MBA HOLIDAY

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวคิดการบริหารการตลาด (marketting concepts

การตลาดมีแนวคิด 5 แนวคิด ซึ่งองค์การธุรกิจได้ยึดถือและใช้ปฎิบัติกันมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังนี้ 1. แนวคิดด้านการตลาด แนวคิดนี้ยึดถือหลักว่า ผู้บริโภคจะพอใจผลิตภัณฑ์ที่จัดหาซื้อได้ง่ายและต้นทุนต่ำ องค์การที่มุ่งความสำคัญที่การผลิตยึดหลักการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้นและมีการจัดจำหน่ายให้ทั่วถึง ลักษณะแนวคิดด้านการผลิตคือการที่ลูกค้าสนใจในสินค้าราคาถูกและหาง่ายองค์การมีหน้าที่ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตและการขยายตลาด การจัดจำหน่ายไปให้ทั่วถึง และลดต้นทุนการผลิตลงเพื่อตั้งราคาให้ต่ำ 2. แนวคิดด้านผลิตภัณฑ์ ยึดหลักว่าผู้บริโภคจะพอใจในผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพการทำงาน และรูปลักษณะที่ดีที่สุด องค์การจะใช้ความพยายามในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นตลอดเวลา ลักษณะแนวคิดด้านผลิตภัณฑ์ คือผู้บริโภคสนใจในคุณภาพและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก งานขององค์การคือการปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ 3. แนวคิดด้านการขาย ยึดหลักว่าผู้บริโภคโดยทั่วไปจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ขององค์การหรือซื้อแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการดังนั้นจึงต้องใช้ความพยายามในการขายและการส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มที่ ลักษณะแนวคิดด้านการขายคือโดยทั่วไปผู้บริโภคจะไม่ซื้อของให้เพียงพอผู้ขายจึงสามารถให้กระตุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ องค์การจึงต้องใช้ความพยายาม ในการขายและส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจเพิ่มขึ้น 4. แนวคิดด้านการตลาด ยึดหลักว่าต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและความต้องการของตลาดเป้าหมาย และสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหนือคู่แข่ง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การลักษณะของ แนวคิดนี้จะเกี่ยวข้องกับงานต่อไปนี้ 4.1 องค์การจะศึกษาถึงตลาดเป้าหมาย เป็นการศึกษาลักษณะความต้องการของตลาดที่มีต่อผลิตภัณฑ์และการใช้เครื่องมือทางการตลาดร่วมกัน 4.2 การมุ่งความสำคัญที่ความต้องการของลูกค้า เป็นการค้นหาถึงความต้องการของลูกค้าเป้าหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ขององค์การเพื่อทีจะจัดเครื่องมือการตลาดสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจความต้องการของผู้บริโภคมีอยู่ 5 ประเภท คือ 1. ความต้องการที่เจาะจง 2. ความต้องการที่แท้จริง 3. ความต้องการที่ไม่เจาะจง 4. ความต้องการที่ชื่นชมยินดี 5. ความต้องการที่ลับเฉพาะ 4.3 การใช้ตลาดแบบประสมประสาน โดยใช้เครื่องมือการตลาดทุกหน้าที่และหน้าที่อื่น ๆ ของกิจการร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เครื่องมือการตลาดและหน้าที่การตลาดประกอบด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ การตั้งราคา การจัดจำหน่าย การโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย การวิจัยตลาด ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้ต้องใช้ร่วมกันเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายให้เกิด ความพึงพอใจและยังต้องประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ภายในองค์การด้วย ลูกค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดกำไร ที่ทุกฝ่ายจะต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าให้มากที่สุด 4.4 กำไรจากความพึงพอใจของลูกค้า

