1. นักสื่อสารการตลาดต้องเลือกสร้าง และเชื่อมโยงตราสินค้ากับการทำกิจกรรม และการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดให้ได้ (Match the brand to the event and sponsorship marketing) โดยการเชื่อมโยงนั้นจะต้องเหมาะสม สอดคล้องและกลมกลืนกับทั้งจุดยืน เอกลักษณ์ และบุคลิกภาพของตราสินค้า (positioning, identity and personality of the brand)
2. ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและตรงกับตราสินค้า (Tightly define the target audience) ต่อให้งานกิจกรรมนั้นมีผู้คนมาร่วมงานมากมาย ก็ไม่สามารถสร้างผลกระทบทางการตลาดได้ ถ้าไม่ใช่กลุ่ม เป้าหมายของตราสินค้า ดังนั้นการจัดงานกิจกรรมและการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด จะให้ความสำคัญจำนวนคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และมุ่งความสำคัญไปที่ตราสินค้า ทำให้เกิดการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าเป็นหลักสำคัญ
3. ใช้ข้อความที่สั้นและชัดเจน (Stick to a few key messages) นักสื่อสารการตลาดส่วนใหญ่ ชอบอัดข่าวสารในการทำกิจกรรม หรือการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากทั้งสองเครื่องมือ เน้นประสบการณ์ ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับมากกว่าการใช้เครื่องมืออื่นๆ ดังนั้นนักกลยุทธ์ไอเอ็มซี ต้องเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรม และเกิดประสบการณ์กับตรา สินค้าเอง ไม่ใช่เกิดจากการยัดเยียดข่าวสาร ซึ่งก็จะทำให้คุณสมบัติพิเศษของเครื่องมือนี้ ลดหย่อนความสำคัญลงไปอย่างน่าเสียดาย พึงระลึกเสมอว่า เครื่องมือนี้นักกลยุทธ์ไอเอ็มซี จะให้ความสำคัญกับความถี่มากกว่าจำนวนของเนื้อหา เพราะความ ถี่จะมีโอกาสทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมได้มากกว่านั่นเอง
4. วางแผนและพัฒนาโปรแกรม ให้น่าสนใจ (Develop a plot line) ตลอดงาน จะต้องมีความน่าสนใจทุกช่วง ไม่เกิดรอยสะดุด กิจกรรมต่างๆ จะต้องถูกปฏิบัติเหมือนงานแสดงที่มีบท เริ่มต้นที่เร้าใจ ระหว่างงานต้องชวนให้ติดตาม ตื่นเต้น และจบลงด้วยความประทับใจ เพื่อสร้าง ให้เกิดการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับตราสินค้าในเวลาเดียวกันจากการทำกิจกรรม และเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด
5. ต้องสื่อสารและส่งผ่านความรู้สึกที่พิเศษ (Deliver exclusivity) งานดังกล่าวจะต้องทำให้กลุ่ม เป้าหมายรู้สึกถึงการได้รับการเชื้อเชิญ (invitation) การเป็นลูกค้าคนสำคัญ และที่สำคัญกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีความรู้สึกว่า นี่คือ เหตุการณ์พิเศษจริงๆ อันจะนำไปสู่ทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อตราสินค้า
6. มุ่งสร้างความสัมพันธ์ (Deliver relevance) การใช้เครื่องมือทั้งสองนั้น นักกลยุทธ์ ไอเอ็มซี ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยธรรมชาติ และวัตถุประสงค์ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของเครื่องมือนี้ มุ่งสร้างชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ทัศนคติเชิงบวก ความผูกพัน และความสัมพันธ์กับตรา สินค้า มากกว่าเหตุผลอื่นใด ประเมินผลภายใต้ยอดขายของตราสินค้า เป็นการเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของเครื่องมืออื่น ที่ไม่ใช่การทำกิจกรรม และการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด
7. ใช้สื่อที่หลากหลาย (Use mix media) การที่ข้อมูลสื่อสารในการจัดงานจะเข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายได้นั้น นักกลยุทธ์ไอเอ็มซี ควรใช้สื่อผสมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะสื่อแต่ละประเภทนั้น ก็มีจุดเด่น-ด้อย ต่างกัน กลุ่มเป้าหมายต่างก็มีพฤติกรรมในการเปิดรับสื่อที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นความหลากหลายของสื่อ จะช่วยให้งานกิจกรรมและการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
8. ควรมีการวางแผนก่อนและหลังจากจัดงาน (Plan for the before and after) จากงานดังกล่าว จะต้องอาศัยประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตราสินค้า ในการเปลี่ยนผู้คาดหวัง ให้เป็น ผู้ใช้ ผู้ซื้อสินค้าให้ได้ ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดการเปิดรับและเกิดประสบการณ์กับตราสินค้า ซึ่งผ่านกิจกรรมและการเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดโดยการผสมผสานกับเครื่องมือไอเอ็มซี อื่นๆ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การขายโดยพนักงานขาย เป็นต้น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น