MBA HOLIDAY

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Production and operations information system



production and operations information system
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “ การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data) เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต

2. ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น

3. ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม

5. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การ นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตผล (productivity) ของธุรกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติ ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการควบคุมต้นทุนขององค์การให้มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแล้ว ยังส่งผลต่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมโดยทางตรงและทางอ้อม


การวางแผนความต้องการวัสดุ

การบริหารทรัพยากรการผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบ (raw materials) เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการด้านการดำเนินงานการผลิต ถ้าธุรกิจมีปริมาณวัตถุดิบมากเกินไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูง แต่ถ้ามีปริมาณวัตถุดิบน้อยเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนและกระบวนการผลิต ตลอดจนก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ การวางแผนความต้องการวัสดุ (material requirement planning) หรือที่เรียกว่า MRP เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุเพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MRP ให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้

1. ไม่เก็บวัตถุดิบเพื่อรอการใช้งานไว้นานเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและความเสี่ยงในการสูญหายหรือสูญเสีย

2. รายงานผลการผลิตและความเสียหายที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนด

3. ควบคุมสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ

4. มีการตรวจสอบ แก้ไข และติดตามผลข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

โดยที่ MRP มีบทบาทต่อระบบการผลิตขององค์การตั้งแต่การจัดหาวัสดุ เพื่อทำการผลิตโดยการกำหนดปริมาณและระยะเวลาในการสั่งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนจัดเตรียมรายละเอียดของการผลิตในอนาคตซึ่งเราสามารถสรุปว่า MRP มีข้อดีดังต่อไปนี้

1. ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต

2. ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง

3. ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น

4. ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ

5. ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


นอกจากระบบ MRP แล้ว ได้มีผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการดำเนินงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (total quality management) หรือที่เรียกว่า TQM และการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in-time production) หรือที่เรียกว่า JIT เพื่อให้ได้การผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งต่างต้องอาศัยระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับผู้ขายวัตถุดิบ (supplier) และลูกค้าภายนอกองค์การ ตลอดจนบุคลากรต้องมีความรู้และความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศด้านการผลิตขององค์การอย่างเต็มที่

ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system) หรือ HRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้

1. ข้อมูลบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือนและ สวัสดิการ เป็นต้น

2. ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงานและแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล

3. ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิดที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นงานสำคัญที่มิใช่เพียงแต่การปฏิบัติงานประจำวันที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลบุคลากรและค่าจ้างแรงงานเท่านั้น แต่ต้องเป็นการดำเนินงานเชิงรุก (proactive) การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้

1. ความสามารถ (capability) หมายถึงความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่มคือ

ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วยงานมีความคล่องตัวขึ้น

ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม

2. การควบคุม (control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศโดยเฉพาะการเข้าถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัยพากรบุคคลจะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียงและผลได้-ผลเสียของบุคคล จึงต้องมีการจัดระบบการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่รัดกุม โดยอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานสามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศในส่วนงานของตนเท่านั้น

3. ต้นทุน (cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคลากร ดังนั้นฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคลสมควรมีข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งฝ่ายบริหารสมควรต้องพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ไปหรือไม่

4. การติดต่อสื่อสาร (communication) หมายถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (inforamtion flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพขึ้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ

marketing information system


การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

1. การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาด ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต

2. การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

3. คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า “ รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง ” แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น

4. กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ

5. ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน

สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ซึ่งเราสามารถจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ดังต่อไปนี้

1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย 3 ระบบดังต่อไปนี้

ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและวิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท

ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น

ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้

ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค

ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร

4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่

5. ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา

6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร เป็นระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา

7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง

8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ สำคัญในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว ถดถอย


