MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การตลาดเชิงรับ (Defensive marketing strategy)


กลยุทธ์ในกลุ่มนี้มีไว้เพื่อป้องกัน Market Share, Mind Share, Brand Positioning และ Profitability จากการจู่โจมและช่วงชิงของคู่แข่ง การตั้งรับที่ดีจะทำให้มี Superior Positioning ทันทีเมื่อเทียบกับคู่แข่งในทุกครั้ง หัวใจของการตั้งรับอยู่ที่ว่าเราต้องพยายามหาจุดอ่อนของเราอยู่ตลอดเวลาเพื่อสกัดให้ได้เมื่อถูกโจมตีหรือพยายามเปลี่ยนให้เป็นจุดแข็ง เรียกว่าเป็นการทำ Weakness audit หลักการอื่น ๆ ก็คือต้องสอดส่องว่าคู่แข่งรายใดจ้องจะโจมตีเราบ้างและเมื่อใด การจะใช้กลยุทธ์ให้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อ Defenders มีการโต้ตอบที่สมน้ำสมเนื้อหรืออาจต้องหนักกว่าการโจมตีจากผู้คุกคาม และต้องพยายามป้องกันทุก Strategic Markets ให้ได้ มีกลยุทธ์ดังนี้
1. Position Defense ตั้งรับแบบไม่เปลี่ยนแปลง Core Positioning และ Mainstream Strategy
แต่เป็นการสร้าง Entry Barriers ให้กับผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อทำให้คู่แข่งมีอุปสรรคมากขึ้นในการโจมตีผลิตภัณฑ์ในตลาด Tactic ที่นิยมใช้คือ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อให้ เกิด Brand Bonding และ Brand Relationship ที่เหนียวแน่นกับลูกค้าชั้นดีซึ่งมักเป็นชนกลุ่มน้อยที่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจ ที่นักวิชาการมักเรียกว่า 80/20 Rule ธุรกิจบางรายถึงกับ Ignore ลุกค้า 80 % เมื่อลด cost ของการ serve ลูกค้าที่ไม่ Profitable เพื่อเพิ่ม Bottom Line โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มี High-Variable Cost Business Model นอกจาก CRM แล้วยังมี Tactics อื่น ๆ เช่น การจด Patent Protection, การทำ Exclusive Agreements กับ Dealers และ Channel Members
2.Mobile Defense คล้ายกับ Positioning defense ต่างกันที่ Mobile Defense เป็นการตั้งรับแบบเป้าเคลื่อนที่ มีการเปลี่ยนแปลง Positioning และ Strategy อยู่ตลอดเวลาทำให้ทำให้คู่แข่งยาก ที่จะโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล Tactics ที่นิยมใช้คือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาเรื่อย ๆ (Series of New Product Introduction) การเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ (Product/Brand Repositioning) การเปลี่ยนกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย (New Promotional Tools & Tactics) การเข้าตลาดใหม่ (Market Development) รวมถึงการเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Market Penetration into New Targeted Segments) กลยุทธ์ Mobile Defense จะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อลักษณะขององค์กรเป็นแบบ Lean & Flexible Management Organization สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
3.กลยุทธ์ Counter Offensive เป็นการโต้ตอบแบบย้อนรอยเพื่อลด Impact จากการโจมตี โจมตี ของคู่แข่ง เช่นถ้าคู่แข่งออก New Ad Campaign เพื่อ claim จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ เราก็อาจจะออก Ad Campaign เพื่อ claim จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์คู่แข่งที่ไม่พบในผลิตภัณฑ์ของเรา
4. กลยุทธ์ Pre-emptive Strike แตกต่างจากกลยุทธ์ Counter Offensive ตรงที่เป็นฝ่าย โจมตีก่อนเนื่องจากทราบว่าคู่แข่งจะโจมตี
5. กลยุทธ์ Flank Position เน้นการตั้งรับเพื่อป้องกัน Market Share จากการถูกโจมตี แบบไม่เผชิญหน้า ถ้าหากตั้งรับไม่ไหวก็ใช้กลยุทธ์ Withdrawal
6.กลยุทธ์ Withdrawal เริ่ม Drop ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกำไรและลด Resources ใน
Operating Market Segments ลงไปเรื่อย ๆ ถึงขั้น Drop Brand และอาจยกเลิกธุรกิจ


กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกมีหลายรูปแบบเช่น Frontal Attack, Flanking Attack, Envelopment (or Encirclement) Strategy, และ Leapfrog Strategy กลยุทธ์แต่ละแบบมีลักษณะเฉพาะตัวดังนี้คือ สำหรับ Frontal Attack เป็นการโจมตีคู่แข่งแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือในภาษาของนักการตลาดก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นการ Match กันแบบ P by P เลยก็ว่าได้ เช่น Match Product ของคู่แข่ง, Match Price ของคู่แข่ง, Match Advertising ของคู่แข่ง, และ/หรือ Match Place ของคู่แข่งซึ่งก็คือ Distribution Channel นั่นเอง การใช้กลยุทธ์ Frontal Attack บ่อยครั้งมักจะไม่ได้ผลเนื่องจากเหตุผลง่ายๆคือ โดยทั่วไป Market Leader มักจะมี Marketing-Mix (4P’s) Strategy ที่เหนือกว่าคู่แข่งทุกรายใน Industry จึงทำให้เค้าเป็นผู้นำตลาด ดังนั้นถึงแม้เค้าจะถูกโจมตีอย่างไม่คาดคิดมาก่อนแต่เมื่อตั้งตัวได้ก็มักจะสามารถ Retaliate เพื่อตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจนสามารถแย่ง Market Share กลับคืนมาได้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้ Frontal Attack จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ไม่ว่าอย่างไรก็ตามกลยุทธ์นี้จะได้ผลดีขึ้นถ้าความต้องการสินค้าของตลาดค่อนข้าง Homogeneous หรือลูกค้าไม่ค่อยมี Brand Loyalty ซึ่งมักจะเกิดในกรณีที่ Product ไม่ค่อยจะมีความแตกต่าง (Undifferentiated) สุดท้ายก็คือผู้ที่จะใช้กลยุทธ์นี้ต้องมั่นใจว่าเขามี Resource มากกว่าคู่แข่งในทุกๆด้าน ถ้าท่านผู้อ่านยังไม่เห็นภาพของ Frontal Attack หรือยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ อยากให้นึกถึงเวลาดูมวยแล้วถ้าเห็นนักมวยทั้งสองฝ่ายยืนแลกหมัดกันกลางเวทีจนได้เสียกันไปข้างหนึ่งหรืออาจจะเป็นการชกกันแบบแลกอาวุธที่ต่างฝ่ายต่างถนัดอย่างชนะใจคาดู ไม่มีการจด ๆ จ้อง ๆ จนอาจเรียกได้ว่างานนี้คงไม่มีการชนะคะแนนเป็นแน่หรือในภาษาของนักเลงมวยในต่างประเทศมักจะพูดกันว่า The Last Man Standing คือผู้ชนะ ตัวอย่างทีเห็นได้ชัดก็เวลาที่ Mike Tyson ต่อยในสมัยที่เค้ายังรุ่งโรจน์เรียกได้ว่าห้ามกะพริบตาเลยทีเดียว

สำหรับ Flanking Attack เป็นการโจมตีจุดอ่อนของคู่แข่งโดยใช้จุดแข็งที่ตนเองมีอยู่ ถ้าใครได้ดูมวย Match ที่ Oscar De La Hoya ที่เพิ่งจะถูกน็อคในรูปแบบที่ไม่คาดคิดมาก่อนโดยคู่ต่อสู้ Bernard Hopkins ด้วยการต่อยเข้าที่ชายโครงขวาของ Oscar ซึ่งเป็นจุดอ่อนของนักมวยเกือบทุกคนเพราะจะทำให้จุกเนื่องจากตับที่อยู่ข้างใต้ชายโครงด้านขวาได้รับการกระทบกระเทือน ลักษณะการชกของ Hopkins อาจถือได้ว่าเป็น Classical Case ของ Flanking Attack เนื่องจากเป็นการชกที่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า (Avoid Head-On Confrontation) เข้าออกอย่างรวดเร็วแบบไม่มี Pattern ที่แน่นอน (Stealth-Like Attack) เพื่อไม่ให้ Oscar จับทางมวยได้และในที่สุดก็ส่ง Oscar ลงไปนอนจุกจนไม่สามารถลุกขึ้นมาชกต่อได้ (Surprise Move) ลักษณะการสู้เช่นนี้ถือได้ว่าเป็น Unique Characteristics ของ Flanking Attack