กลยุทธ์ราคา Pricing Strategy

ราคา หรือ สิ่งที่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการต้องสูญเสียเพื่อแลกกับผลิตภัณฑ์ / บริการของเรา ทั้งนี้อาจไม่ใช่ในรูปของตัวเงินก็ได้ แต่เป็นการลงทุนหรือสูญเสียด้านเวลา เพื่อการได้มาซึ่งความรู้ 1. Cost-plus Pricing ราคาอิงต้นทุน 2. Competitive Pricing ราคาอิงคู่แข่ง 3. Value Pricing กลยุทธ์คุ้มราคา 4. Bundle Pricing ราคาขายสินค้าควบชนิด 5. Loss-leader Pricing ราคาต่ำพิเศษบางสินค้า/บริการ เพื่อดึงคนเข้าร้าน 6. Multiple Unit Pricing ราคาถูกเมื่อซึ้อมาก กลยุทธ์ช่องทางจัดจำหน่าย (place strategy) 1. Location การเลือกทำเล และการเข้าถึงที่สะดวกกว่า 2. Multi-channel Marketing กลยุทธ์การตลาดแบบหลากช่องทาง 3. Horizontal Marketing Systems กลยุทธ์การตลาดแนวนอน 4. Alliances / Network Outlets ช่องทางการตลาดผ่านพันธมิตร / เครือข่าย 5. New forms of Channels การพัฒนาช่องทางรูปแบบใหม่ ๆ ได้แก่ - Delivery Service / Outreach / Mobile Library - Drive-thru Library - E-Channels / Bricks-and-Clicks Strategy หรือ Virtual Library - M-Channels / M-contents / Podcast Service 6. Chain / Franchising / Branches การขยายสาขา แฟรนไชน์ เพิ่มจุดให้บริการสาขา 7. Cross-selling กลยุทธ์ขายไขว้ ระหว่างกันกับสินค้า / บริการอื่น เพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด (promotion strategy) 1. Customer Relationship Management--CRM 2. Direct mail / E-mail Marketing 3. Event Marketing 4. Guerrilla Marketing 5. Buzz Marketing 6. Cause-related Marketing 7. Social Marketing 8. PR / Press Release 9. Radio Spot แนวคิดการตลาดค้าปลีก การออกแบบ ตกแต่ง จัดวางสินค้า และสร้างบรรยากาศในร้านค้าปลีกกำลังเป็นที่นิยมนำมาใช้กับห้องสมุด และศูนย์เรียนรู้ยุคใหม่ 1. Space Allocation 2. Fixture Selection 3. Merchandise Presentation 4. Visual Merchandising 5. Layout 6. Circulation 7. Store Front 8. Exterior Design 9. Accessible 10. Visual cues 11. Inviting 12. Ambiance 13. Lighting 14. Retail Identity 15. Graphics 16. Visible Signage

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ product strategy

1. Branding & Value Proposition กลยุทธ์ตรายี่ห้อ และคุณค่าที่นำเสนอของผลิตภัณฑ์ / บริการ 2. Product Mix Strategy : Wide, Depth / (Assortment Strategy) กลยุทธ์การกำหนดความกว้าง ความลึก หรือหลากหลายของสินค้า / บริการขององค์กร เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน และสนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายได้ตรงที่สุด เช่น หากมุ่งเสนอสายบริการที่แคบแต่ลึก ได้แก่ห้องสมุดเฉพาะ บริการสารสนเทศธุรกิจ Bloomberg.com เป็นต้น 3. Product / Service Differentiation กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง โดดเด่นในสินค้า/บริการที่นำเสนอ ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ หรือการเป็นตัวตนที่แตกต่าง ตรงความต้องการและชัดเจนในใจผู้ใช้บริการ 4. New Product/Service Development กลยุทธ์การพัฒนาออกสินค้า/บริการใหม่ ๆ เสมอ เนื่องจากทุกสินค้า / บริการ ล้วนมีวงจรชีวิต (life cycle) ของตน การจะรักษาหรือเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการไว้กับองค์กรจึงต้องมีการพัฒนา ปรับปรุงและเสนอสิ่งใหม่ ๆ ทดแทนสินค้า / บริการที่เสื่อมความนิยมลงไปตามวงจรชีวิตของมันตลอดเวลา สินค้า / บริการใหม่ ๆ ในกลุ่มสารสนเทศและห้องสมุดได้แก่ บริการ Ebook ผ่านเวปไซต์ห้องสมุด บริการแปลเอกสารภาษาหลักต่าง ๆ บริการจัดส่งหนังสือหรือข้อมูลถึงที่ลูกค้า บริการรวบรวมข้อมูลMetadata เป็นต้น 5. Growth Strategy (product-market matrix) ทางเลือกในการสร้างความเติบโตให้แก่องค์กร โดยพิจารณาที่สินค้า/บริการ และตลาด

กลยุทธ์การตลาด (marketing strategy)

กลยุทธ์การตลาด (marketing strategy) การวางกลยุทธ์การตลาดถือเป็นงานขั้นตอนสำคัญในกระบวนการวางแผนการตลาด โดยทั้งนี้กลยุทธ์การตลาดแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. กลยุทธ์แก่น (core strategy) หรือกลยุทธ์การมุ่งส่วนตลาด (target marketing strategy) เป็นกลยุทธ์ส่วนที่นักการตลาดต้องกำหนดขึ้นก่อน เป็นหลักหรือแก่นในการคิดพัฒนากลยุทธ์อี่นๆตามมาให้สอดคล้อง core strategy ประกอบด้วย 3 ส่วนที่ต้องตัดสินใจ คือ 1) ตลาดมีความต้องการในสินค้า / บริการนั้น ๆ ที่แตกต่าง อันแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ อย่างไรบ้าง? (market segmentation) 2) กลุ่มลูกค้าหรือส่วนตลาดใดที่เหมาะสมที่สุด สอดคล้องกับลักษณะสินค้า / บริการ และทรัพยากรขององค์กรที่สุดที่จะสร้างความพอใจให้ได้ ซึ่งสมควรเลือกเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ? (target market) 3) สินค้า / บริการของเราจะวางตำแหน่งในใจของลูกค้า ให้พอใจและโดดเด่นในจุดใด จึงได้เปรียบในการแข่งขันสูงสุด? (positioning) 2. กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด (marketing mix strategy) คือการวางกลยุทธ์ในองค์ประกอบทั้งหมดทางการตลาด ให้สอดคล้องสัมพันธ์และเสริมกลยุทธ์แก่นหรือ core strategy ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน หรือ 4P’s คือ • Product : ตัวผลิตภัณฑ์ / บริการ • Price : ราคา หรือ สิ่งที่ลูกค้าต้องสูญเสียเพื่อแลกกับผลิตภัณฑ์ / บริการ • Place : ช่องทางในการจัดจำหน่าย และการขายสินค้าไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย • Promotion : การส่งเสริมการตลาด การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้การตัดสินใจแลกเปลี่ยนของลูกค้าเกิดขึ้นได้ตามเป้าหมาย

แนวคิดทางการตลาด marketing concept

คำว่า "การตลาด" และ "นักการตลาด" ถูกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างในปัจจุบัน กล่าวคือผู้คนบางกลุ่มเข้าใจไปในทางลบว่า เป็นงานหรือบทบาทหน้าที่ดึงดูด ล่อลวง หรือจูงใจให้เกิดการซื้อโดยหลงผิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หลักแนวคิดของการตลาดที่แท้จริงนั้น ปรมาจารย์การตลาด Phillips Kotler ได้อธิยายไว้ว่าคือ "กระบวนการทางสังคม ที่บุคคล หรือ กลุ่ม จะพยายามให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการจากบุคคลอี่น โดยการสร้างสรรค์และนำเสนอคุณค่าบางอย่างที่เป็นที่พอใจของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน" นั่นคือการสร้างสถานการณ์แลกปลี่ยนซึ่งความพอใจและคุณค่าของทั้งสองฝ่ายให้เกิดขึ้น ดังนั้นการจะนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ กับงานห้องสมุดและบริการสารสนเทศเชิงรุก ก็คือ การหาแนวทางพัฒนา สร้างสรรค์คุณค่าบริการ การสื่อสารคุณค่า และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงให้แก่ผู้ใช้บริการ ให้เกิดความพอใจที่สุดนั่นเอง บททาทการตลาด จากความหมายของการตลาดข้างต้น บทบาทหน้าที่ของการตลาดจึงต้องเริ่มต้นขึ้นที่ความต้องการของลูกค้า และจบลงที่ความพอใจของลูกค้า เป็นหลัก ดังนี้ 1. ค้นหา และเข้าใจในความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าให้มากที่สุด 2. พัฒนาสินค้า / บริการให้สอดคล้อง ตอบสนองต่อความต้องการนั้น ๆ ไปเสนอแลกเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความพอใจและความสุขในการแลกเปลี่ยน 3. รักษาความพอใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไว้ให้ยาวนาน นำเสนอสินค้า / บริการใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนไปตามความต้องการ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาของลูกค้าได้

แนวคิดทางการตลาด

NEWS

  • การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management - *การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพ...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา