความชัดเจนในด้านความเห็นและข้อโต้แย้ง ทำอย่างนี้หลายรอบ จนเกิดความมั่นใจและชัดเจนว่าผู้ทรง คุณวุฒิส่วนใหญ่ สรุปประเด็นการ ตัดสินใจอย่างไร แล้วนำข้อคิดเห็นนั้นไปประกอบการตัดสินใจ
การตัดสินใจโดยกลุ่ม
ข้อดี
1. มีข้อมูลมาก 2.มุมมองหลากหลาย 3.กระตุ้นใช้สติปัญญา 4.ทุกคนเข้าใจว่าทำไมตัดสินใจอย่างนี้
5. การตัดสินใจเป็นภารของกลุ่ม
ข้อเสีย
1. อาจมีคนเดียวในกลุ่มเป็นผู้ชี้นำ 2.เน้นความพึงพอใจของกลุ่ม 3.มีความกดดันหลักเลี่ยงความขัดแย้ง
สรุปและวิเคราะห์
การตัดสินใจโดยกลุ่ม จะมีความสำคัญเป็นที่ยอมรับและต้องการมากขึ้น เพราะว่า องค์การที่มีขนาดใหญ่งานจะซับซ้อน และต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย ประกอบกับบุคลากรขององค์การในปัจจุบันนี้มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน จึงมีความต้องการได้รับการยอมรับ และมีส่วนร่วมในการบริหารหรือตัดสินใจในปัญหาที่สำคัญ ๆ และที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตนและหน่วยงานของตนโดยตรง ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจโดยกลุ่มจึงมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับผู้นำ
ผู้นำที่มีความสามารถและทักษะในการตัดสินใจ จะเข้าใจภาระหน้าที่ที่ควรกระทำในกลุ่มได้ดี และนำกลุ่มให้สามารถหาทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็จะทำให้สมาชิกยอมรับ และไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน โดยผู้นำต้องเป็น
1. ผู้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนของการประชุม
2. ต้องกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกด้วยกันให้มากที่สุด
3. ทำให้สมาชิกมีความเข้าใจชัดเจนต่อปัญหาประเด็น
4. ทำหน้าที่สรุปก่อนที่จะมีการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด
วิธีการตัดสินใจโดยกลุ่มที่จะเกิดผลสูงสุด โดย
1. กำหนดเป้าหมาย (setting objective) เพราะทำให้ได้รับความรู้และข่าวสารจากสมาชิกเพิ่มขึ้น
2. ประเมินทางเลือก (evaluating alternatives) เพราะทำให้สมาชิกพิจารณาความเห็นต่าง ๆ ได้กว้างขึ้น
รูปแบบของกระบวนการตัดสินใจขององค์การ
1. ผู้ตัดสินใจไม่สามารถตัดสินใจตามเหตุผลที่แท้จริง เพราะ
1. ข้อมูลไม่สมบูรณ์เพียงพอ สำหรับทางเลือกต่าง ๆ
2. ปัญหามีความซับซ้อน
3. บุคลากร ไม่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลทั้งหมดได้
4. เวลาที่จำกัด
5. เป้าหมายของบุคลากรไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันเนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีอคติและยึดตนเองเป็นหลัก
1. การตัดสินใจในเรื่องใหญ่ ๆเริ่มจากการตัดสินใจในเรื่องเล็ก ๆ ไปสู่ข้อสรุปที่ใหญ่ขึ้น
2. การต่อรองของกลุ่มต่าง ๆ มีผลต่อการตัดสินใจ
3. เมื่อบุคลากรไม่แน่ใจในเป้าหมาย และไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร การตัดสินใจจึงเบี่ยงเบนไปจากความมีเหตุผล และใช้วิธีการตัดสินใจด้วยการลองผิดลองถูก
4. การเจรจาต่อรองและการเมืองเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสร้างความพอใจให้กับกลุ่มและแต่ละบุคคล
- บุคลากรพยายามใช้อำนาจกดดันให้เกิดการตัดสินใจในสิ่งที่เขาสนใจ
- การสร้างความร่วมมือจะช่วยให้ทำการตัดสินใจได้ดีกว่า
5. การตัดสินใจภายใต้วิกฤต ต้องเน้นที่เงื่อนไขของเวลา จึงทำให้การตัดสินใจไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นควรเตรียมการล่วงหน้า
ระบบสารสนเทศกับการตัดสินใจ
1.โปรแกรม SPSS 2. ระบบสนับสนุนกลุ่มตัดสินใจ 3.ระบบผู้เชี่ยวชาญ 4.MIS สารสนเทศสำหรับการจัดการ 5.EIS ระบบสารสนเทศสำนักบริหารระดับสูง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น