ในทางการตลาด Flanking Attack มักจะถูกนำมาใช้ในการโจมตี Weak Market Segment(s) ของคู่แข่งที่เขาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือ Non-Critical Segment(s) ที่ไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างดีเท่าที่ควรจากคู่แข่ง กรณีเช่นนี้เราอาจเรียกว่า Offensive Flanking-Attack Strategy ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ กรณีที่เบียร์ช้างถล่มเบียร์สิงห์จนเบียร์ช้างสามารถขึ้นมาเป็น Brand Leader ได้ในเวลาไม่นานนักเมื่อเทียบกับระยะเวลาทั้งหมดที่เบียร์สิงห์ได้ทุ่มเทลงไปในการใช้สร้าง Brand Equity จนได้ครอบครองความเป็นเจ้าตลาดถึงขั้นที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Brand ที่เป็นสัญลักษณ์และตำนานเบียร์ของชาติไทยไปแล้ว (Symbolic & Legendary Thai-Beer Brand) ใครจะไปคิดว่า Brand ระดับนี้จะมีใครมาถล่มได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะ Brand น้องใหม่ (ในสมัยนั้น) อย่างเบียร์ช้าง แต่ช้างก็ทำได้สำเร็จโดยเริ่ม Kick-Off Campaign ด้วย Offensive Flanking Attack โดยจับ Lower-End Segment (Singha’s Weak Market Segment) ที่เบียร์สิงห์ไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าที่ควร หลังจากที่เริ่ม Gain Brand Awareness และ Brand Momentum เบียร์ช้างก็ Finish Off เบียร์สิงห์ด้วย Tying-Agreement Channel Strategy กับ Key Channel Members เพื่อให้กลายเป็น Captive Customers ของเบียร์ช้าง กลยุทธ์นี้ส่งผลให้เบียร์ช้าง Gain Critical Mass จากเบียร์สิงห์อย่างรวดเร็วและ Take a Lead ในที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกอะไรที่ Offensive Flanking-Attack Strategy ได้กลับมาเป็นที่นิยมในหลากหลายธุรกิจในปัจจุบันนี้

การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน(Market focus)
การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน(Market focus)
หมายถึง ขอบเขตซึ่งบริษัทเน้นการตลาดอยู่ในวงจำกัดที่แคบ (Narrowly defined)ซึ่งการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้ แต่การมุ่งที่ตลาดเฉพาะส่วนจะเป็นพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทในการดำเนินการของข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differantiation strategy)
ปกติจะมีความสัมพันธ์กับการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่เน้นการตลาดอยุ่ในวงแคบ (ในส่วนเล็กของตลาด) ส่วนตลาดกว่างที่เป็นตลาดมวลชน (Mass market) มักไม่เน้นการสร้างความแตกต่างให้เป็นหมวดหมุ่ตามประเภทสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานของสถาพ (Status) และภาพลักษณ์ (Image) ของสินค้า เพราะสัญลักษณะของสถานภาพ (Status symbol) จะสูญเสียประสิทธิภาพไปถ้าถูกนำมาใช้กับสินค้าจำนวนมาก นอกจากนั้นบริษัทซึ่งมุ่งตลาดเฉพาะส่วน ในส่วนแบ่งตลาดเฉพาะเจาะจงจากตลาดโดยรวมทั้งหมดก็จะมีสถานะภาพที่ดีกว่าในการนำเสนอรูปแบบสินค้าที่มีความแตกต่างให้น่าสนใจไปสู่ส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวได้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัท Tendem ประสบความสำเร็จอย่างมากในการใช้การวงกลยุทธ์แบบนี้ โดยการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่เน้นทางด้านมาตรการ การรักษาความปลอดภัยมาใช้กับการขายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe computer)

กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership strategy)
ปกติมีความสัมพันธ์กับตลาดเป้าหมายที่มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง ซึ่งมักจะมุ่งให้ได้ปริมาณการผลิตจำนวนมากของสินค้าแต่ละตัว และปริมาณจำนวนมากนี้เองก็มีผลต่อการลดต้นทุนที่ต่ำลงโดยวิธีการประหยัดจากขนาดของการผลิต (Economics of scale) และเส้นโค้งประสบการณ์ (Experience eurve effects) ซึ่งวิธีการประหยัดจากขนาดของการผลิตเฉลี่ยค่าใช้จ่าย หรือการลงทุนไปสู่จำนวนการผลิตที่มีมากขึ้น ตัวอย่าง สายการบินได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการบริการขายบัตรโดยสาร และกำหนดตารางการบินของเครื่องบิน แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่จะมีต้นทุนต่ำลง เมื่อคำณวนจากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจึงให่้ผลคุ้มค่าสำหรับสายการบินขนาดใหญ่ มากกว่าสายการบินขนาดเล็ก ส่วนใจด้ายประสบการณ์จะเกิดประโยชน์เมื่องานสามารถดำเนินไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการปฎิบัติสิ่งเหล่านั้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกระทั่งเกิดความชำนาญและกระบวนการในการทำงานก็กลายเป็นงานประจำวัน (Routine) ขึ้นมา

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ การสร้างความแตกต่างและการเป็นผู้นำด้านต้นทุนสามารถกำหนดเป็นกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานได้ 5 ประการ (Five generic dompetitive strategics)

1.กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน จากการใช้ต้นทุนต่ำ (Lower cost) โดยมุ่งที่ตลาดโดยรวม
2.กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างโดยมุ่งที่หลายตลาด (A broad differentiation strategy) กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) โดยมุ่งที่หลายตลาด
3.กลยุทธ์การแสวงหาต้นทุนที่ดีที่สุด (A best-cost provider strategy) เป็นกลยุทธ์ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้นโดยการเชื่องโยงระหว่างการเน้นต้นทุนต่ำ ร่วมกับการสร้างความแตกต่างโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการใช้ต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด (ต้นทุนต่ำสุด) และตั้งราคาที่สัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ทางด้านคุณภาพและลักษณะที่มองเห็นได้
4.กลยุทธ์ต้นทุนต่่ำโดยมุ่งเฉพาะกลุ่ม (A focused lower-cost strategy) หรือกลยุทธ์ต้นทุนต่ำโดยมุ่งตลาดส่วนเล็ก (Market niche strategy based on lower cost strategy) กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน จากการใช้ต้นทุนต่ำ (Lower cost) โดยมุ่งส่วนที่แคบและแข่งขัน โดยให้บริการสมาชิกส่วนเล็กด้วยต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขัน
5.กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างโดยมุ่งเฉพาะกลุ่ม (A focosed differentiation strategy) หรือกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างโดยมุ่งตลาดส่วนเล็ก (Market niche strategy based on differentiation) กลยุทธ์น้ำเป็นกลยุทธ์ที่สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน จากการใช้ต้นทุนต่ำ (Lower cost) โดยมุ่งส่วนที่แคบและแข่งขันด้ายความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน

การวิเคราะห์ธุรกิจด้วยหลัก SWOT

ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก และการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงแบบขนานใหญ่ (Upheaval) ทำให้องค์กรทุกองค์กรได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากองค์กรใดไม่สามารถปรับตัวจากผลกระทบดังกล่าวได้ องค์กรนั้นก็จะตกขอบหรือสูญพันธ์ไปได้ในที่สุด ดังนั้นรูปแบบในการปรับเปลี่ยน ประการแรก คือการปรับองค์กรให้มีขนาดเล็กลง (Downsizing) เพื่อลดกฎข้อบังคับ(Deregulation) ต่าง ๆ ให้เหลือน้อยลง เนื่องจากกฎข้อบังคับต่าง ๆ จะเป็นจุดอ่อน (Weakness) หรือข้อจำกัดในการแข่งขันขององค์กร ประการที่สอง องค์กรจะต้องกลับมาพิจารณาว่าเจตจำนงของกลยุทธ์ (Strategic Intent) ภายในองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง โดยให้จำแนกถึงแรงกดดันการเปลี่ยนแปลงจากภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจตจำนงของกลยุทธ์ รวมทั้งการประเมินผลการย้อนกลับทางด้านสมรรถนะในการดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย ซึ่งกระบวนการดังกล่าว คือการสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) ในระยะยาวให้กับองค์กร ที่กำลังจะปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรใหม่ในอนาคต อย่างไรก็ตามการวางรูปแบบทางแผนกลยุทธ์ที่นิยมอาจมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบในการดัดแปลง (Adaptive) รูปแบบนี้จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Uncertain environment) ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อให้การดำเนินงานมีความถูกต้อง (Right to play) ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นการวางรูปแบบ ที่เน้นกลยุทธ์ (Strategic Approach) การวางรูปแบบนี้ต้องคำนึงถึงระดับของสภาพแวดล้อมภายนอกที่ไม่แน่นอนจนมีผลกระทบต่อกลยุทธ์ ทำให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมทางกลยุทธ์อาจมีผลทำให้องค์กรทราบถึงจุดอ่อน และนำจุดอ่อนกลับมาวางรูปแบบในการป้องกันองค์กร เพื่อให้องค์กรปราศจากวิกฤตหรืออยู่รอดปลอดภัยในการดำเนินการทางธุรกิจ
โดยทั่วไปคำว่าภารกิจ (Mission) มีความหมายที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ที่แท้จริงของฝ่ายบริหารที่จะให้หน่วยงานต่าง ๆ นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการบริหารงาน ส่วนคำว่าวิสัยทัศน์ (Vision) แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของฝ่ายบริหารอาวุโส ที่มุ่งเน้นอธิบายตำแหน่งของการแข่งขันที่บริษัทต้องการให้บรรลุผลตามกรอบระยะเวลาที่องค์กรกำหนดไว้ โดยพนักงานต้องมีความสามารถ ในแง่ทักษะหลัก (Core Competencies) ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานจนทำให้องค์กรก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ โดยสรุปแล้ววิสัยทัศน์จะเป็นการวางกรอบในการจัดทำแผนกลยุทธ์ในแนวกว้างสำหรับองค์กรไปสู่อนาคตนั่นเอง
ดังนั้น ก่อนจัดทำแผนกลยุทธ์ องค์กรจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ SWOT (Strength ; Weakness ; Opportunity Threat) เสียก่อน เพื่อให้เกิด Value และความสามารถในเชิงทักษะในการดำเนินงาน ทั้งนี้อาจจะใช้รูปแบบของแนวความคิดวงจรชีวิตของบริษัท (Company life cycle concept) และกรอบการบริหาร 7?S ของ McKinsey มาดำเนินการวิเคราะห์ SWOT สำหรับองค์กร ก็ได้ ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT มีรายละเอียดดังนี้
ศักยภาพภายในที่เป็นจุดแข็ง (Strength)

- หน่วยงานที่สำคัญต้องมีความสามารถหลัก (Core Competencies)
- มีทรัพยากรทางด้านการเงินที่ดีพอ
- ผู้ซื้อมีความคิดที่ดีต่อองค์กรหรือผลิตภัณฑ์
- ทุกคนทราบดีว่าเราเป็นผู้นำทางการตลาด
- พนักงานทุกคนเข้าใจเป็นอย่างดีกับกลยุทธ์ของทุกหน่วยงาน
- การผลิตหรือการดำเนินการมีลักษณะการผลิตแบบประหยัดตามขนาด (Economics of Scale)
- มีระบบป้องกัน (อย่างน้อยที่สุดต้องมีอะไรบ้างเป็นตัวป้องกัน) จากแรงกดดันของการแข่งขันที่รุนแรงจากภายนอก
- เป็นเจ้าของสิทธิบัตรทางด้านเทคโนโลยีเป็นของตนเอง
- มีข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน
- มีการรณรงค์เกี่ยวกับการโฆษณาทีดีเยี่ยม
- มีทักษะทางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
- มีการบริหารการจัดการการตรวจสอบ
- มีแนวโน้มในด้านความชำนิชำนาญที่สูงขึ้น
- มีขีดความสามารถในการผลิตที่ดีเยี่ยม
- มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูง
- อื่น ๆ

ศักยภาพภายในที่เป็นจุดอ่อน (Weakness)
- ทิศทางของแผนกลยุทธ์ไม่มีความชัดเจน
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ล้าสมัย
- สามารถทำกำไรได้สูงกว่าราคา Par เฉพาะบาง Par เท่านั้น เพราะ??.
- ขาดการบริหารการจัดการที่เจาะลึก และความรู้ความสามารถ
- ขาดทักษะที่สำคัญบางประเภทไป หรือความสามารถในเชิงทักษะ
- ไม่มีการจดบันทึก การติดตามการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
- มีปัญหาในการปฏิบัติงานภายในเกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร
- ไม่มีการทำ R&D
- สายงานของตัวผลิตภัณฑ์ มีลักษณะค่อนข้างแคบ
- ภาพลักษณ์ทางการตลาดอยู่ในเกณฑ์แย่มาก
- เครือข่ายการจำหน่ายแย่มาก
- ทักษะทางการตลาดอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย หรืออยู่ในเกณฑ์ต่ำ
- ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจำเป็นทางด้านการเงินในแผนกลยุทธ์ได้
- ต้นทุนโดยรวมของหน่วยสูงกว่าคู่แข่งขันที่สำคัญ ๆ
- อื่น ๆ

ศักยภาพภายนอกที่เป็นโอกาส (Opportunity)
- ความสามารถในแง่การให้บริการกับกลุ่มลูกค้า หรือ การขยายตลาดใหม่ หรือส่วนแบ่งทางการตลาด
- เส้นทางการขยายผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามพิสัยในแนวกว้างของความจำเป็นของลูกค้า
- ความสามารถในการถ่ายทอดทักษะ หรือ ความรู้ในการดำเนินการด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจใหม่
- การบูรณาการแบบมองไปข้างหน้า (Forward) หรือแบบมองไปข้างหลัง (Backward)
- มีการทำลายการปิดกั้นทางการค้า เพื่อดึงดูดใจตลาดต่างประเทศเข้ามาทำธุรกรรม
- ธุรกิจส่วนใหญ่เน้นการสร้างความพึงพอใจ
- มีความสามารถในการสร้างความเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะตลาดมีอุปสงค์เพิ่มสูงขึ้นมาก
- มีการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปด้วย

ศักยภาพภายนอกที่เป็นข้อจำกัด (Threat)
- คู่แข่งขันชาวต่างชาติมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
- ผลิตภัณฑ์ทดแทนการนำเข้ามีราคาสูงขึ้น
- ตลาดมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความผันผวนค่อนข้างมาก และนโยบายการค้าของรัฐบาลต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
- ต้องการควบคุมทางด้านต้นทุน
- มีสภาวะถดถอย และวงจรธุรกิจขาดเสถียรภาพ
- มีอำนาจในการเจรจาต่อรองกับลูกค้า และผู้ส่งมอบมากยิ่งขึ้น
- รสนิยม และความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- มีการเปลี่ยนแปลงประชากรเพิ่มมากยิ่งขึ้น
- อื่น ๆ

McKinney 7-S Framework


ซึ่งเผยแพร่ผลการวิจัยการเทียบเคียงข้อมูลของบริษัทชั้นนำกว่า 60 บริษัทด้วยเกณฑ์การประเมินเดียวกัน ซึ่งปรากฏผลว่ามีบริษัทเพียงจำนวนหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทชั้นเลิศ (Excellence companies) ซึ่งมีความโดดเด่นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในด้านนวัตกรรม และการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยกรอบแนวคิดพื้นฐานที่นำมาใช้ในการคัดสรรบริษัทต่าง ๆ นั้น เรียกว่า McKinney 7-S Framework ซึ่งกรอบแนวคิดประกอบด้วยปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์การ โดยในระยะต่อมาได้รับการยอมรับและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์องค์การในส่วนของ SWOT ในด้านของปัจจัยภาพในว่าองค์การนั้นๆมีจุดแข็งและจุดอ่อนในปัจจัยทั้ง 7 อย่างไร แผนภาพข้างล่างนี้เป็น Model ของ McKinney 7-S Framework ซึ่งจะเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. กลยุทธ์ขององค์กร (Strategy)

การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญ อาทิ องค์กรอยู่ที่ไหนในขณะนี้ องค์กรมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร และใครเป็นผู้รับบริการของเรา การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การบริหารเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กร กำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมาได้และเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่าจะใช้ความพยายามไปในทิศทางใดจึงจะประสบความสำเร็จ


2. โครงสร้างองค์การ (Structure)