กลยุทธ์ สำคัญในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว ถดถอย สิ่งที่สำคัญที่ทุกคนในองค์การคงต้องเตรียมตัว เตรียมใจว่า "เราต้องร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้าน" หมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานของตนเองในแต่ละฝ่ายตลอดเวลา ขยันติดตามและตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน ยอดขาย และต้องศึกษาให้เข้าใจถึงความรู้สึกความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าตลอดจนผลกระทบที่มีต่อลูกค้าประจำของเรา และอย่าละเลยที่ต้องขยันคิด ขยันสร้างสรรค์ ขยันค้นหาแนวทางใหม่ๆ แต่ไม่ใช่เปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างใหม่หมดโดยไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบและควรรักษาสิ่งดีๆ ที่เคยทำแล้วสำเร็จไว้ และพัฒนาสิ่งที่ดีๆ เหล่านั้นให้แข็งแกร่งมากขึ้น ต้องไม่เป็นกระต่ายตื่นตูม ตื่นตระหนกกับสถานการณ์จนขาดสติ


การปรับปรุงควรวางแผนมองแบบภาพรวมให้ทุกคนในองค์กรร่วมรับรู้ทุกสถานการณ์ที่มีผลกระทบ และร่วมคิดร่วมสร้างพลัง ค้นหาหนทางที่จะทำให้ทุกๆ คนในองค์อยู่รอดร่วมกัน การปรับการกระทำ ให้ริเริ่มกระทำอย่างมีการ "คิดก่อนทำ" แบบที่เรียกว่า "คิดดี ต้องทำได้" และ "คิดได้ ต้องทำดี" และ 9 กลยุทธ์ทางการตลาดดังต่อไปนี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นหนทางเพื่อให้กิจการฝ่าวิกฤตทำให้องค์กรอยู่รอดและยั่งยืนได้

1.กลยุทธ์ ราคา
ขอให้ใช้อย่างเข้าใจและใช้กลยุทธ์ราคานี้บนพื้นฐานของการศึกษามากกว่าการใช้ตามความรู้สึกที่ว่าใครๆ เขาก็ใช้กลยุทธ์ราคากัน แน่นอนกลยุทธ์ราคาช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภท commodity ที่ลูกค้าไม่ยึดติดในตราสินค้า ดังนั้น กลยุทธ์ราคามักจะเหมาะสมกับสินค้าประเภทที่ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่มีความภักดีในตราสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ราคาอย่างสร้างสรรค์เช่น ควรลดราคาสำหรับสมาชิก หรือการลดราคาในช่วงสิ้นเดือนที่ลูกค้าเพิ่งได้รับเงินเดือน และการลดราคาให้ผู้มีกำลังซื้อน้อยเช่นข้าราชการ หรือผู้ใช้แรงงานของบริษัทที่ทำสัญญากับกิจการ แม้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้การจะใช้กลยุทธ์การลดราคาควรมีเป้าหมายด้วยและควรเจาะจงมากกว่ากระทำไปโดยไม่มีเป้าหมาย

2.กลยุทธ์ การสร้างคุณค่าที่แตกต่าง
กลยุทธ์นี้ควรสร้างความยอมรับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวมด้วยเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน ถ้าให้ดีควรเน้นขายสินค้า หรือให้บริการที่มากคุณค่า คุ้มค่า และจ่ายในราคาที่ประหยัดกว่าแต่หาซื้อที่ไหนไม่ได้ หรือซื้อได้แต่ถ้าซื้อที่เราให้ความคุ้มค่า และให้คุณค่ากับผู้ซื้อและสังคมส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เช่นกลยุทธ์การขายสินค้าแบบนำสินค้าที่ใช้แล้วมาแลกซื้อสินค้าใหม่ในราคาที่ถูกกว่า หรือกลยุทธ์การเพิ่มเติมบริการเสริมในเรื่องการรับซื้อของเก่าที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปแลกชื้อสินค้าใหม่ถึงบ้าน หรือแม้แต่การรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก่าเพื่อแลกซื้อสินค้าใหม่ของเรา จะเห็นว่าถ้าแตกต่างแบบนี้ทุกคนได้ประโยชน์ทั้งนั้น สังคมส่วนรวมก็ได้ด้วย

3.กลยุทธ์ สร้างความผูกพันในตราสินค้า
กิจการควรใช้กลยุทธ์การสร้างความผูกผันในคุณภาพ ความคุ้มค่า และทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันในทุกสิ่งทุกอย่างของสินค้าและบริการซึ่งต้องทำให้มากขึ้นกว่าเดิมที่เน้นแค่ความผูกพันในความรู้สึกแต่เพียงอย่างเดียว เช่น กลยุทธ์การให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเสนอแนะวิธีพัฒนาคุณภาพสินค้าในช่วงวิกฤตเพื่อสร้างความอยู่รอดให้สินค้า เพราะลูกค้าเคยมีประสบการณ์ในการใช้เป็นอย่างดี ซึ่งกลยุทธ์สร้างความผูกพันแบบนี้ต้องมีวิธีการแสดงความขอบคุณที่ลูกค้าร่วมแสดงความคิดเห็นติชมโดยอาจใช้ชื่อลูกค้าในรุ่นสินค้านั้นๆ หรือแสดงความขอบคุณในสื่อต่างๆ

4.กลยุทธ์ การวางแผนเลือกใช้สื่อ
ในอดีตเมื่อยอดขายไม่ดีทุกกิจการมักตัดงบประมาณการสื่อสารการตลาดก่อน แต่ในปัจจุบันกิจการต่างๆ ใช้กลยุทธ์การสื่อสารกันอย่างเต็มที่แต่ที่ต้องระมัดระวัง คือควรเลือกการวางแผนการใช้สื่อให้ดีและเจาะจงมีเป้าหมายชัดเจน นั่นคือ การเลือกใช้สื่อควรมุ่งเน้นการสื่อสารที่ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นการสร้างความไว้วางใจ เน้นการสร้างความเป็นกันเอง และยังเน้นความเป็นส่วนตัวกับลูกค้า โดยต้องมีการคิดวางแผนเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ แบบที่เรียกว่า innovative idea เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ต้องสื่อสารในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าจริงๆ การใช้สื่อ internet และการใช้สื่อควรเป็นสื่อที่เข้าถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของลูกค้าช่วยให้ลูกค้ารับรู้ด้วยความไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้การสร้างเลือกสื่อควรคำนึงถึงการความสัมพันธ์แบบญาติพี่น้องกับลูกค้า หรือใช้กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อที่ต้องมุ่งสร้าง social network มากกว่าการให้เพียงข้อมูลข่าวสารแก่ลูกค้าเท่านั้น

5.กลยุทธ์ การวิจัยทัศนคติและพฤติกรรมของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้าของตน
หากกิจการใดยอมเสียเวลาทำการวิจัยย่อมรู้และเข้าใจลูกค้ามากขึ้น แต่การกระทำวิจัยควรทำให้ลูกค้ารับรู้ว่ากิจการมีความสนใจและตระหนักถึงทุกความคิดและความรู้สึกของลูกค้าอยู่เสมอ หมายความว่ายิงปืนนัดเดียวได้ความเข้าใจอันดีกับลูกค้าด้วย และที่สำคัญปัจจุบันนี้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะสนใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นกิจการควรเริ่มสนใจและศึกษาว่าลูกค้าของเราเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมโลกหรือไม่ และลูกค้าของเราเปลี่ยนไปเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากเราก็ควรเตรียมปรับกลยุทธ์การตลาดให้มุ่งเน้นเรื่อง green marketing มากยิ่งขึ้นในอนาคต

6.กลยุทธ์ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (CRM)
ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการสร้างสินค้าและบริการที่ตรงต่อความต้องการแต่ละรายบุคคล (customized products) มุ่งเน้นนำเสนอสินค้าบริการที่สร้างความสุข สร้างให้เกิดการชื่นชอบและชอบใช้อย่างสม่ำเสมอ และบอกให้คนอื่นใช้ ซึ่งเรียกว่าลูกค้าเกิดความภักดีในตราสินค้า (Brand loyalty) และเกิดความผูกพันอย่างลึกซึ้งในตราสินค้า กลยุทธ์ที่ควรใช้และใช้อย่างต่อเนื่องก็คือการบริหารการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้า นำเสนอสินค้าที่ลูกค้าชื่นชอบ แน่นอนกิจการต้องเน้นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและต้องทำอย่างจริงใจ จริงจัง ต่อเนื่องและตลอดเวลา

7.กลยุทธ์ การวิจัยพฤติกรรมการซื้อ
ควรค้นหาข้อเท็จจริงจากลูกค้ามากขึ้น และควรวิจัยถึงเหตุผลในการซื้อมากกว่าการวิจัยทัศนคติ ความรู้สึก การรับรู้เท่านั้น เพราะในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้การรับรู้ว่าลูกค้ามีความรู้สึกอย่างไรเพื่อมาทำกลยุทธ์การตลาดให้ลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์เราอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ต้องรู้ข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุดว่าอะไรกันแน่ที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ เช่น กลยุทธ์วิจัยจากการจัดเก็บข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้าประจำจากบัตรสมาชิก มากกว่าการทำวิจัยสำรวจความชื่นชอบในตราสินค้า



8.กลยุทธ์ สร้างความโดดเด่นในการบริการอย่างเฉพาะเจาะจง
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องคุณค่า ความคุ้มค่าในการใช้จ่าย เช่น กลยุทธ์การติดต่อกับลูกค้าประจำ และให้ความสำคัญในการให้บริการเสริมที่ตามลูกค้าแนะนำ ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่ากิจการให้ความสำคัญและยอมรับฟังลูกค้านำเสนอบริการตามที่ลูกค้าแนะนำแน่นอนลูกค้าก็จะไม่ไปใช้บริการของคู่แข่งขัน

9.กลยุทธ์ สร้างความสะดวกสบาย ง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนในการซื้อสินค้าหรือในการเข้ารับบริการ
กลยุทธ์ที่ 9 นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ขณะที่ลูกค้าต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจซื้อมากขึ้น กิจการควรนำเสนอรูปแบบการบริการที่ช่วยให้การตัดสินใจของลูกค้ากระทำได้ง่ายขึ้น ไม่ลำบาก โดยมุ่งเน้นการสร้างสินค้าและบริการที่อำนวยความสะดวก เน้นความสบายให้ลูกค้ามากขึ้น เพื่อกระตุ้นความอยากใช้ อยากซื้อ


โดยรวมแล้วอาจจะมองว่า 9 กลยุทธ์การตลาดข้างต้นเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว แต่อาจมีหลายคนหลงลืมไปว่า นี่ก็คือกลยุทธ์ที่นักการตลาดทั่วโลกกำลังเร่งทำในช่วงภาวะวิกฤตเช่นนี้

เทคนิคการพัฒนาตน



ความหมายของการพัฒนาตน

การพัฒนาตน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า self-development แต่ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าการพัฒนาตน และมักใช้แทนกันบ่อยๆ ได้แก่ การปรับปรุงตน (self-improvement) การบริหารตน (self-management) และการปรับตน (self-modification) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเอง หรือเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่สังคมคาดหวัง

ความหมายที่ 1 การพัฒนาตนคือการที่บุคคลพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เหมาะสมกว่าเดิม ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการ แรงจูงใจ หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้

ความหมายที่ 2 การพัฒนาตนคือการพัฒนาศักยภาพของตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตน

แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตน

บุคคลที่จะพัฒนาตนเองได้ จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีความเชื่อหรือแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ แนวคิดที่สำคัญมีดังนี้

1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทำให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง
2. ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดๆ อีก
3. แม้บุคคลจะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ในบางเรื่อง ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเอง มีความสำคัญเท่ากับการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก
4. อุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิดติดยึด ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำ จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อตนเอง
5. การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเอง

ความสำคัญของการพัฒนาตน

บุคคลล้วนต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรืออย่างน้อยก็ต้องการมีชีวิตที่เป็นสุขในสังคม ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและความต้องการของตนเอง พัฒนาตนเองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลก การพัฒนาตนจึงมีความสำคัญดังนี้

ก. ความสำคัญต่อตนเอง จำแนกได้ดังนี้

1. เป็นการเตรียมตนให้พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับสถานการณ์ทั้งหลายได้ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
2. เป็นการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม ขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออกจากตัวเอง และเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
3. เป็นการวางแนวทางให้ตนเองสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้อย่างมั่นใจ
4. ส่งเสริมความรู้สึกในคุณค่าแห่งตนสูงให้ขึ้น มีความเข้าใจตนเอง สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนได้เต็มศักยภาพ

ข. ความสำคัญต่อบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลย่อมต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การพัฒนาในบุคคลหนึ่งย่อมส่งผลต่อบุคคลอื่นด้วย การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตนให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของผู้อื่น ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในที่ทำงาน สามารถเป็นตัวอย่างหรือเป็นที่อ้างอิงให้เกิดการพัฒนาในคนอื่นๆ ต่อไป เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชน ที่จะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ค. ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม ภาระกิจที่แต่ละหน่วยงานในสังคมต้องรับผิดชอบ ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติงาน การที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้พัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบการทำงานหรือเทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิควิธี หรือวิธีคิดและทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิต ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถแข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมไ

เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้


ทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้? ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดีจากการพูดคุย หรือจากการอ่าน เป็นต้น ดั้งนั้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

1. การสร้างความจำ ทางกายภาพสมองมนุษย์เราสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ภายในเวลา 1 / 1000 วินาที และโดยรู้ตัวหรือไม่ ข้อมูลที่เราได้รับจะอยู่ภายในสมองเราครบถ้วน เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากการ " การลืม " ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10 %จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเรา คำถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจำข้อมูลที่เราอยากจำได้ ?
1. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล
2. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร • ขนาดใหญ่กว่าความจริง • ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง • เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น

2. การอ่าน Information is power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่งและอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรกคือ ถามตัวเองก่อนกว่า " เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้
" เทคนิคในการอ่านเร็ว

ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ
การอ่านจับใจความสำคัญ : เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย
• เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา key concept >> ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง >> อ่านเจาะประเด็น ก็ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า
ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่นเป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร เป็นต้น
3. การฟัง ตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมองของเรา ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูก Memory ในสมองของเรา ซึ่งมีกลวิธีดังนี้

1.ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่

ความน่าเชื่อถือ ---->> เทคนิค
น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูด ---->> ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้ เขาพูด เป็นต้น
น่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ---->> ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลัง พูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก 2 ประโยคได้มั้ย?
ไม่น่าเชื่อถือ ---->> ให้เราฟังตามมารยาทสังคม

2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า " ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร "

3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่ หรือไม่ใช่

4. การคิด คนที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องที่มีประโยชน์ โดยมีระบบความคิดทั้งหมด 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

ประเภท ลักษณะ

1.Think objectively คิดอย่างเป็นกลาง--เห็นความจริงตรง ตามความจริง
2.Think productively คิด ตัดสินใจโดยมองที่ "ผล" เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่ง แล้วสามารถคิด พิเคราะห์ถึงผลทั้ง ด้านบวกและลบที่จะตามมา
3.Think positively คิดหาทางแก้ปัญหา เมื่อพบอุปสรรคก็ยังสามารถคิดหาทางพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
4.Think creatively ความคิดที่สร้างเหตุและปัจจัยอันใหม่ เพื่อ สร้างอนาคตของตัวเอง
ความสามารถในการเชื่อมโยง สิ่งต่าง ๆ ที่ เคยชินกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจสร้าง ได้โดยการถามตัวเองว่า "ทำอย่างไรจึงจะ
ทำงานของเราได้ดีกว่าเดิม?"
5.Think intuitively เป็นความคิดที่ได้มาจากการถาม ความรู้สึกภายใน
6.Think about the mode คิดเกี่ยวกับความคิดตัวเอง วิพากษ์วิจารณ์ความคิดตัวเองว่า คิดเป็นระบบหรือไม่, บิดเบือนความจริงหรือไม่, คิด ด้วยอารมณ์รึเปล่า : นักคิดระดับโลกต้องคิดอยู่เหนืออารมณ์
โดยสรุป ทุกคนสามารถเพิ่มความฉลาดให้ตัวเองได้ด้วย การระมัดระวังความคิด ถ้าจะคิดให้ใช้สมองคิดแต่เรื่องที่มีประโยชน์อยู่ตลอดเวลา

เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า


จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดั่งเช่น การทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าเราใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิด ถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงาน ระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎี พบว่า " สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลข้อมูล ที่มีความสลับซับซ้อน ได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์ " ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริง ทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะว่า เราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรา เรียนรู้ช้า และปัจจัยอะไรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ? เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจคันพบตัวเองก็ได้

ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า? เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิด ให้คิด ในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจาก คนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอก ชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีต หรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตนเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเอง เข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า, คิดไม่ชัดเจน คิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ

ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว?

1. เปลี่ยนความคิดจาก Negative >>> Positive

ทำงานอย่างมีเป้าหมาย : ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่า เรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น

ต้องรู้ระบบความคิดของเราก่อนว่า ความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ , เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น

ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิด Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน , ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น
2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ จากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ การสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว

3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใด ถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้อง เหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากพูดคุยกับผู้อื่น, การอ่าน, ต้องคิดหา logic ด้วยตัวเอง, ต้องเห็นด้วยตา
ฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
• รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว?
• ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด?

4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม , การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะ สูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้เรามีความสดชื่น กระตือรือร้น แล้วเมื่อเราออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมอง function ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้เราใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วนได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว

6. ควรเข้าใจการทำงานของสมอง การทำงานของสมองในส่วนความจำจะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้

ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า
ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย
จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอน
ทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้? ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดีจากการพูดคุย หรือจากการอ่าน เป็นต้น ดั้งนั้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. การสร้างความจำ ทางกายภาพสมองมนุษย์เราสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ภายในเวลา 1 / 1000 วินาที และโดยรู้ตัวหรือไม่ ข้อมูลที่เราได้รับจะอยู่ภายในสมองเราครบถ้วน เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากการ " การลืม " ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10 %จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเรา คำถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจำข้อมูลที่เราอยากจำได้ ?
1. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล
2. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร • ขนาดใหญ่กว่าความจริง • ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง • เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น
2. การอ่าน Information is power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่งและอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรกคือ ถามตัวเองก่อนกว่า " เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้
" เทคนิคในการอ่านเร็ว
ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ การอ่านจับใจความสำคัญ : เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย
• เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา key concept >> ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง >> อ่านเจาะประเด็น ก็ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่นเป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร เป็นต้น 3. การฟัง ตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมองของเรา ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูก Memory ในสมองของเรา ซึ่งมีกลวิธีดังนี้
1.ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่
ความน่าเชื่อถือ ---->> เทคนิค
น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูด ---->> ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้ เขาพูด เป็นต้น
น่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ---->> ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลัง พูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก 2 ประโยคได้มั้ย?
ไม่น่าเชื่อถือ ---->> ให้เราฟังตามมารยาทสังคม
2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า " ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร "
3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่ หรือไม่ใช่
4. การคิด คนที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องที่มีประโยชน์ โดยมีระบบความคิดทั้งหมด 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
ประเภท ลักษณะ
Think objectively คิดอย่างเป็นกลาง--เห็นความจริงตรง ตามความจริงThink productively คิด ตัดสินใจโดยมองที่ "ผล" เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่ง แล้วสามารถคิด พิเคราะห์ถึงผลทั้ง ด้านบวกและลบที่จะตามมาThink positively คิดหาทางแก้ปัญหา เมื่อพบอุปสรรคก็ยังสามารถคิดหาทางพลิกวิกฤตเป็นโอกาสThink creatively ความคิดที่สร้างเหตุและปัจจัยอันใหม่ เพื่อ สร้างอนาคตของตัวเอง
ความสามารถในการเชื่อมโยง สิ่งต่าง ๆ ที่ เคยชินกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจสร้าง ได้โดยการถามตัวเองว่า "ทำอย่างไรจึงจะ
ทำงานของเราได้ดีกว่าเดิม?"Think intuitively เป็นความคิดที่ได้มาจากการถาม ความรู้สึกภายในThink about the mode คิดเกี่ยวกับความคิดตัวเอง วิพากษ์วิจารณ์ความคิดตัวเองว่า คิดเป็นระบบหรือไม่, บิดเบือนความจริงหรือไม่, คิด ด้วยอารมณ์รึเปล่า : นักคิดระดับโลกต้องคิดอยู่เหนืออารมณ์โดยสรุป ทุกคนสามารถเพิ่มความฉลาดให้ตัวเองได้ด้วย การระมัดระวังความคิด ถ้าจะคิดให้ใช้สมองคิดแต่เรื่องที่มีประโยชน์อยู่ตลอดเวลา

“ยิ้ม" กลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้า


การทักทาย ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในทางบวก ( Positive Relations) การทักทายจัดได้ว่าเป็นพรแสวงที่ทุกคนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นมาได้ บุคคลที่รู้จักวิธีการทักทายผู้อื่นอย่างเหมาะสมด้วยกาลเทศะ เทคนิค และระดับของผู้ที่ถูกทักทายแล้วล่ะก็ บุคคลผู้นั้นย่อมมีเสน่ห์ชวนคบหาสมาคมด้วย การทักทายจึงเป็นเสมือนต้นน้ำของการสร้างสรรเสน่ห์ให้กับตนเองที่มีต่อบุคคล ต่าง ๆ ที่เป็นลูกค้าของตน ทั้งนี้รูปแบบและเทคนิคของการสร้างสัมพันธภาพที่ดีด้วยการทักทายมีได้หลาก หลายวิธีการ ซึ่งดิฉันขอเสนอลักษณะของการทักทายที่สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นด้วยวิธี การง่าย ๆ ดังต่อไป

ทักทายด้วยการคำพูด “ สวัสดี” คุณสามารถกล่าวคำ “ สวัสดีค่ะ ” หรือ “ สวัสดีครับ ” ได้กับทุก ๆ คน คำพูดง่าย ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่ไม่รู้จักมาก่อน หรือเป็นลูกค้าที่สนิทสนมด้วยแล้วก็ตาม เพราะการทักทายด้วยคำพูดเวลาเจอหน้ากันนั้นย่อมดีกว่าที่เราไม่ได้พูดคุย อะไรกันเลย เพียงแค่คำพูดไม่กี่คำที่ออกจากปากของคุณ จะเป็นเหมือนเชือกร้อยใจให้เกิดการสานต่อ ซึ่งอาจจะเป็นทางด้านธุรกิจต่อไปในอนาคต

ทักทายด้วยการ “ไหว้” การฝึกฝนตนเองให้มือไม้อ่อนไว้ ก่อนจะดีกว่าค่ะ ยิ่งถ้าคุณจะต้องไปพบเจอกับลูกค้าที่อาวุโสกว่า หรือมีคุณวุฒิมากกว่า หรือเป็นลูกค้าใหม่ที่คุณจะต้องไปทำความรู้จักพวกเขา คุณควรแสดงการทักทายด้วยการไหว้ แบบสองมือพนม การไหว้เป็นกิริยามารยาทที่สุภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของคนไทย การไหว้ที่ดีมิใช่สักแต่ว่าจะไหว้ การไหว้ที่ดีนั้นคุณเองควรจะยกมือทั้งสองข้างขึ้นพนม แล้วค่อย ๆ ก้มศีรษะเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนอบน้อมบุคคลที่คุณไหว้ด้วย ซึ่งคุณเองจะยิ่งมีเสน่ห์มาก หากคุณไหว้ด้วยพร้อมกับเอ่ยคำทักทายด้วยคำว่า “ สวัสดี ”

ทักทายด้วย “ รอยยิ้ม” ยิ้มเท่านั้นที่สามารถชนะใจลูกค้าได้ คนที่มีรอยยิ้มหรือเป็นคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บ่งบอกได้ว่าเป็นคนที่อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นบุคคลที่น่าคบหาสมาคมด้วย การผูกมิตรที่ง่ายและสามารถทำได้อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้น ควรจะเป็นการยิ้มแบบออกจากใจจริง

ทักทายด้วยการ “ ผงกศีรษะ” การแสดงความต้องการที่จะ ทักทายผู้อื่น ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว คุณสามารถแสดงกิริยาท่าทางด้วยการผงกศีรษะกับลูกค้าของคุณซึ่งอาจจะเป็น ลูกค้าที่ไม่สนิทสนมด้วย รู้จักกันแบบผิวเผิน หรือเคยเห็นหน้า เห็นตากันมาบ้าง นอกจากนี้คุณสามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่กำลังรีบเร่ง แต่บังเอิญพบเจอกับลูกค้า ซึ่งตัวคุณเองยังไม่มีเวลาแม้แต่จะกล่าวคำว่าสวัสดี คุณสามารถเลือกใช้การทักทายกับลูกค้าด้วยวิธีการนี้ได้ โดยส่วนใหญ่การทักทายด้วยวิธีนี้จะกระทำควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างรอยยิ้ม

ทักทายด้วยการ “ ถามถึงเรื่องทั่วๆ ไป” หากคุณรู้จักลูกค้าของตนเองดี รู้ว่าเขาชอบ ไม่ชอบอะไร คุณสามารถนำเรื่องดังกล่าวมาเป็นประเด็นที่จะทักทายเพื่อเริ่มต้นการพูดคุย กับลูกค้าของคุณต่อไปได้ หรือคุณนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดมาชี้นำหรือตั้งเป็นประเด็นคำถาม เพื่อทักทายลูกค้าที่รู้จักก็ย่อมได้

ทักทายด้วยการ “ ให้ของฝาก” คุณไม่จำเป็นต้องทักทายลูกค้าแบบเผชิญหน้าก็ได้ค่ะ ซึ่งคุณเองสามารถซื้อของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ ฝากใครก็ได้ส่งให้กับลูกค้าของคุณเอง เป็นการผูกใจลูกค้าค่ะ พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ใส่ใจหรือสนใจกับมูลค่าของของฝากที่คุณมอบให้มากนัก แต่สิ่งที่พวกเขาสนใจก็คือ ความเอาใจใส่ที่คุณได้มอบให้มากกว่า เป็นการซื้อใจลูกค้า เพราะอย่างน้อย ๆ ผู้รับจะรู้สึกดีและประทับใจกับของฝากที่คุณมอบให้ ทั้งนี้การซื้อของฝากควรจะพิจารณาให้เหมาะสมกับวาระ โอกาส เหตุการณ์ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ลูกค้าด้วย

ในทางกลับกัน หากคุณเป็นฝ่ายที่ถูกทักทายด้วยแล้ว คุณเองควรจะสนองตอบการทักทายนั้นด้วยเช่นกัน จงอย่าปล่อยให้ผู้ทักทายรู้สึกเสียหน้า หรืออับอาย เนื่องจากคุณไม่ยิ้มให้ หรือไม่พูดด้วยเลย เพราะเมื่อเกิดความรู้สึกเช่นที่ว่านี้แล้ว แน่นอนว่าต่อไปบุคคลนั้นอาจจะไม่เข้ามาทักทายคุณอีกต่อไปก็เป็นได้ และเหตุการณ์เช่นที่ว่านี้จะส่งผลต่อสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นในทางลบ จงอย่ารอให้ลูกค้าเข้ามาทักทายคุณก่อน การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ตัวเราควรจะเป็นฝากรุก รุกเข้าหาลูกค้าเพื่อสานต่อความผูกพัน อันนำมาซึ่งเสน่ห์ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้จากการทักทายในรูปแบบที่แตกต่าง กันออกไป

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา