MBA HOLIDAY

Custom Search

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Common stock

Common stockของบริษัทเล็กๆ ก็อาจไม่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไป เจ้าของของมันก็อาจจะมีไม่กี่คน เช่น เจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารบางคน ซึ่ง Common Stock เหล่านี้จะไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดหุ้น ต่างกับ Common Stock ของบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งจะถูกซื้อขายกันในตลาดหุ้น ซึ่งเราสามารถแบ่งตลาดหุ้นได้ออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

1. Primary Market หรือ ตลาดหลัก หรือ ตลาดสำหรับ IPO  (initial public offering) ซึ่งเป็นตลาดสำหรับบริษัทที่เปิดโอกาสให้สาธารณะชนเข้ามาซื้อหุ้นของตนเป็นครั้งแรก เรียกว่าการทำ IPO (หุ้น IPO เรียกอีกชื่อว่า หุ้นจอง) ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดที่กิจการทั้งหลายใช้ระดมทุนเพื่อขยายกิจการนั่นเอง ตลาดหลักเป็นตลาดที่ทำให้เงินเข้าบริษัทเพื่อนำไปใช้ในกิจการ หลังจากนั้น บริษัทก็จะนำหุ้นของบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดรอง เพื่อให้หุ้นของบริษัทกลายเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายในตลาดรองต่อไปได้
2. Secondary Market หรือ ตลาดรอง (หรือตลาดหุ้น ในภาษาคนทั่วไป) ซึ่งเป็นตลาดที่คนทั่วไปซื้อขายหุ้นกันอยู่ทุกวันนี้ การซื้อขายหุ้นในตลาดรองนี้จะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนมือไปมาระหว่างนักลงทุนเท่านั้น ไม่ได้มีเงินเข้าบริษัทเพื่อนำไปใช้ในกิจการอีกต่อไป แต่ความสำคัญของตลาดรองก็คือ เป็นตัวที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้น IPO ของบริษัท ถ้าไม่มีตลาดรองหรือตลาดหุ้น ก็อาจไม่มีคนกล้าซื้อหุ้น IPO อีกต่อไป เพราะกลัวจะขายไม่ได้

Closing Price

ราคาของหลักทรัพย์ใดๆ ที่เกิดจากการซื้อขายรายการสุดท้ายในแต่ละวันทำการ ปัจจุบันระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะหยุดจับคู่คำสั่งซื้อ/ขายด้วยวิธีอัตโนมัติ (Automated Order Matching หรือ AOM) ณ เวลา 16.30 น. แต่จะยังคงรับคำสั่งซื้อ/ขายจากบริษัทสมาชิกมาเรียงลำดับไว้ในระหว่าง 16.30 - 16.35 น. จากนั้น ระบบคอมพิวเตอร์จะสุ่มเลือกเวลาปิดในช่วงระหว่าง 16.35 - 16.40 น. และนำคำสั่งซื้อ/ขายทั้งหมดที่ค้างในระบบจนถึงเวลาปิด มาคำนวณหาราคาปิดของแต่ละหลักทรัพย์ ด้วยวิธี Call Market ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
- ใช้ราคาที่ทำให้เกิดการซื้อขายได้ในปริมาณมากที่สุด 
- ถ้ามีราคาตามข้อ 1 มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายในลำดับก่อนหน้าที่เริ่มใช้วิธี Call Market 
- ถ้ามีราคาตามข้อ 2 มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่าราคาดังกล่าว 
- ถ้าช่วงที่ใช้วิธี Call Market ไม่สามารถหาราคาปิดได้ (เนื่องจากการซื้อขายขาดสภาพคล่อง) ให้ใช้ราคาซื้อขายที่เกิดจากวิธี AOM ในลำดับก่อนหน้านั้น เป็นราคาปิด 

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการลดต้นทุน

การลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ
 1.1 ใช้หลักวิศวกรรมคุณค่าในการวิเคราะห์วัตถุดิบว่ามีความเหมาะสมกับการผลิต การใช้งานหรือไม่ สามารถ
 นำวัตถุดิบอื่นมาทดแทนได้หรือไม่ แล้วจัดทำอย่างไรให้มีการสูญเสียในการผลิตให้น้อยที่สุด
 1.2 ขจัดความสูญเสียของวัตถุดิบ เช่น เปลี่ยนวิธีการผลิตเพื่อให้สูญเสียน้อยลง หรือจัดกระบวนการจัดเก็บ
 วัสดุคงคลังให้มีประสิทธิภาพ
  2. ต้นทุนการทำงานของเครื่องจักร
 2.1 ทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ถูกต้องเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ซึ่งจะก่อให้เกิดการ
 ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง สามารถผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ส่งมอบสินค้าได้ตรงตามเวลาที่กำหนดเวลา และทำให้ของเสียลดลง
 2.2 เรียนรู้การปฏิบัติงานอย่างถูกวิธีเพื่อให้เครื่องจักรมีสภาพดีไม่ต้องซ่อมแซมบ่อย ๆ
 2.3 อย่าปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่มีการผลิตเพราะจะเป็นการสูญเสียพลังงานโดยไม่เกิดประโยชน์
  3. ต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
  การลดต้นทุนด้านแรงงานนี้ไม่ใช่การลดต้นทุนโดยการลดเงินเดือนของพนักงาน หรือปลดพนักงานออกเพื่อ
 ให้ต้นทุนต่ำลง แต่เป็นการปรับปรุง พัฒนาพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ โดยควรคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
 3.1 ฝึกอบรมให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการทำงาน
 3.2.ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 3.3 ฝึกพนักงานให้มีทักษะการทำงานหลายๆ ด้านเพื่อให้สามารถทำงานทดแทนกันได้เมื่อพนักงานบางคน
 ขาดงาน หรือทำงานไม่ทัน