คือโครงสร้างที่ได้ตั้งขึ้นตามกระบวนการ หรือหน้าที่ของงานโดยมีการรับบุคลากรให้เข้ามาทำงานร่วมกันในฝ่ายต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือหมายถึง การจัดระบบระเบียบให้กับบุคคล ตั้งแต่ 2-คนขึ้นไป-เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้-เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันมีขนาดใหญ่-การจัดองค์กรที่ดีจะมีส่วนช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งในหน้าที่ ช่วยให้บุคลากรได้ทราบขอบเขตงานความรับผิดชอบ มีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว


3. ระบบการปฏิบัติงาน (System)

ในการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้นอกจากการจัดโครงสร้างที่เหมาะสมและมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว การจัดระบบการทำงาน (Working System) ก็มีความสำคัญยิ่ง อาทิ ระบบบัญชี/การเงิน (Accounting/Financial System) ระบบพัสดุ (Supply System) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology System) ระบบการติดตาม/ประเมินผล (Monitoring/Evaluation System) ฯลฯ


4. บุคลากร (Staff)

ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลากรนั้นควรมีการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานของกลยุทธ์องค์การที่เป็นสิ่งกำหนดทิศทางที่องค์การจะดำเนินไปให้ถึง ซึ่งจะเป็นผลให้กระบวนการกำหนดคุณลักษณะ และการคัดเลือกและจัดวางบุคลากรได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น


5. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skill)

ทักษะในการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคลในองค์การสามารถแยกทักษะออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ทักษะด้านงานอาชีพ (Occupational Skills) เป็นทักษะที่จะทำให้บุคลากรสามารถปฎิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ได้ ตามหน้าที่ และลักษณะงานที่รับผิดชอบเช่น ด้านการเงิน ด้านบุคคล ซึ่งคงต้องอยู่บนพื้นฐานการศึกษาหรือได้รับการอบรมเพิ่มเติม ส่วนทักษะ ความถนัด หรือความชาญฉลาดพิเศษ (Aptitudes and special talents) นั้นอาจเป็นความสามารถที่ทำให้พนักงานนั้นๆโดดเด่นกว่าคนอื่น ส่งผลให้มีผลงานที่ดีกว่าและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้รวดเร็ว ซึ่งองค์การคงต้องมุ่งเน้นในทั้ง 2 ความสามารถไปควบคู่กัน


6. รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)

แบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมภายในองค์กร พบว่า ความเป็นผู้นำขององค์กรจะมีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องวางโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเลิศและพฤติกรรมทางจรรยาบรรณให้เกิดขึ้น


7. ค่านิยมร่วม (Shared values)

ค่านิยมและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิกขององค์กรที่ได้กลายเป็นรากฐานของระบบการบริหาร และวิธีการปฏิบัติของบุคลากรและผู้บริหารภายในองค์กร หรืออาจเรียกว่าวัฒนธรรมองค์กร รากฐานของวัฒนธรรมองค์กรก็คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สร้างรากฐานทางปรัชญาเพื่อทิศทางขององค์กร โดยทั่วไปแล้วความเชื่อจะสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพและเป้าหมายของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารระดับสูง ต่อมาความเชื่อเหล่านั้นจะกำหนดบรรทัดฐาน เป็นพฤติกรรมประจำวันขึ้นมาภายในองค์กร เมื่อค่านิยมและความเชื่อได้ถูกยอมรับทั่วทั้งองค์กรและบุคลากรกระทำตามค่านิยมเหล่านั้นแล้วองค์กรก็จะมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

ในการประเมินสมรรถนะขององค์การถือว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนา เนื่องจากจะทำให้เราได้รู้สภาพความเป็นจริงว่าองค์การของเรามีสมรรถนะอย่างไร อาจเปรียบได้กับการตรวจร่างกายของคนเพื่อที่จะทราบถึงความแข็งแร็งและสมบูรณ์ และค้นหาโรคภัยต่างๆ ในกรณีองค์การก็เช่นเดียวกัน การค้นพบจุดอ่อนก็เปรียบการค้นพบโรคที่จำเป็นต้องได้รับการเยียวยารักษาให้หายหรือทุเลาลงไป เพื่อพร้อมที่จะดำรงอยู่อย่างมั่นคงและสามารถไปสู่เป้าหมายที่ฝันไว้ให้ได้นั่นเอง

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    4 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา