เมื่อใดก็ตามที่การตลาดเป็นระบบที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลให้ประชาชน สังคมและชุมชนมีคุณภาพไปด้วย ดังนั้นในระบบของการตลาดโดยทั่วไปแล้วจะมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. หน้าที่การจัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด ซึ่งวิธีที่จะจัดการในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้
1.1 การพัฒนาและกำหนดมาตรฐานสินค้าและบริการ (Development and Standard Goods) หรือที่เรียกว่า “ดีเวลลอบเมนท์ แอนด์ แสตนดาร์ด กู๊ด” หน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ การจัดหาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการพัฒนาและกำหนดสินค้าให้ทันสมัย กำหนดรายละเอียดของสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพ ปริมาณ ลักษณะ รูปร่างและมาตรฐานตามกำหนด ซึ่งจะต้องมีการศึกษาหาข้อมูล เพื่อกำหนดสินค้าที่จะผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
1.2 การขาย (Selling ) หรือที่เรียกว่า “เซลล์ลิ่ง” หน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ การจัดให้มีการถ่ายโอน หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์อันจำเป็นต่อการหมุนเวียนสินค้าและบริการ ทำให้เกิดความคล่องตัวด้านธุรกิจ ที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อโดยตรง หรืออาจจะมีการประสานงานกันทางโทรศัพท์หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ
1.3 การซื้อ (Buying) หรือที่เรียกว่า “บายอิ้ง” กิจกรรมในส่วนของการซื้อก็คือการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ ซื้อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยในการซื้อสินค้านั้นจะต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ามีคุณภาพหรือมาตรฐานมากน้อยเพียงใด
2. หน้าที่เกี่ยวกับแจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค ซึ่งการเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวต้องอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 การขนส่ง (Transportation) หรือที่เรียกว่า “ทรานสปอตเตชั่น” สินค้าจะไปถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ซึ่งกระจายกันในแต่ละท้องถิ่นได้ จะต้องอาศัยการ ขนส่ง โดยจะต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับสภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาและสภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เช่นสินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก ควรจะเลือกการขนส่งโดยทางรถยนต์
2.2 การเก็บรักษาสินค้า (Storage) หรือที่เรียกว่า “สตอเรจ” เป็นกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่ลูกค้า ด้วยการเก็บรักษาสินค้าไว้ เพื่อให้สินค้ามีคุณค่า คุณภาพดีสม่ำเสมอ หรือรอโอกาสที่เหมาะสมในการจำหน่ายให้แก่ลูกค้า ซึ่งการเก็บรักษาสินค้าของตลาดนั้นเป็นไปใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. เก็บรักษาเพื่อเพิ่มคุณภาพ สินค้าและบริการบางอย่างหากเก็บรักษาไว้นานจะทำให้มีราคาสูงขึ้น เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น
2. เก็บรักษาเพื่อคาดหวังผลกำไร เช่น กรณีสินค้าราคาตกต่ำ หน้าที่การตลาด (ผู้ขาย) จะเก็บสินค้านั้น ๆ ไว้ก่อนจนกว่าสินค้าจะมีราคาสูงขึ้นจึงจะนำออกมาจำหน่าย
1 ความคิดเห็น:
ขอให้มีความสุขในวันนี้
ฉัน voorhees philip ฉันต้องการลงทุนในธุรกิจของคุณโดยสุจริตฉันมีเงินทุนสำหรับการลงทุนที่ทำกำไรฉันยังเสนอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และสินเชื่อส่วนบุคคลด้วยอัตราดอกเบี้ยต่อปีที่ต่ำมากถึง 3% ภายในระยะเวลาการชำระเงิน คืนหนึ่งปีเป็นส่วนหนึ่งของโลก
คุณต้องการเครดิตในอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปีจากจำนวนเงินทั้งหมดที่คุณต้องการเงินทุนหรือการเป็นหุ้นส่วนทุน 50/50% เป็นระยะเวลา 1 ถึง 10 ปีหรือไม่? ฉันต้องการทราบตัวเลือกของคุณเพื่อให้เราสามารถดำเนินการเจรจาต่อไปได้จำนวนเงินสูงสุดคือ $ 100million USD
อีเมลติดต่อ: info@voorhinvestcorp.com
URL ของเว็บไซต์: http://voorhinvestcorp.com/
WhatsApp: +1 4704068043
LINE ID: philipvoor
อีเมล: voorheesphilip@gmail.com
ขอบคุณ
VOORHEES PHILIP
แสดงความคิดเห็น