Talent

Talent หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลงานที่โดดเด่นเหนือ บุคคลอื่น ซึ่งอาจมีลักษณะที่ แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร โดยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ลักษณะธุรกิจนโยบายวัฒนธรรมองค์กร และกลยุทธขององค์กรว่าต้องการเดินไปในทิศทางใด
ลักษณะทั่วไปของคนเก่ง หรือมีศักยภาพสูง คือ
1. มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการนำตัวเองไปสู่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
2. สามารถแก้ปัญหาได้ดี วางแผนป้องกันปัญหาได้
3. เรียนรู้ได้รวดเร็ว
4. มีความกระตือรือร้น
5. มีความคิดสร้างสรรค์
6. มีความเป็นผู้นำ
7. มีวิสัยทัศน์
8. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งภายในได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
รวมถึงการประสานงานกับภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้นความสามารถของบุคคลเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อ การบรรลุเป้าหมายของ องค์กร และบุคคลเหล่นี้จะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ รือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคตการจัดการกับคนเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์
(Human Capital Management) ซึ่ง
• เป็นการรักษาประสิทธิภาพขององค์กร
• ลดอัตราสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้และประสพการณ์
• นำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน
กระบวนการจัดการคนเก่ง
1. การสรรหาคนเก่ง
2. การคัดเลือกหรือระบุคนเก่งขององค์กร
3. การพัฒนาคนเก่ง
4. การบริหารและจูงใจคนเก่ง
5. การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร
การสรรหาคนเก่ง
ในกระบวนการสรรหาคนเก่งนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนบางบริษัทเช่น Microsoft ต้องตั้งทีมสรรหาคนเก่งไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน โดยการไปสัมภาษณ์และรับนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยที่กำลังใกล้จบ ในการสรรหาคนเก่งนั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่องค์กรอยากได้
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้
3. หาแหล่งเป้าหมายที่จะเข้าถึงคนเหล่านี้

แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)

แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็นคุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้งเจ้าของกิจการ และพนักงานต่างร่วมกัน ค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซนวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายราย ที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไปทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความรู้สึก หรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะ เกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป 

การวิเคราะห์ (Analysis)

  1. การวิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element)
    เป็นการค้นหาคุณลักษณะเด่นของเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ เช่น ความเด่นของข้อความ ความสำคัญของเรื่อง ความนัยของคำพูดหรือกระทำต่าง ๆ วิเคราะห์ชนิด วิเคราะห์สิ่งสำคัญ และวิเคราะห์เลศนัย
  2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( Analysis of relationships)
    เป็นการค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญใด ๆ ของเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล โดยที่สิ่งทั้งสองสิ่ง
  3. การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles)
    เป็นการค้นหาโครงสร้าง และ ระบบของวัตถุสิ่งของเรื่องราว และการกระทำต่าง ๆรวมกันอยู่ในสภาพนั้นได้เนื่องด้วยอะไร ยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์

Affective Domain

จิตพิสัย (Affective Domain) หมายถึงพฤติกรรมทางด้านจิตใจ เช่น ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด ดังนั้น การส่งข่าวสารที่สอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลาโดยใช้รูปแบบการโฆษณาที่เหมาะสม จะทาให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ ด้านจิตพิสัยจะประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ5ระดับได้แก่
1 การรับรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้บริโภคเลือกที่จะให้ความสนใจต่อข่าวสารใดข่าวสารหนึ่ง เลือกที่จะรับรู้และตีความหมายของข่าวสาร โดยการใช้ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล ตลอดจน ความเชื่อ ทัศนคติ แรงจูงใจในขณะนั้น และหลังจากเลือกตีความข่าวสารแล้ว ผู้บริโภคจะเลือกที่จะจดจาข่าวสารบางอย่างไว้ในความทรงจาของตน
2 การตอบสนอง เป็นการกระทาที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอมและพอใจต่อสิ่งเร้านั้นซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3 การเกิดค่านิยม การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4 การจัดระบบ การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ ถ้าเข้ากันได้กับวิถีการดาเนินชีวิตผู้บริโภคหรือเข้ากันได้กับค่านิยมเดิมก็จะมีการยึดถือต่อไป แต่ถ้าค่านิยมใหม่ขัดกันกับค่านิยมเดิมอาจเกิดการไม่ยอมรับ
5 บุคลิกภาพ การนาค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจาตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของผู้บริโภค

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา